หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-QOVE-110B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          มีสมรรถนะทางเทคนิคและการจัดการแก้ไขปัญหาในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นผู้นำ จัดการผลิตภาพการทำงาน ถ่ายทอด สอนงาน และกำกับดูแลผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผนได้ เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบสมองกลฝังตัว รายงานผลการออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ออกแบบวิธีการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สร้าง และเลือกเครื่องมือทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้บริหารโครงการ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
31302.01 ตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ 1.1 ระบุขั้นตอน เครื่องมือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบฮาร์ดแวร์ 31302.01.01 119955
31302.01 ตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ 1.2 รวบรวมความต้องการจากลูกค้าและจัดทำเป็นเอกสารข้อกำหนดในการออกแบบ 31302.01.02 119956
31302.01 ตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ 1.3 ระบุความจำเป็นของการออกแบบฮาร์ดแวร์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานอุตสาหกรรม 31302.01.03 119957
31302.01 ตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ 1.4 ระบุมาตรฐานอุตสาหกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนในการรับรองมาตรฐาน 31302.01.04 119958
31302.02 ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.1 ระบุขั้นตอนและเครื่องมือในการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 31302.02.01 119949
31302.02 ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.2 ระบุการทำงานของวงจรใน schematic ที่กำหนด 31302.02.02 119950
31302.02 ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.3 ใช้เครื่องมือเพื่อสร้างวงจรใน schematic ตามที่กำหนด 31302.02.03 119951
31302.02 ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 2.4 ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของ schematic ที่กำหนด 31302.02.04 119952
31302.03 รายงานผลการออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 3.1 เขียนรายงานสรุปผลการออกแบบ 31302.03.01 119943
31302.03 รายงานผลการออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 3.2 ประมาณการค่าใช้จ่ายของการสร้างแผงวงจรที่ออกแบบ 31302.03.02 119944
31302.04 ออกแบบวิธีการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 4.1 ระบุความจำเป็นของการออกแบบให้ทดสอบ 31302.04.01 119941
31302.04 ออกแบบวิธีการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 4.2 ระบุรูปแบบต่าง ๆ ของการทดสอบอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม 31302.04.02 119942
31302.05 สร้าง และเลือกเครื่องมือทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 5.1 ระบุขั้นตอน เครื่องมือ และวิธีการทดสอบความถูกต้องของวงจรที่กำหนด 31302.05.01 119939
31302.05 สร้าง และเลือกเครื่องมือทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 5.2 ระบุประโยชน์ของการวัดและทดสอบแบบอัตโนมัติ 31302.05.02 119940

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. สามารถรวบรวมความต้องการจากลูกค้าและจัดทำเป็นเอกสารข้อกำหนดในการออกแบบ

  2. สามารถระบุมาตรฐานอุตสาหกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนในการรับรองมาตรฐาน

  3. สามารถใช้เครื่องมือเพื่อสร้างวงจรใน Schematic ตามที่กำหนด

  4. สามารถตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของ Schematic ที่กำหนด

  5. สามารถเขียนรายงานสรุปผลการออกแบบ

  6. สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายของการสร้างแผงวงจรที่ออกแบบ

  7. สามารถระบุรูปแบบต่าง ๆ ของการทดสอบอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม

  8. สามารถระบุขั้นตอน เครื่องมือ และวิธีการทดสอบความถูกต้องของวงจรที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน เครื่องมือ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบฮาร์ดแวร์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมความต้องการจากลูกค้าและการจัดทำเอกสารข้อกำหนดในการออกแบบ

  3. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอุตสาหกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนในการรับรองมาตรฐาน

  4. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและเครื่องมือในการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  5. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของวงจรใน Schematic ที่กำหนด

  6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อสร้างวงจรใน Schematic ตามที่กำหนด

  7. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของ Schematic ที่กำหนด

  8. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเขียนรายงานสรุปผลการออกแบบ

  9. ความรู้เกี่ยวกับหลักการประมาณการค่าใช้จ่ายของการสร้างแผงวงจรที่ออกแบบ

  10. ความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นของการออกแบบให้ทดสอบ (Design for testability)

  11. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของการทดสอบอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม

  12. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน เครื่องมือ และวิธีการทดสอบความถูกต้องของวงจรที่กำหนด

  13. ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการวัดและทดสอบแบบอัตโนมัติ (Automated test)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

  2. ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากทดสอบข้อเขียน

  2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

  3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน

  2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้การสอบสัมภาษณ์และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง การตรวจสอบความต้องการ  การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์  การรายงานผลการออกแบบด้านฮาร์ดแวร์ การออกแบบวิธีการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการเลือกเครื่องมือทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ

  2. การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Schematic diagram) สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

  3. การรายงานผลการออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

  4. การออกแบบวิธีการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  5. การสร้าง และเลือกเครื่องมือทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 31302.01 ตรวจสอบความต้องการสำหรับการออกแบบ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  2. สมรรถนะย่อย 31302.02 ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  3. สมรรถนะย่อย 31302.03 รายงานผลการออกแบบด้านฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  4. สมรรถนะย่อย 31302.04 ออกแบบวิธีการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  5. สมรรถนะย่อย 31302.05 สร้างและเลือกเครื่องมือทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ