หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ชดเชยค่าความผิดพลาดทางกล

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MCT-ZZZ-4-120ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ชดเชยค่าความผิดพลาดทางกล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างเทคนิคระบบหุ่นยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ ปรับตั้งความแม่นยำทางกล ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้าซึ่งเป็นสมรรถนะที่สำคัญที่จะทำให้ระบบการทำงานได้ปกติ ซึ่งเป็นสมรรถนะร่วมที่สำคัญของอาชีพช่างเทคนิคหุ่นยนต์และช่างระบบหุ่นยนต์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01202.01 ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ 1.1 อ่านค่าพิกัดปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.01.01 118643
01202.01 ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ 1.2 บอกวิธีวัดหาค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.01.02 118644
01202.01 ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ 1.3 เลือกเครื่องมือวัดตรวจสอบค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.01.03 118645
01202.01 ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ 1.4 ตรวจสอบค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนระบบทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.01.04 118646
01202.01 ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ 1.5 ดูแลรักษาเครื่องมือวัดตรวจค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนระบบทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.01.05 118647
01202.02 ปรับตั้งความแม่นยำทางกล 1.1 เลือกเครื่องมือสำหรับปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.02.01 118648
01202.02 ปรับตั้งความแม่นยำทางกล 1.2 ใช้เครื่องมือปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.02.02 118649
01202.02 ปรับตั้งความแม่นยำทางกล 1.3 ตรวจสอบการทำงานหลังการปรับตั้งค่าความแม่นยำชิ้นส่วนทางกลในระบบได้ 01202.02.03 118650
01202.02 ปรับตั้งความแม่นยำทางกล 1.4 บอกขั้นตอนการใช้เครื่องมือในการปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้ 01202.02.04 118651
01202.02 ปรับตั้งความแม่นยำทางกล 1.5 วิเคราะห์ชิ้นส่วนทางกลเมื่อไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ต้องการ 01202.02.05 118652
01202.03 ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้า 1.1 เลือกพารามิเตอร์สำหรับชดเชยได้อย่างถูกต้อง 01202.03.01 118657
01202.03 ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้า 1.2 ปรับพารามิเตอร์ชดเชยและยืนยันผลได้อย่างถูกต้อง 01202.03.02 118658
01202.03 ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้า 1.3 บอกความหมายของพารามิเตอร์ชดเชยความแม่นยำชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้อง 01202.03.03 118659

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบสภาพชิ้นส่วน

2.    ทักษะการใช้เครื่องมือวัดทดสอบชิ้นส่วนทางกล

3.    ทักษะการควบคุมและสั่งงานการทำงานระบบเพื่อการปรับตั้งพารามิเตอร์

4.    การใช้ภาษาต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านการตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนหุ่นยนต์

2.    ความรู้ด้านการวิเคราะห์และสืบค้าหาสาเหตุของชิ้นส่วนหุ่นยนต์

3.    ความรู้ด้านการทำงานของระบบทางกลของหุ่นยนต์

4.    ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือวัดทดสอบชิ้นส่วนระบบทางกลของหุ่นยนต์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก.)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน
2.    ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3.    ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ
4.    ใบรับรองการผ่านงาน
5.    แฟ้มสะสมผลงาน
6.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข.)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1.    เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน
2.    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม
3.    เอกสารการจัดทำคู่มือ
4.    เอกสารการสอนงาน
5.    หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
(ค.)    คำแนะนำในการประเมิน
    เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหน่วยสมรรถนะย่อย โดยสมรรถนะย่อยแรกเป็นทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ เป็นการประเมินในเรื่องการใช้เครื่องมือวัดเพื่อการตรวจสอบ
ค่าชิ้นส่วนทางกลเพื่อการตรวจสอบรวมถึงการดูแลรักษาเครื่องมือวัดที่ใช้ได้อย่างถูกต้องและสมรรถนะย่อย
ที่ 2  คือปรับตั้งความแม่นยำทางกล คือการกล่าวถึงการใช้เครื่องมือในการปรับตั้งค่าชิ้นส่วนทางกล
ให้มีความแม่นยำเพื่อวิเคราะห์ว่าชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่และสมรรถนะย่อยสุดท้ายคือ การปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้าเป็นการชดเชยค่าทางกลที่ผิดพลาดเพื่อให้ดำเนินการทำงานได้ปกติ
(ก.)    คำแนะนำ
1.    ผู้เข้ารับการประเมิน อ่านค่าพิกัดปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้อย่างถูกต้องตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
2.    ผู้เข้ารับการประเมินบอกวิธีวัดหาค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนทางกลได้ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
3.    ผู้เข้ารับการประเมิน เลือกเครื่องมือวัดตรวจสอบค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนทางกลได้ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
4.    ผู้เข้ารับการประเมิน  ตรวจสอบค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนระบบทางกลได้ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
5.    ผู้เข้ารับการประเมินดูแลรักษาเครื่องมือวัดตรวจค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนระบบทางกลได้
ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
6.    ผู้เข้ารับการประเมิน เลือกเครื่องมือสำหรับปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้ ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
7.    ผู้เข้ารับการประเมิน ใช้เครื่องมือปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
8.    ผู้เข้ารับการประเมิน ตรวจสอบการทำงานหลังการปรับตั้งค่าความแม่นยำชิ้นส่วนทางกลในระบบได้  ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
9.    ผู้เข้ารับการประเมิน บอกขั้นตอนการใช้เครื่องมือในการปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้ตามสภาพ
การจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
10.    ผู้เข้ารับการประเมิน วิเคราะห์ชิ้นส่วนทางกลเมื่อไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ต้องการ ตามสภาพ
การจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
11.    ผู้เข้ารับการประเมิน เลือกพารามิเตอร์สำหรับชดเชย ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
12.    ผู้เข้ารับการประเมิน ปรับพารามิเตอร์ชดเชยและยืนยันผล  ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
13.    ผู้เข้ารับการประเมิน  บอกความหมายของพารามิเตอร์ชดเชยความแม่นยำชิ้นส่วนทางกลได้
ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง

(ข.)    คำอธิบายรายละเอียด
1.    การทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์ในหน่วยสมรรถนะย่อยนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะ
การอ่านค่าพิกัดทางกลจากแบบงานได้และรวมถึงมีทักษะในการเลือกและใช้เครื่องมือวัดค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนทางกลได้และมีความรู้ในการดูแลรักษาเครื่องมือวัดค่าความผิดพลาดชิ้นส่วนทางกลได้
ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
2.    ปรับตั้งค่าแม่นยำทางกลในหน่วยสมรรถนะย่อยนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะใช้เครื่องมือปรับตั้งค่าความแม่นยำของชิ้นส่วนทางกล โดยมีความรู้เข้าใจขั้นตอนการปรับตั้งและวิเคราะห์ชิ้นส่วนทางกล
ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขได้ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
3.    ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้าในหน่วยสมรรถนะย่อยนี้ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะ
ใช้เครื่องมือควบคุมในการปรับตั้งค่าพารามิเตอร์เพื่อชดเชยค่าทางกลต้องมีความรู้เข้าใจในพารามิเตอร์
ที่ปรับตั้งและเงือนไขที่ส่งผลกระทบในการควบคุม เพื่อปรับค่าได้อย่างถูกต้องและระบบสามารถทำงาน
ได้ปกติดังเดิม ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ทดสอบความแม่นยำของหุ่นยนต์
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
3.    แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์
18.2 เครื่องมือประเมิน ปรับตั้งความแม่นยำทางกล
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
3.    แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์
18.3 เครื่องมือประเมิน ปรับชดเชยความแม่นยำทางไฟฟ้า
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
3.    แบบฟอร์มการประเมินผลจากการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ