หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-SYMB-109B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับระบบสมองกลฝังตัว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          มีสมรรถนะทางเทคนิคและการจัดการแก้ไขปัญหาในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นผู้นำ จัดการผลิตภาพการทำงาน ถ่ายทอด สอนงาน และกำกับดูแลผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผนได้ เป็นผู้ที่มีสมรรถนะเลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน ระบุเทคโนโลยีฐาน Platform  สำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน ศึกษา และทดสอบโมดูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของระบบ ออกแบบบล็อก ไดอะแกรมของอุปกรณ์ต่อพ่วง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้บริหารโครงการ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
31301.01 เลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน 1.1 ระบุเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด 31301.01.01 119999
31301.01 เลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน 1.2 จำแนกประโยชน์ของการใช้ระบบสมองกลฝังตัวในผลิตภัณฑ์ที่กำหนด 31301.01.02 120000
31301.01 เลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน 1.3 ระบุโครงสร้าง หน้าที่ และองค์ประกอบของระบบสมองกลฝังตัวในผลิตภัณฑ์ที่กำหนด 31301.01.03 120001
31301.02 ระบุเทคโนโลยีฐาน Platform สำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน 2.1 ระบุความแตกต่างของแพลตฟอร์ม (ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์) ของระบบสมองกลฝังตัวที่กำหนด 31301.02.01 119987
31301.02 ระบุเทคโนโลยีฐาน Platform สำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน 2.2 เลือกแพลตฟอร์ม (ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์) ของระบบสมองกลฝังตัวที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่กำหนด 31301.02.02 119988
31301.02 ระบุเทคโนโลยีฐาน Platform สำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน 2.3 ประมาณการค่าใช้จ่ายของการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวด้วยแพลตฟอร์มที่กำหนด 31301.02.03 119989
31301.03 ศึกษา และทดสอบโมดูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของระบบ 3.1 ระบุเงื่อนไขและผลลัพธ์ในการทำต้นแบบเพื่อพิสูจน์แนวคิด 31301.03.01 119984
31301.03 ศึกษา และทดสอบโมดูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของระบบ 3.2 ระบุข้อแตกต่างระหว่างการทำแผงวงจรเองและการซื้อแผงวงจรกึ่งสำเร็จรูป (Component off-the-shelf) มาทำต้นแบบ 31301.03.02 119985
31301.03 ศึกษา และทดสอบโมดูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของระบบ 3.3 กำหนดส่วนโค้ดที่จำเป็นสำหรับทดสอบการทำงานของแผงวงจรกึ่งสำเร็จรูปในการทำต้นแบบ 31301.03.03 119986
31301.04 ออกแบบบล็อก ไดอะแกรมของอุปกรณ์ต่อพ่วง 4.1 ระบุหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์จากบล็อกไดอะแกรมที่กำหนด 31301.04.01 119978
31301.04 ออกแบบบล็อก ไดอะแกรมของอุปกรณ์ต่อพ่วง 4.2 เขียนบล็อกไดอะแกรมเพื่ออธิบายโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด 31301.04.02 119979

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

สามารถระบุเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่กำหนด



สามารถเลือกแพลตฟอร์ม (ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์) ของระบบสมองกลฝังตัวที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่กำหนด



สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายของการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวด้วยแพลตฟอร์มที่กำหนด



สามารถกำหนดส่วนโค้ดที่จำเป็นสำหรับทดสอบการทำงานของแผงวงจรกึ่งสำเร็จรูปในการทำต้นแบบ



สามารถเขียนบล็อกไดอะแกรมเพื่ออธิบายโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัว

  2. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีฐาน (Platform) สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

  3. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประโยชน์ของการใช้ระบบสมองกลฝังตัวในผลิตภัณฑ์

  4. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ และองค์ประกอบของระบบสมองกลฝังตัวในผลิตภัณฑ์

  5. ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของแพลตฟอร์ม (ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์) ของระบบสมองกลฝังตัว

  6. ความรู้เกี่ยวกับการประมาณการค่าใช้จ่ายของการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวด้วยแพลตฟอร์ม

  7. ความรู้เกี่ยวกับเงื่อนไขและผลลัพธ์ในการทำต้นแบบเพื่อพิสูจน์แนวคิด

  8. ความรู้เกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างการทำแผงวงจรเองและการซื้อแผงวงจรกึ่งสำเร็จรูป (Component off-the-shelf) มาทำต้นแบบ

  9. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดส่วนโค้ดที่จำเป็นสำหรับทดสอบการทำงานของแผงวงจรกึ่งสำเร็จรูปในการทำต้นแบบ

  10. ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์จากบล็อกไดอะแกรมที่กำหนด

  11. ความรู้เกี่ยวกับบล็อกไดอะแกรมสำหรับอธิบายโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากทดสอบข้อเขียน

  2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง




  1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

  2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

  3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน

  2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้การสอบสัมภาษณ์และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงการเลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัว  การระบุเทคโนโลยีฐาน (Platform)  สำหรับระบบสมองกลฝังตัว และการออกแบบบล็อกไดอะแกรมของอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การเลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ RTOS   MicroC/OS-II Linux  Windows MeeGo Android IOS ITRON

  2. การระบุเทคโนโลยีฐาน (Platform)  สำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน เช่น T-Engine หรืออื่น ๆ

  3. การออกแบบบล็อกไดอะแกรมของอุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่




  • Serial Communication Interfaces (SCI): RS-232, RS-422, RS-485 etc.

  • Synchronous Serial Communication Interface: I2C, SPI, SSC and ESSI (Enhanced Synchronous Serial Interface)

  • Universal Serial Bus (USB)

  • Multi Media Cards (SD Cards, Compact Flash etc.

  • Networks: Ethernet, LonWorks, etc.

  • Fieldbuses: CAN-Bus, LIN-Bus, PROFIBUS, etc.

  • Timers: PLL(s), Capture/Compare and Time Processing Units

  • Discrete IO: aka General-Purpose Input/Output (GPIO)

  • Analog to Digital/Digital to Analog (ADC/DAC)

  • Debugging: JTAG, ISP, ICSP, BDM Port, BITP, and DB9 ports


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 31301.01 เลือกเทคโนโลยีเฉพาะสำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  2. สมรรถนะย่อย 31301.02 ระบุเทคโนโลยีฐาน Platform สำหรับระบบสมองกลฝังตัวตามมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  3. สมรรถนะย่อย 31301.03 ศึกษา และทดสอบโมดูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของระบบ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  4. สมรรถนะย่อย 31301.04 ออกแบบบล็อกไดอะแกรมของอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ