หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการระบบและเครือข่าย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-OJFZ-193B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการระบบและเครือข่าย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถบริการและบริหารจัดการระบบเครือข่าย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
   ช่างคอมพิวเตอร์ เจ้าหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญระบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2131.50 ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของไอที2529 ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
41301.01 บริการเครือข่าย 1.1 ออกแบบ ติดตั้งและตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่ายตามที่ได้ออกแบบ 41301.01.01 119434
41301.01 บริการเครือข่าย 1.2 ดำเนินการสำรองข้อมูลบนเครือข่าย 41301.01.02 119435
41301.01 บริการเครือข่าย 1.3 ติดตามประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่าย 41301.01.03 119436
41301.01 บริการเครือข่าย 1.4 วิเคราะห์แก้ไขปัญหาเครือข่าย แก้ไขปัญหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้นภายในเครือข่าย 41301.01.04 119437
41301.01 บริการเครือข่าย 1.5 ทดสอบและบำรุงรักษาการใช้งานเครือข่ายทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 41301.01.05 119438
41301.02 บริหารจัดการระบบ 2.1 ตรวจสอบและบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อมใช้ตามนโยบายขององค์กร 41301.02.01 119430
41301.02 บริหารจัดการระบบ 2.2 ออกแบบและตั้งค่านโยบายการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ จัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ สิทธิ์ในการเข้าใช้งาน 41301.02.02 119431
41301.02 บริหารจัดการระบบ 2.3 ติดตั้งและอัพเดทแพทช์ และ hot fix ต่าง ๆ 41301.02.03 119432
41301.02 บริหารจัดการระบบ 2.4 จัดการทรัพยากรภายในระบบ วางแผนการขยายเซิร์ฟเวอร์ให้กับทิศทางขององค์กร 41301.02.04 119433

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถออกแบบ ติดตั้งและตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่ายตามที่ได้ออกแบบไว้

2. สามารถดำเนินการสำรองข้อมูลบนเครือข่าย

3. สามารถติดตามประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่าย

4. สามารถวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเครือข่าย แก้ไขปัญหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้นภายในเครือข่าย

5. สามารถทดสอบและบำรุงรักษาการใช้งานเครือข่ายทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

6. สามารถตรวจสอบและบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อมใช้ตามนโยบายขององค์กร

7. สามารถออกแบบและตั้งค่านโยบายการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ จัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ สิทธิ์ใน

การเข้าใช้งาน

8. สามารถติดตั้งและอัพเดทแพทช์ และ hot fix ต่างๆ

9. สามารถจัดการทรัพยากรภายในระบบ วางแผนการขยายการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ให้เหมาะสมกับทิศทางขององค์กร


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการบริการจัดการเครือข่าย

2. ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่าย

3. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่าย

4. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเครือข่ายที่มีความมั่นคงปลอดภัย

5. ความรู้เกี่ยวกับการบริการจัดการระบบ

6. ความรู้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ

7. ความรู้เกี่ยวกับ Cloud และ Virtualization



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการทดสอบความรู้

2.  ผลการสัมภาษณ์

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

   (ง) วิธีการประเมิน

      1. ทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียน

      2. ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงการบริการเครือข่าย การบริหารจัดการระบบ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1.  การบริการเครือข่าย การออกแบบ ติดตั้งและตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่ายตามที่ได้ออกแบบไว้ ให้ทำการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้และข้อจำกัด ความต้องการของระบบ คุณสมบัติที่ต้องการ สภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่เป็นอยู่ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบที่เหมาะสม การดำเนินการสำรองข้อมูลบนเครือข่าย ให้พิจารณาความต้องการของเครือข่ายเป็นหลักในการเลือกแนวทางการสำรองข้อมูล เช่น ความพร้อมใช้ ระยะเวลาที่ยอมให้ข้อมูลสูญหายได้ เป็นต้น การติดตามประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่าย ให้เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม คัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเครือข่าย แก้ไขปัญหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้นภายในเครือข่าย ให้เน้นในด้านกระบวนการจัดการแก้ไขปัญหา โดยอ้างอิงกับข้อกำหนดต่าง ๆ ที่อาจมี เช่น Service Level Agreement (SLA) เป็นต้น การทดสอบและบำรุงรักษาการใช้งานเครือข่ายทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ให้มีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและพิจารณาปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ทดแทนตามวงรอบ

     2. การบริหารจัดการระบบ การตรวจสอบและบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อมใช้ตามนโยบายขององค์กร ให้มีการวางแผนการตรวจสอบเป็นระยะ อาจมีการสร้างฟอร์มและ checklist สำหรับการตรวจสอบ การออกแบบและตั้งค่านโยบายการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ จัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ สิทธิ์ในการเข้าใช้งาน ให้อ้างอิงตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศขององค์กรเป็นหลัก การติดตั้งและอัพเดทแพทช์ และ hot fix ต่าง ๆ ให้ทำรายการแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากผู้ผลิตใ การอัพเดทแพทช์ รวมทั้งมีการสร้างกระบวนการ patch management และ change management การจัดการทรัพยากรภายในระบบ วางแผนการขยายการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ให้เหมาะสมกับทิศทางขององค์กร ให้พิจารณาจากความต้องการทางด้านระบบขององค์กร



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้

1. สมถรรนะย่อย 41301.01 บริการเครือข่าย ให้ทำการทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

2. สมถรรนะย่อย 41301.02 บริหารจัดการระบบ ให้ทำการทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ