หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-AOMW-090B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอซีที



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้มีสมรรถนะทางเทคนิคครอบคลุมงานอาชีพแก้ไขปัญหาในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงาน เป็นผู้ที่มีความสามารถในการ ทดสอบการทำงานของผลิตภัณฑ์ ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามฟังก์ชันที่ออกแบบ และทดสอบความถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นอาหารและ เครื่องดื่ม)3257 ผู้ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมการทำงาน สุขภาพ และงานที่เกี่ยวข้อง (ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30104.01 ทดสอบความ สามารถในการทำงานของผลิตภัณฑ์ 1.1 ทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ครบถ้วนทุกฟังก์ชันตามที่ได้ออกแบบไว้ 30104.01.01 120299
30104.01 ทดสอบความ สามารถในการทำงานของผลิตภัณฑ์ 1.2 วิเคราะห์ข้อบกพร่อง และรายงานผลได้ ตามที่ได้ออกแบบไว้ 30104.01.02 120300
30104.02 ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามฟังก์ชันที่ออกแบบ 2.1 ทดสอบความสะดวกในการใช้งาน 30104.02.01 120296
30104.02 ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามฟังก์ชันที่ออกแบบ 2.2 ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามรูปลักษณ์ที่ออกแบบ ตามมาตรฐานที่กำหนด 30104.02.02 120297
30104.02 ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามฟังก์ชันที่ออกแบบ 2.3 ประเมินความพึงพอใจ ต่อรูปลักษณ์ที่ออกแบบ 30104.02.03 120298
30104.03 ทดสอบความถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 3.1 เตรียมความพร้อมของผลิตภัณฑ์เพื่อการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนด 30104.03.01 120293
30104.03 ทดสอบความถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 3.2 ทดสอบผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด 30104.03.02 120294
30104.03 ทดสอบความถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 3.3 วิเคราะห์ และรายงานผลการทดสอบ 30104.03.03 120295

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนด

  2. ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อบกพร่อง และรายงานผล

  3. ความสามารถในการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานที่กำหนด

  4. ความสามารถในการวิจารณ์ และเสนอแนะข้อคิดเห็น

  5. ความสามารถในการเตรียมความพร้อมของผลิตภัณฑ์ เพื่อทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบผลิตภัณฑ์

  2. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อบกพร่อง และรายงานผล

  3. ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามรูปลักษณ์ที่ออกแบบ (Design Test)

  4. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานต่าง ๆ ที่กำหนด

  5. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจ

  6. ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์

  7. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  8. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากการสอบข้อเขียน

  2. ผลจากการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

  2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



     ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ครบถ้วนทุกฟังก์ชันตามที่ได้ออกแบบไว้ ได้แก่ ขั้นตอนการใช้งาน หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ

  2. สามารถวิเคราะห์ข้อบกพร่อง และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ได้แก่ รายงานต่อแผนก หรือฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  3. สามารถทดสอบความสะดวกในการใช้งาน (Usability test) ได้อย่างถูกต้องตามที่กำหนด ได้แก่ มาตรฐาน ความสะดวกในการใช้งาน ขนาด น้ำหนัก การติดตั้ง การควบคุม การเคลื่อนย้าย

  4. ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามรูปลักษณ์ที่ออกแบบ (Design Test) ตามมาตรฐานที่กำหนด ได้แก่ ISO IEC EMI EMC และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  5. สามารถประเมินความพึงพอใจ ได้แก่ ความสวยงาม รูปลักษณ์  สี ขนาด ความทันสมัย 

  6. วิจารณ์ และเสนอแนะข้อคิดเห็น ได้อย่างเหมาะสม เช่น การปรับปรุงรูปลักษณ์ สี ขนาด

  7. เตรียมความพร้อม ได้แก่ ห้องทดสอบที่เป็นไปตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์สำหรับการทดสอบ รายละเอียดของอุปกรณ์ และประเภทการทดสอบ มาตรฐานที่กำหนดได้แก่ ISO IEC EMI EMC และหรือมาตรฐาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  8. การสรุปรายงานผลการทดสอบได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ประกอบด้วย บทสรุป ปัญหาและแนวทางการแก้ไข สำหรับฝ่ายเทคนิค และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้    




  1. สมรรถนะย่อย 30104.01  ทดสอบความสามารถในการทำงานของผลิตภัณฑ์  ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

  2. มรรถนะย่อย 30104.02 ทดสอบความถูกต้องในการทำงานตามฟังก์ชันที่ออกแบบ  ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

  3. สมรรถนะย่อย 30104.03 ทดสอบความถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ