หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-KOTT-111B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          มีสมรรถนะทางเทคนิคและการจัดการแก้ไขปัญหาในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นผู้นำ จัดการผลิตภาพการทำงาน ถ่ายทอด สอนงาน และกำกับดูแลผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผนได้ เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ ระบุกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว เลือกใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี สำหรับระบบสมองกลฝังตัวทดสอบระบบโดยรวม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้บริหารโครงการ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
31303.01 ระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ 1.1 ระบุขั้นตอน เครื่องมือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบซอฟต์แวร์ 31303.01.01 119933
31303.01 ระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ 1.2 รวบรวมความต้องการจากลูกค้าและจัดทำเป็นเอกสารข้อกำหนดในการออกแบบ 31303.01.02 119934
31303.01 ระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ 1.3 ระบุการทำงานของแบบจำลองซอฟต์แวร์ทีกำหนด 31303.01.03 119935
31303.02 ระบุกระบวนการ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.1 ระบุเป้าหมายและประโยชน์ของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 31303.02.01 119930
31303.02 ระบุกระบวนการ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.2 ระบุกิจกรรมและวัตถุพยาน ที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 31303.02.02 119931
31303.02 ระบุกระบวนการ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.3 ระบุเอกสารที่จำเป็นสำหรับการประกันคุณภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ 31303.02.03 119932
31303.03 ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว 3.1 ระบุการทำงานของอัลกอริธึมจากแบบจำลองซอฟต์แวร์ที่กำหนด 31303.03.01 119927
31303.03 ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว 3.2 เขียนแบบจำลองซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานตามอัลกอริธึมที่กำหนด 31303.03.02 119928
31303.03 ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว 3.3 ระบุการทำงานของอินเตอร์รัพต์และบัฟเฟอร์ในการจัดการข้อมูลจากฮาร์ดแวร์ 31303.03.03 119929
31303.04 เลือกใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 4.1 ระบุความจำเป็นของไลบรารีในการพัฒนาซอฟต์แวร์ 31303.04.01 119925
31303.04 เลือกใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 4.2 ระบุไลบรารีที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่กำหนด 31303.04.02 119926
31303.05 ทดสอบระบบโดยรวม 5.1 ระบุความสำคัญของการทดสอบเพื่อการประกันคุณภาพ 31303.05.01 119922
31303.05 ทดสอบระบบโดยรวม 5.2 ระบุแนวคิดของการทดสอบระบบโดยรวม 31303.05.02 119923
31303.05 ทดสอบระบบโดยรวม 5.3 ระบุโครงสร้างเนื้อหาและข้อมูลที่จำเป็นในรายงานผลการทดสอบ 31303.05.03 119924

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. สามารถรวบรวมความต้องการจากลูกค้าและจัดทำเป็นเอกสารข้อกำหนดในการออกแบบ

  2. สามารถระบุเอกสารที่จำเป็นสำหรับการประกันคุณภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์

  3. สามารถเขียนแบบจำลองซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานตามอัลกอริธึมที่กำหนด

  4. สามารถระบุไลบรารีที่จำเป็นในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่กำหนด

  5. สามารถระบุโครงสร้างเนื้อหาและข้อมูลที่จำเป็นในรายงานผลการทดสอบ (Test report)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน เครื่องมือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบซอฟต์แวร์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของแบบจำลองซอฟต์แวร์ (Software model)

  3. ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายและประโยชน์ของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

  4. ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและวัตถุพยาน (Artifact) ที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์

  5. ความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์

  6. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของอัลกอริธึมจากแบบจำลองซอฟต์แวร์

  7. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบจำลองซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานตามอัลกอริธึม

  8. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของอินเตอร์รัพต์และบัฟเฟอร์ในการจัดการข้อมูลจากฮาร์ดแวร์

  9. ความรู้เกี่ยวกับไลบรารีสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์

  10. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบเพื่อการประกันคุณภาพ

  11. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบระบบโดยรวม

  12. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง เนื้อหาและข้อมูลที่จำเป็นในรายงานผลการทดสอบ (Test report)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. แฟ้มสะสมผลงาน เอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางด้านการพัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัวและการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบสัมภาษณ์

  2. แฟ้มสะสมผลงาน เอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางด้านทางด้านการพัฒนา ฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัวและการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

  3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน

  2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้การสอบสัมภาษณ์และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงการระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ การอธิบายกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์  การออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี และการทดสอบระบบ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ ได้แก่ ความต้องการของผู้ใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น User interface, Function, Usability, Software performance, Security, Compatibility, etc.

  2. การอธิบายกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ได้แก่ Software Development Life Cycle ;  Waterfall model, Spiral Model, Agile Software Development, Iterative model, etc.

  3. การออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว ได้แก่ การเขียน System Flowchart, Program flowchart หรือ Detail flowchart, การเขียนรหัสเทียม (Pseudo Code)

  4. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี (Software Library) สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ได้แก่ pre-written code, classes, procedures, scripts, configuration data, etc.

  5. การทดสอบระบบโดยรวม (System Test)  ได้แก่




  • Graphical user interface testing

  • Usability testing

  • Software performance testing

  • Compatibility testing

  • Exception handling

  •  Load/Volume testing

  • Stress testing

  • Security testing

  • Scalability testing

  •  Sanity/Smoke testing

  • Exploratory testing

  • Ad hoc testing

  • Regression testing

  • Installation testing

  • Maintenance testing

  • Recovery testing and failover testing.

  • Accessibility testing


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 31303.01 ระบุความต้องการสำหรับการออกแบบซอฟต์แวร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  2. สมรรถนะย่อย 31303.02 อธิบายกระบวนการ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  3. สมรรถนะย่อย 31303.03 ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  4. สมรรถนะย่อย 31303.04 เลือกใช้ซอฟต์แวร์ไลบรารี สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  5. สมรรถนะย่อย 31303.05 ทดสอบระบบโดยรวม ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ