หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ปัญหาเบื้องต้นตามคู่มือการใช้งาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-AYCL-106B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ปัญหาเบื้องต้นตามคู่มือการใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้สนับสนุนด้านไอที สําหรับธุรกิจขนาดย่อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคในการประยุกต์หลักการ เลือกใช้และทำงานตามมาตรฐาน แก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือ เข้าใจและอธิบายสาระสำคัญของงานด้วยหลักการที่ถูกต้อง ใช้สารสนเทศเพื่อควบคุมคุณภาพของผลงาน ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างาน เป็นผู้ที่สามารถวางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ รายงานผลการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2434 ผู้ประกอบวิชาชีพการขายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร2523 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์3511 ช่างเทคนิคปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร3512 ช่างเทคนิคให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง 1.1 วางแผนและเตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุง ได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการ 30602.01.01 120103
30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง 1.2 ระบุกำหนดการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ในรายละเอียดการสั่งซื้อหรือการให้บริการ 30602.01.02 120104
30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง 1.3 กำหนดขั้นตอนการทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการ และอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับ ด้านสุขภาพและความปลอดภัย 30602.01.03 120105
30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง 1.4 จัดหาและตรวจสอบวัสดุ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด สอดคล้องกับความต้องการของงาน 30602.01.04 120106
30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง 1.5 ตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องการซ่อมบำรุง ได้อย่างสอดคล้องกับข้อกำหนดและความต้องการ 30602.01.05 120107
30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง 1.6 ทดสอบและหรือเก็บรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย 30602.01.06 120108
30602.02 ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 2.1 ซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 30602.02.01 120095
30602.02 ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 2.2 ซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานตามฟังก์ชันการทำงานปกติ ตามคำ แนะนำ ของผู้ผลิตอุปกรณ์ / ระบบ 30602.02.02 120096
30602.02 ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 2.3 วิเคราะห์และแก้ไข ความผิดพลาดหรือปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ ตามความต้องการและสอดคล้องกับขั้นตอนการดำเนินงานที่กำหนด 30602.02.03 120097
30602.02 ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 2.4 วิเคราะห์และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนหรือไม่เป็นตามเงื่อนไข ตามขั้นตอนที่กำหนด 30602.02.04 120098
30602.02 ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 2.5 ตรวจสอบในขั้นตอนสุดท้าย ได้อย่างสอดคล้องกับข้อกำหนดของผู้ผลิตตามเอกสาร / คู่มือ 30602.02.05 120099
30602.03 รายงานผลการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 3.1 เขียนรายงานผลการซ่อมบำรุง ตามรูปแบบที่กำหนด 30602.03.01 120087
30602.03 รายงานผลการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ 3.2 นำเสนอผลการซ่อมบำรุงอย่างสอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมกับฝ่ายต่าง ๆ 30602.03.02 120088

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการวางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ตามความต้องการ โดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน



2. ความสามารถในการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกต้องตามความต้องการ โดยไม่มีความเสียหายหรือมีผลต่อสภาพแวดล้อมหรือการบริการ



3. ความสามารถในการตรวจสอบผลการซ่อมบำรุงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการโดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน



4. ความสามารถในการเขียนรายงานผลการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ตามรูปแบบที่กำหนด



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ โดยสอดคล้องกับความปลอดภัยในการทำงาน



2. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ที่สอดคล้องกับความปลอดภัยในการทำงาน



3. ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์



4. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดแห่งความปลอดภัย และความต้องการ



5. ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมสำหรับฝ่ายบริหาร และหรือฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



          2. ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการสอบข้อเขียน



          2. ผลจากการสัมภาษณ์



          3. ผลจากการสอบปฏิบัติ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร



          2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คําแนะนํา



          การปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์และรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้น การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นตามคู่มือการใช้งาน และสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานที่ได้แก้ไข 



(ข)  คําอธิบายรายละเอียด



          1. กฎหมายและข้อบังคับด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ กฎหมายแรงงานข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานหรืออันตรายจากสถานที่ปฏิบัติงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม



          2. ความต้องการได้แก่ ใบสั่งงาน (Job orders) ใบสั่งจ้าง (Request Forms) ใบรายงานความต้องการ (Report sheets)



          3. เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องมือวัด ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันดวงตา ดิจิทัลมัลติมิเตอร์ เครื่องมือ ปอกสาย คีมชนิดต่าง ๆ ไขควง หัวแร้งบัดกรี ประแจแบบต่าง ๆ เช่นประแจหกเหลี่ยม (0.05 – 0.25นิ้ว) ไฟฉาย เครื่องช่วยเสียบและถอดไอซี เครื่องเข้าหัวสาย RS232 RJ45 แหนบปลายแหลม สายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ เครื่องทดสอบระบบเครือข่าย และเครื่องมือช่างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          4. โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมใช้งานเฉพาะเกี่ยวกับงานเอกสาร งานบัญชี งานคำนวณและวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ โปรแกรมสำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย โปรแกรมติดตามและตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจําแนกได้ ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 30602.01 วางแผนและเตรียมการสำหรับการซ่อมบำรุง ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  2. สมรรถนะย่อย 30602.02 ปฏิบัติการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน

  3. สมรรถนะย่อย 30602.03 รายงานผลการซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์และการสอบปฏิบัติ ข้อมูลจากแฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ