หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนโปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์ (Programming Pendant)

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MCT-ZZZ-3-138ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนโปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์ (Programming Pendant)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / N/A

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างควบคุมหุ่นยนต์  อาชีพช่างเทคนิคหุ่นยนต์  อาชีพช่างเทคนิคระบบหุ่นยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เขียนโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมที่ติดตั้งจากผู้ผลิตและทดสอบการทำงานของโปรแกรมหุ่นยนต์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01105.01 เขียนโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมที่ติดตั้งจากผู้ผลิต 1.1 ระบุวิธีการใช้อุปกรณ์เขียนโปรแกรม 01105.01.01 118589
01105.01 เขียนโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมที่ติดตั้งจากผู้ผลิต 1.2 ระบุความหมายชุดคำสั่ง (Instruction) ในการสร้างโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์ 01105.01.02 118590
01105.01 เขียนโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมที่ติดตั้งจากผู้ผลิต 1.3 เลือกใช้ชุดคำสั่งในการสั่งงานหุ่นยนต์ 01105.01.03 118591
01105.02 ทดสอบการทำงานของโปรแกรมหุ่นยนต์ 1.1 ระบุความถูกต้องของโปรแกรมได้ 01105.02.01 118596
01105.02 ทดสอบการทำงานของโปรแกรมหุ่นยนต์ 1.2 ทดสอบโปรแกรมแบบทีละขั้นตอน (Step) ได้ 01105.02.02 118597
01105.02 ทดสอบการทำงานของโปรแกรมหุ่นยนต์ 1.3 ทดสอบโปรแกรมการทำงานอย่างปลอดภัย 01105.02.03 118598

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมหุ่นยนต์

2.    ทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ด้านการเลือกใช้ชุดคำสั่งในการสร้างโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์

2.    ความรู้ด้านการทดสอบโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก.)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2.    ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3.    ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4.    ใบรับรองการผ่านงาน

5.    แฟ้มสะสมผลงาน

6.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข.)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2.    เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3.    เอกสารการจัดทำคู่มือ

4.    เอกสารการสอนงาน

5.    หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค.)    คำแนะนำในการประเมิน

    เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหน่วยสมรรถนะย่อยแรกกล่าวถึง
การเขียนโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมที่ติดตั้งจากผู้ผลิตพร้อมทั้งระบุวิธีการใช้อุปกรณ์เขียนโปรแกรมและบอกความหมายของโครงสร้างโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์และบอกความหมายของชุดคำสั่ง (Instruction) ในการสร้างโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์ ส่วนสมรรถนะย่อยต่อมากล่าวถึง
การทดสอบการทำงานของโปรแกรมหุ่นยนต์โดยจุดประสงค์เพื่อให้ระบุความถูกต้องของโปรแกรมได้และทดสอบโปรแกรมแบบที่ละขั้นตอน (Step) ได้และสามารถทดสอบโปรแกรมการทำงานอย่างปลอดภัยได้
(ก.)    คำแนะนำ
1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องระบุวิธีการใช้งานอุปกรณ์เขียนโปรแกรม ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องระบุความหมายของโครงสร้างโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์
ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องระบุความหมายของชุดคำสั่ง (Instruction) ในการสร้างโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์ ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องระบุความถูกต้องของโปรแกรมได้ ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
5.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องทดสอบโปรแกรมแบบทีละขั้นตอน (Step) ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
6.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องทดสอบโปรแกรมการทำงานอย่างปลอดภัย ตามสภาพการจำลองหรือเหตุการณ์จำลองได้อย่างถูกต้อง
(ข.)     คำอธิบายรายละเอียด
1.    ต้องการทักษะความรู้ในการเขียนโปรแกรมการทำงานหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมเพื่อที่จะสามารถระบุวิธีการใช้อุปกรณ์เขียนโปรแกรมได้พร้อมทั้งบอกความหมายของโครงสร้างและความหมายชุดคำสั่งได้
2.    ต้องการทักษะความรู้ในการทดสอบการทำงานของโปรแกรมหุ่นยนต์เพื่อที่จะระบุ
ความถูกต้องของโปรแกรมได้และสามารถทดสอบโปรแกรมแบบที่ละขั้นตอน (Step) และเลือกใช้ความเร็ว
ในการทดสอบโปรแกรมได้อย่างปลอดภัย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน เขียนโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์ด้วยอุปกรณ์เขียนโปรแกรมที่ติดตั้งจากผู้ผลิต

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน ทดสอบการทำงานของโปรแกรม

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2.    แบบประเมินผลการสังเกตการณ์จากการจำลองการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ