หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-FYNH-108B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพแก้ไขปัญหาในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงาน เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการเขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว รวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด ปรับแต่ง และแก้ไข Code Warning และ Error ทดสอบโปรแกรม แต่ละโมดูล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม) นักพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
31201.01 เขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 1.1 ระบุโครงสร้าง หน้าที่ และเนื้อหาของไฟล์ซอร์สโค้ดของโปรแกรม 31201.01.01 120028
31201.01 เขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 1.2 เขียนโค้ดที่ประกาศตัวแปรและฟังก์ชันโดยแยกออกเป็นหลายไฟล์ 31201.01.02 120029
31201.01 เขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 1.3 เขียนฟังก์ชันเพื่อประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนด 31201.01.03 120030
31201.01 เขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว 1.4 เขียนโค้ดเพื่ออ่านค่าและสั่งการฮาร์ดแวร์ 31201.01.04 120031
31201.02 รวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบ 2.1 รวมซอร์สโค้ดที่กำหนดให้อยู่ภายในไฟล์งาน (Project file) 31201.02.01 120022
31201.02 รวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบ 2.2 กำหนดเงื่อนไขในการคอมไพล์และลิงค์ซอร์สโค้ดที่เหมาะสมกับการทำงาน 31201.02.02 120023
31201.02 รวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบ 2.3 กำหนดไฟล์ไลบรารีที่จะใช้ในการสร้างโปรแกรม 31201.02.03 120024
31201.03 ปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด 3.1 ระบุหลักการ เครื่องมือ และวิธีการพัฒนาแบบข้ามแพลตฟอร์ม 31201.03.01 120015
31201.03 ปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด 3.2 ใช้เครื่องมือพัฒนาในการสร้างไฟล์อิมเมจสำหรับหน่วยประมวลผลที่กำหนด 31201.03.02 120016
31201.03 ปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด 3.3 ติดตั้งไฟล์อิมเมจลงในบอร์ดเป้าหมาย 31201.03.03 120017
31201.03 ปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด 3.4 สั่งให้เฟิร์มแวร์บนบอร์ดเป้าหมายทำงาน 31201.03.04 120018
31201.04 ปรับแต่ง และแก้ไข Code Warning และ Error 4.1 ระบุสาเหตุ เครื่องมือ และข้อความที่รายงานการแจ้งเตือน/ความผิดพลาด 31201.04.01 120010
31201.04 ปรับแต่ง และแก้ไข Code Warning และ Error 4.2 แก้ไขปัญหาของซอร์สโค้ดและเครื่องมือโดยพิจารณาจากข้อความที่รายงาน 31201.04.02 120011
31201.05 ทดสอบโปรแกรม แต่ละโมดูล 5.1 ระบุสาเหตุ เครื่องมือ และข้อความที่รายงานการแจ้งเตือน/ความผิดพลาด 31201.05.01 120007
31201.05 ทดสอบโปรแกรม แต่ละโมดูล 5.2 จำแนกสาเหตุและผลกระทบของบั๊กในส่วนโค้ด 31201.05.02 120008
31201.05 ทดสอบโปรแกรม แต่ละโมดูล 5.3 กำหนดเงื่อนไขและดำเนินการทดสอบฟังก์ชันเพื่อตรวจสอบรูปแบบความผิดพลาดที่กำหนด 31201.05.03 120009

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. สามารถเขียนโค้ดที่ประกาศตัวแปรและฟังก์ชันโดยแยกออกเป็นหลายไฟล์

  2. สามารถเขียนฟังก์ชันเพื่อประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนด

  3. สามารถเขียนโค้ดเพื่ออ่านค่าและสั่งการฮาร์ดแวร์

  4. สามารถรวมซอร์สโค้ดที่กำหนดให้อยู่ภายในไฟล์งาน (Project file)

  5. สามารถกำหนดเงื่อนไขในการคอมไพล์และลิงค์ซอร์สโค้ดที่เหมาะสมกับการทำงาน

  6. สามารถกำหนดไฟล์ไลบรารีที่จะใช้ในการสร้างโปรแกรม

  7. สามารถใช้เครื่องมือพัฒนาในการสร้างไฟล์อิมเมจสำหรับหน่วยประมวลผลที่กำหนด

  8. สามารถติดตั้งไฟล์อิมเมจลงในบอร์ดเป้าหมาย

  9. สามารถสั่งให้เฟิร์มแวร์บนบอร์ดเป้าหมายทำงาน

  10. สามารถแก้ไขปัญหาของซอร์สโค้ดและเครื่องมือโดยพิจารณาจากข้อความที่รายงาน

  11. สามารถจำแนกสาเหตุและผลกระทบของบั๊ก (Bug) ในส่วนโค้ด

  12. สามารถกำหนดเงื่อนไขและดำเนินการทดสอบฟังก์ชันเพื่อตรวจสอบรูปแบบความผิดพลาดที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่ และเนื้อหาของไฟล์ซอร์สโค้ดของโปรแกรม

  2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการ เครื่องมือ และวิธีการพัฒนาแบบข้ามแพลตฟอร์ม

  3. ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ เครื่องมือ และข้อความที่รายงานการแจ้งเตือน/ความผิดพลาด

  4. ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด เครื่องมือ และขั้นตอนในการทดสอบโมดูล

  5. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกสาเหตุและผลกระทบของบั๊กในส่วนโค้ด

  6. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขและดำเนินการทดสอบฟังก์ชันเพื่อตรวจสอบรูปแบบความผิดพลาดที่กำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากการสอบข้อเขียน

  2. ผลจากการสัมภาษณ์

  3. ผลจากการสอบปฏิบัติ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

  2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง การเขียนโปรแกรม การรวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบ การปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์ การปรับแต่ง และแก้ไข Code และการทดสอบโปรแกรม (Software debug)



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การเขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ได้แก่การประกาศตัวแปร การเขียนโค้ดคำสั่งสำหรับอ่านค่าอินพุตและส่งค่าไปยังเอาต์พุต การเขียนฟังก์ชัน

  2. การรวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบ เป็นการทดสอบโปรแกรมในลักษณะระบบรวมเพื่อพิจารณาการทำงานของระบบโดยรวม ได้แก่ การรวมซอร์สโค้ด การคอมไพล์และการลิงค์ซอร์สโค้ด และการกำหนดไลบรารี

  3. การปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด ได้แก่ การพัฒนาข้ามแพลตฟอร์ม การสร้างเฟิร์มแวร์ การติดตั้งเฟิร์มแวร์ลงบอร์ด

  4. การปรับแต่ง และแก้ไข Code warning และ Error เป็นการพิจารณาได้แก่ Code warning และ Error จากการคอมไพล์โปรแกรม

  5. ทดสอบโปรแกรมแต่ละโมดูล ได้แก่ การแก้ไขและรายงาน  Code warning และ Error จากการทำ Module debugging


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 




  1. สมรรถนะย่อย 31201.01 เขียนโปรแกรม ควบคุมแบบแยกส่วนเป็นโมดูล สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  2. สมรรถนะย่อย 31201.02 รวบรวมโปรแกรมย่อยทุกส่วนเข้าเป็นโปรแกรมระบบให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  3. สมรรถนะย่อย 31201.03 ปฏิบัติการใช้เครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์และติดตั้งลงบอร์ด ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  4. สมรรถนะย่อย 31201.04 ปรับแต่ง และแก้ไข Code Warning และ Error ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  5. สมรรถนะย่อย 31201.05 ทดสอบโปรแกรมแต่ละโมดูล ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ