หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-TFWN-097B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้ผลิตและตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ไอซีที



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพแก้ไขปัญหาในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงาน เป็นผู้ที่มีความสามารถ ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานสำเร็จตามข้อกำหนด  วิเคราะห์สาเหตุ ข้อบกพร่องจากการผลิตและบันทึกข้อบกพร่อง วิธีการแก้ไข และวิธีการป้องกัน  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า3114 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30303.01 ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานสำเร็จตามข้อกำหนด 1.1 ตรวจสอบความถูกต้องและความสวยงามของชิ้นงานสำเร็จตามข้อกำหนด 30303.01.01 120243
30303.01 ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานสำเร็จตามข้อกำหนด 1.2 ปฏิบัติตามคู่มือการตรวจสอบคุณภาพ 30303.01.02 120244
30303.02 วิเคราะห์สาเหตุ ข้อบกพร่องจากการผลิต 2.1 ตรวจหาสาเหตุ ข้อบกพร่องจากการผลิต 30303.02.01 120241
30303.02 วิเคราะห์สาเหตุ ข้อบกพร่องจากการผลิต 2.2 เสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไข 30303.02.02 120242
30303.03 บันทึกข้อบกพร่อง วิธีการแก้ไข และวิธีการป้องกัน 3.1 เขียนบันทึกข้อบกพร่อง 30303.03.01 120239
30303.03 บันทึกข้อบกพร่อง วิธีการแก้ไข และวิธีการป้องกัน 3.2 เสนอแนะวิธีการแก้ไขและป้องกัน 30303.03.02 120240

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการอ่านคู่มือการตรวจสอบคุณภาพ

  2. ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานสำเร็จ

  3. ความสามารถในการตรวจสอบข้อบกพร่องจากการผลิต

  4. ความสามารถในการเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไข

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพ

  2. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้อง ความประณีต และความสวยงามของชิ้นงานสำเร็จ

  3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบข้อบกพร่องจากการผลิต

  4. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องจากการผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากการสอบข้อเขียน

  2. ผลจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

  2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ชิ้นงานมีความถูกต้อง ประณีต สวยงาม ตามแบบที่กำหนด

  2. คู่มือการตรวจสอบคุณภาพประกอบด้วย มาตรฐานคุณภาพ ขั้นตอนและวิธีการตรวจสอบคุณภาพ ข้อควรระวัง

  3. ตรวจหาสาเหตุข้อบกพร่อง จากการผลิต ได้แก่ ข้อบกพร่องจากพนักงาน เครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน

  4. เขียนบันทึกข้อบกพร่อง และเสนอแนะวิธีการแก้ไขและป้องกันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม 



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้    




  1. สมรรถนะย่อย 30303.01 ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานสำเร็จตามข้อกำหนด ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

  2. สมรรถนะย่อย 30303.02 วิเคราะห์สาเหตุ ข้อบกพร่องจากการ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

  3. สมรรถนะย่อย 30303.03 บันทึกข้อบกพร่อง วิธีการแก้ไข และวิธีการป้องกัน ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ