หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MCT-ZZZ-4-144ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างเทคนิคหุ่นยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบเวลาและการบำรุงรักษาตามรอบเวลาเป็นสมรรถนะที่สำคัญต่อการทำงานในอาชีพช่างเทคนิคหุ่นยนต์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.1 ตรวจสอบความผิดปกติด้วยเครื่องมือทางกลทางไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง 02101.01.01 118670
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.2 บอกความหมายสัญลักษณ์จุดบำรุงรักษา ในคู่มือบำรุงรักษาหุ่นยนต์ได้ 02101.01.02 118671
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.3 เลือกอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมในการใช้ในการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องปลอดภัย 02101.01.03 118672
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.4 ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 02101.01.04 118673
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.5 กำหนดแผนงานซ่อมบำรุงรักษาตามคู่มือแนะนำที่กำหนดจากผู้ผลิตหุ่นยนต์ 02101.01.05 118674
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.6 ตรวจสอบการบำรุงรักษาชิ้นส่วน และอุปกรณ์ตามสภาพ ที่กำหนด จากผู้ผลิตหุ่นยนต์ได้ (ตามสภาพ คือ การวัดสภาพแนวโน้ม การชำรุดเสียหายเพื่อพยากรณ์ และเตรียมการแก้ไขได้) 02101.01.06 118675
02101.01 ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา 1.7กำหนดวัตถุประสงค์และรายการที่ต้องการทดสอบด้านการซ่อมบำรุงรักษาหุ่นยนต์ 02101.01.07 118676
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.1 บอกขั้นตอนปฏิบัติงานจากคู่มือซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ของผู้ผลิตได้ 02101.02.01 118690
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.2 ระบุข้อกำหนดเทคนิคปฏิบัติงานซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ได้ 02101.02.02 118691
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.3 ระบุเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ 02101.02.03 118692
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.4 เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามคำแนะนำจากคู่มือซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ของผู้ผลิต 02101.02.04 118693
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.5 ปฏิบัติตามคำแนะนำตามคู่มือแนะนำการซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้อง 02101.02.05 118694
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.6 บันทึกข้อมูลการซ่อมแซมเปลี่ยนอะไหล่หุ่นยนต์ได้อย่างละเอียดครบถ้วน 02101.02.06 118695
02101.02 บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา 1.7 ระบุขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อยืนยันผลการซ่อมบำรุงรักษาหุ่นยนต์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้ 02101.02.07 118696

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบสภาพชิ้นส่วน

2.    ทักษะการใช้เครื่องมือวัดทดสอบชิ้นส่วนทางกล

3.    ทักษะการควบคุมและสั่งงานการทำงานระบบ

4.    ทักษะการเลือกใช้อุปกรณ์ในการบำรุงรักษา

5.    ทักษะการอ่านคู่มือการปฏิบัติการการบำรุงรักษา

6.    การใช้ภาษาต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านการตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนหุ่นยนต์
2.    ความรู้ด้านการวิเคราะห์และสืบค้าหาสาเหตุของชิ้นส่วนหุ่นยนต์
3.    ความรู้ด้านการทำงานของระบบทางกลของหุ่นยนต์
4.    ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือวัดทดสอบชิ้นส่วนระบบทางกลของหุ่นยนต์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก.)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2.    ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3.    ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4.    ใบรับรองการผ่านงาน

5.    แฟ้มสะสมผลงาน

6.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข.)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2.    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3.    เอกสารการจัดทำคู่มือ

4.    เอกสารการสอนงาน

5.    หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค.)    คำแนะนำในการประเมิน

    เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหน่วยสมรรถนะย่อย โดยสมรรถนะย่อยแรกเป็นตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลาเป็นการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบความผิดปกติทางกลและทางไฟฟ้ารวมถึงการใช้อุปกรณ์การบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสมรรถนะย่อยที่สองคือบำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา เป็นการปฏิบัติการซ่อมบำรุงอย่างถูกต้อง

(ก.)    คำแนะนำ
1.    ผู้เข้ารับการประเมิน ตรวจสอบความผิดปกติด้วยเครื่องมือทางกลทางไฟฟ้าตามสภาพ
การจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
2.    ผู้เข้ารับการประเมินบอกความหมายสัญลักษณ์จุดบำรุงรักษา ในคู่มือบำรุงรักษาหุ่นยนต์ได้ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
3.    ผู้เข้ารับการประเมินออกแบบ  เลือกอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมในการใช้ในการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและปลอดภัย  ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
4.    ผู้เข้ารับการประเมิน  ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
5.    ผู้เข้ารับการประเมินกำหนดแผนงาน ซ่อมบำรุงรักษาตามคู่มือแนะนำที่กำหนดจากผู้ผลิตหุ่นยนต์ ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
6.    ผู้เข้ารับการประเมิน ตรวจสอบการบำรุงรักษาชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตามสภาพ ที่กำหนด
จากผู้ผลิตหุ่นยนต์ได้ (ตามสภาพคือ การวัดสภาพแนวโน้มการชำรุดเสียหายเพื่อพยากรณ์ และเตรียมการแก้ไขได้) ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
7.    ผู้เข้ารับการประเมิน กำหนดวัตถุประสงค์และรายการที่ต้องการทดสอบ ด้านการซ่อมบำรุงรักษาหุ่นยนต์ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
8.    ผู้เข้ารับการประเมิน บอกขั้นตอนปฏิบัติงานจากคู่มือซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ ของผู้ผลิตได้ 
ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
9.    ผู้เข้ารับการประเมินระบุข้อกำหนดเทคนิคปฏิบัติงานซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ได้ ตามสภาพ
การจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
10.    ผู้เข้ารับการประเมินระบุ เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ตามสภาพ
การจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
11.    ผู้เข้ารับการประเมิน   เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามคำแนะนำ
จากคู่มือซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ของผู้ผลิตตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
12.    ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามคำแนะนำตามคู่มือแนะนำการซ่อมบำรุงได้ ตามสภาพ
การจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
13.    ผู้เข้ารับการประเมินบันทึกข้อมูลการซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่หุ่นยนต์ได้อย่างละเอียดครบถ้วน ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
14.    ผู้เข้ารับการประเมินระบุขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อยืนยันผลการซ่อมบำรุงรักษาหุ่นยนต์
ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้ ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
(ข.)    คำอธิบายรายละเอียด
การบำรุงรักษาตามรอบเวลา หมายถึง รอบเวลาการตรวจสอบการทำงานของชิ้นส่วนอุปกรณ์เพื่อให้รู้สภาพการทำงานหรือเพื่อทำการบำรุงรักษา ยกตัวอย่างเช่น  ตลับลูกปืนจะต้องมีการตรวจเช็คทุก ๆ 1 เดือน เพื่อตรวจสอบสภาพว่ายังพร้อมใช้งานหรือไม่ จากนั้นได้ทำการอัดจาระบีเพื่อทำการหล่อลื่น เป็นต้น
     1. ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลาผู้เข้าประเมินต้องมีความรู้และทักษะ
ในการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบเวลาด้วยเครื่องมือทางกลและไฟฟ้าอย่างถูกต้องเพื่อกำหนดแผนงาน
การบำรุงรักษาที่สอดคล้องกับสภาพทำงานจริงตามตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
2. บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลาผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการบำรุงรักษา
ตามรอบเวลา จากการใช้เครื่องมือ ความรู้การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงการเก็บข้อมูลการซ่อมแซม
โดยการบำรุงรักษานั้นเพื่อการคงสภาพการทำงานปกติ ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลอง
ได้อย่างถูกต้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์หุ่นยนต์ตามรอบเวลา
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน
18.2 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาอุปกรณ์ตามรอบเวลา
1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก
2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ