หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ระบบเบื้องต้นด้วย UML Modeling

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-GVCW-041B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ระบบเบื้องต้นด้วย UML Modeling

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบสถาปัตยกรรมด้านซอฟต์แวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถอ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ เขียนแผนภาพตามมาตรฐาน UML เช่น Use Case Diagram, Class Diagram และ Sequence Diagram และตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนแผนภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร2166 นักออกแบบกราฟิกและสื่อผสม2356 ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์2513 นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม2514 โปรแกรมเมอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
12103.01 อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ 1.1 อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ 12103.01.01 119120
12103.01 อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ 1.2 ตีความหมายของความต้องการทางธุรกิจ 12103.01.02 119121
12103.01 อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ 1.3 รวบรวมข้อมูลตรงกับความต้องการทางธุรกิจ 12103.01.03 119122
12103.01 อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ 1.4 แปลงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของไดอะแกรม 12103.01.04 119123
12103.02 เขียนแผนภาพตามมาตรฐาน UML เช่น Use Case Diagram 2.1 อ่านแบบไดอะแกรมตรงตามลำดับการทำงาน 12103.02.01 119124
12103.02 เขียนแผนภาพตามมาตรฐาน UML เช่น Use Case Diagram 2.2 เขียนแผนภาพตรงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของมาตรฐาน UML 12103.02.02 119125
12103.03 ตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนแผนภาพ 3.1 ตรวจสอบและแก้ไขแผนภาพตามมาตรฐาน UML ให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ 12103.03.01 119126
12103.03 ตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนแผนภาพ 3.2 ตรวจสอบลำดับการทำงานของข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ 12103.03.02 119127

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ

  2. ตีความหมายของความต้องการทางธุรกิจ

  3. รวบรวมข้อมูลตรงกับความต้องการทางธุรกิจ

  4. แปลงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของไดอะแกรม

  5. อ่านแบบไดอะแกรมตรงตามลำดับการทำงาน

  6. เขียนแผนภาพตรงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของมาตรฐาน UML

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ

  2. ความรู้เกี่ยวกับการตีความหมายของความต้องการทางธุรกิจ

  3. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลตรงกับความต้องการทางธุรกิจ

  4. ความรู้เกี่ยวกับการแปลงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของไดอะแกรม

  5. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบไดอะแกรมตรงตามลำดับการทำงาน

  6. ความรู้เกี่ยวกับการทบทวนและแก้ไขแบบไดอะแกรม

  7. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนภาพตรงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของมาตรฐาน UML

  8. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบแผนภาพตามมาตรฐาน UML ให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ

  9. ความรู้เกี่ยวกับการทบทวนและแก้ไขเขียนแผนภาพตามมาตรฐาน UML


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    1. ผลจากการสอบข้อเขียน



                    2. ผลจากการสัมภาษณ์



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



                    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



                    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



                    1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



                    2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง ผลการแปลงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของไดอะแกรม แผนภาพที่เขียนขึ้นตามมาตรฐาน UML และลำดับการทำงานของข้อมูล



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. จากการอ่าน วิเคราะห์ และตีความผลการแปลงความต้องการทางธุรกิจออกมาในรูปแบบของไดอะแกรม เช่น UML



                    2. แผนภาพ UML ที่เขียนขึ้นตามมาตรฐาน UML มีความสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ  เช่น Use Case Diagram โดยใช้ UML tools ที่มีอยู่ในการจัดทำ



                    3. ลำดับการทำงานของข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจ มีการแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 12103.01 อ่านผลการวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจ ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  2. สมรรถนะย่อย 12103.02 เขียนแผนภาพตามมาตรฐาน UML เช่น Use Case Diagram, Class  Diagram และ Sequence Diagram ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  3. สมรรถนะย่อย 12103.03 ตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนแผนภาพ ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ