หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-CSOS-107B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาฮาร์ดแวร์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพแก้ไขปัญหาในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงาน เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในอ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสมองกลฝังตัว เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ ออกแบบลายวงจรพิมพ์  ตามแบบที่กำหนด จัดทำแผ่นวงจรพิมพ์ ตามแบบ ทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ ประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า  ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต   ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม) นักพัฒนาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และระบบสมองกลฝังตัว  นักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และระบบสมองกลฝังตัว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
31101.01 อ่านแบบวงจร อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสมองกลฝังตัว 1.1 จำแนกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากแบบที่กำหนด 31101.01.01 120082
31101.01 อ่านแบบวงจร อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสมองกลฝังตัว 1.2 อ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ 31101.01.02 120083
31101.01 อ่านแบบวงจร อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสมองกลฝังตัว 1.3 กำหนดองค์ประกอบของรายการวัสดุตามแบบ 31101.01.03 120084
31101.02 เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ 2.1 เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 31101.02.01 120079
31101.02 เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ 2.2 เลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบที่กำหนด 31101.02.02 120080
31101.02 เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ 2.3 สร้าง Footprint ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบที่กำหนด 31101.02.03 120081
31101.03 ออกแบบลายวงจรพิมพ์ ตามแบบที่กำหนด 3.1 ออกแบบลายวงจรพิมพ์แบบง่าย 31101.03.01 120076
31101.03 ออกแบบลายวงจรพิมพ์ ตามแบบที่กำหนด 3.2 ปฏิบัติการใช้โปรแกรมออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ ให้สอดคล้องตามแบบ Schematic diagram และข้อกำหนดของโรงงานผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ 31101.03.02 120077
31101.03 ออกแบบลายวงจรพิมพ์ ตามแบบที่กำหนด 3.3 ตรวจสอบความถูกต้องของลายวงจรพิมพ์ที่ออกแบบ 31101.03.03 120078
31101.04 จัดทำแผ่นวงจรพิมพ์ ตามแบบ 4.1 ระบุขั้นตอนของกระบวนการจัดทำแผ่นวงจรพิมพ์ 31101.04.01 120069
31101.04 จัดทำแผ่นวงจรพิมพ์ ตามแบบ 4.2 จัดทำไฟล์ข้อมูล สำหรับสั่งทำแผ่นวงจรพิมพ์ 31101.04.02 120070
31101.05 ทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ 5.1 เตรียมการตรวจสอบแผ่นวงจรพิมพ์ 31101.05.01 120066
31101.05 ทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ 5.2 ตรวจสอบแผ่นวงจรพิมพ์เบื้องต้น 31101.05.02 120067
31101.05 ทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ 5.3 ตรวจสอบการลัดวงจรของแผ่นวงจรพิมพ์โดยใช้เครื่องมือวัด 31101.05.03 120068
31101.06 ประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 6.1 ระบุขั้นตอน เครื่องมือและวิธีการประกอบที่สอดคล้องกับลักษณะงาน 31101.06.01 120055
31101.06 ประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 6.2 ประกอบชิ้นส่วนถูกต้องและสวยงามตามแบบ 31101.06.02 120056
31101.06 ประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 6.3 ทำความสะอาดชิ้นงานอย่างเรียบร้อย 31101.06.03 120057
31101.06 ประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 6.4 ตรวจสอบและตกแต่งชิ้นงานให้ถูกต้อง 31101.06.04 120058
31101.07 ทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 7.1 ใช้เครื่องมือวัดในการทดสอบวงจร 31101.07.01 120052
31101.07 ทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 7.2 ทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 31101.07.02 120053
31101.07 ทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 7.3 ระบุข้อผิดพลาดและแนวทางแก้ไข 31101.07.03 120054
31101.08 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ 8.1 ระบุประเภทเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญได้แก่ มัลติมิเตอร์ ออสซิลโลสโคป 31101.08.01 120049
31101.08 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ 8.2 ใช้งานเครื่องมือวัด เพื่อวัดค่าตามที่กำหนด 31101.08.02 120050
31101.08 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ 8.3 ระบุข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้งานเครื่องมือวัด 31101.08.03 120051

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. สามารถอ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้

  2.  สามารถจำแนกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากแบบที่กำหนดได้

  3.  สามารถออกแบบลายวงจรพิมพ์ได้

  4.  สามารถใช้โปรแกรมออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ได้

  5.  สามารถตรวจสอบความถูกต้องของลายวงจรพิมพ์ที่ออกแบบได้

  6.  สามารถตรวจสอบการลัดวงจรของแผ่นวงจรพิมพ์ได้

  7.  สามารถประกอบชิ้นส่วนได้ถูกต้องและสวยงาม

  8.  สามารถตรวจสอบและตกแต่งชิ้นงานให้ถูกต้องเรียบร้อย

  9.  สามารถใช้เครื่องมือวัดในการทดสอบวงจรได้

  10. สามารถทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้

  11. สามารถใช้เครื่องมือวัด เพื่อวัดค่าตามที่กำหนดได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการเลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากแบบที่กำหนด

  2. ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์

  3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดองค์ประกอบของรายการวัสดุตามแบบ

  4. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบลายวงจรพิมพ์

  5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ให้สอดคล้องตามแบบ Schematic diagram และข้อกำหนดของโรงงานผลิตแผ่นวงจรพิมพ์

  6. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบความถูกต้องของลายวงจรพิมพ์

  7. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดทำแผ่นวงจรพิมพ์

  8. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างไฟล์ข้อมูล สำหรับสั่งทำแผ่นวงจรพิมพ์

  9. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบการลัดวงจรของแผ่นวงจรพิมพ์

  10. ความรู้เกี่ยวกับการระบุขั้นตอน เครื่องมือและวิธีการประกอบที่สอดคล้องกับลักษณะงาน

  11. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประกอบชิ้นส่วน

  12. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบและตกแต่งชิ้นงาน

  13. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือวัดในการทดสอบวงจร

  14. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากการสอบข้อเขียน

  2. ผลจากการสัมภาษณ์

  3. ผลจากการสอบปฏิบัติ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

  2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง การอ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การเลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบลายวงจรพิมพ์ การจัดทำแผ่นวงจรพิมพ์ การทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ การประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การอ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Schematic diagram หรือแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแผ่นวงจรพิมพ์

  2. การเลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ โดยเลือกจากไลบรารีที่กำหนดมาให้ในโปรแกรม หรือสร้างขึ้นใหม่ในกรณีเป็นอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่มีในไลบรารี

  3. ออกแบบวงจรพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ ความถูกต้องของการเชื่อมต่อลายวงจรพิมพ์ ขนาด และข้อกำหนด ที่เหมาะสมของอุปกรณ์ที่ใช้งานเป็นต้น

  4. การออกแบบลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board :PCB) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Pspice  Protel Proteus Orcad  Autocad หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  5. การจัดทำแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board)  โดยใช้ระบบ Manual หรือเครื่องอัตโนมัติ

  6. การทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board)  เป็นการทดสอบเบื้องต้นหลังจากได้แผ่นวงจรพิมพ์สำเร็จมาแล้ว ได้แก่ การตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของลายวงจร การทดสอบการลัดวงจร

  7. การประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ ไอซี ซ็อกเก็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์

  8. การทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทดสอบการทำงานของวงจร หลังจากที่ลงอุปกรณ์ครบถ้วนแล้ว โดยใช้เครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น มัลติมิเตอร์ ออสซิลโลสโคป หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

  9. การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ มัลติมิเตอร์ ออสซิลโลสโคป วัตต์มิเตอร์ วาร์มิเตอร์ เพาเวอร์แฟคเตอร์มิเตอร์ หรือเครื่องมือวัดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          อุตสาหกรรมชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 




  1. สมรรถนะย่อย 31101.01 อ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับระบบสมองกลฝังตัว ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  2. สมรรถนะย่อย 31101.02 เลือกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเลือก Footprint ให้สอดคล้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  3. สมรรถนะย่อย 31101.03 ออกแบบลายวงจรพิมพ์ตามแบบที่กำหนด ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  4. สมรรถนะย่อย 31101.04 สร้างแผ่นวงจรพิมพ์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  5. สมรรถนะย่อย 31101.05 ทดสอบแผ่นวงจรพิมพ์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  6. สมรรถนะย่อย 31101.06 ประกอบชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  7. สมรรถนะย่อย 31101.07 ทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ

  8. สมรรถนะย่อย 31101.08 ใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ