หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจในการพัฒนา Software Applications บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-WBPM-040B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจในการพัฒนา Software Applications บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบสถาปัตยกรรมด้านซอฟต์แวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ วิเคราะห์และเลือกเครื่องมือให้ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจบน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร2166 นักออกแบบกราฟิกและสื่อผสม2356 ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์2513 นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม2514 โปรแกรมเมอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
12102.01 วิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ 1.1 วิเคราะห์ความหมายลำดับขั้นของงานแต่ละรูปแบบในเชิงธุรกิจ 12102.01.01 119109
12102.01 วิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ 1.2 จำแนกรูปแบบตรงตามความต้องการของธุรกิจ 12102.01.02 119110
12102.01 วิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ 1.3 สรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.01.03 119111
12102.02 เลือกเครื่องมือให้ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจบน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2.1 วิเคราะห์รูปแบบของเครื่องมือที่ใช้กับธุรกิจ 12102.02.01 119112
12102.02 เลือกเครื่องมือให้ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจบน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2.2 วิเคราะห์เครื่องมือที่ตรงกับความต้องการของรูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.02.02 119113
12102.02 เลือกเครื่องมือให้ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจบน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2.3 เลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับรูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.02.03 119114
12102.03 สรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3.1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.03.01 119115
12102.03 สรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3.2 สรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.03.02 119116
12102.04 นำเสนอผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 4.1 สรุปจุดเด่น จุดด้อยของรูปแบบและเครื่องมือที่ตรงกับรูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.04.01 119117
12102.04 นำเสนอผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 4.2 เลือกใช้เครื่องมือที่ตรงกับรูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.04.02 119118
12102.04 นำเสนอผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 4.3 นำเสนอรูปแบบและเครื่องมือตรงความต้องการกับรูปแบบเชิงธุรกิจ 12102.04.03 119119

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. วิเคราะห์ความหมายลำดับขั้นของงานแต่ละรูปแบบในเชิงธุรกิจ

  2. นำเสนอสรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ

  3. วิเคราะห์รูปแบบของเครื่องมือที่ใช้กับธุรกิจ

  4. ใช้เครื่องมือให้สอดคล้องกับความต้องการของรูปแบบเชิงธุรกิจ

  5. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบเชิงธุรกิจ

  6. นำเสนอสรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ

  7. นำเสนอรูปแบบและเครื่องมือตรงความต้องการกับรูปแบบเชิงธุรกิจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับความหมายลำดับขั้นของงานแต่ละรูปแบบในเชิงธุรกิจ

  2. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกรูปแบบตรงตามความต้องการของธุรกิจ

  3. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ

  4. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบของเครื่องมือที่ใช้กับธุรกิจ

  5. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เครื่องมือที่ตรงกับความต้องการของรูปแบบเชิงธุรกิจ

  6. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับรูปแบบเชิงธุรกิจ

  7. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบเชิงธุรกิจ

  8. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ

  9. ความรู้เกี่ยวกับการสรุปจุดเด่น จุดด้อยของรูปแบบและเครื่องมือที่ตรงกับรูปแบบเชิงธุรกิจ

  10. ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายเครื่องมือที่ตรงกับรูปแบบเชิงธุรกิจ

  11. ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอรูปแบบและเครื่องมือตรงความต้องการกับรูปแบบเชิงธุรกิจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    1. ผลจากการสอบข้อเขียน



                    2. ผลจากการสัมภาษณ์



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



                    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



                    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



                    1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



                    2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง ลำดับขั้นของงาน รูปแบบความต้องการของธุรกิจ ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ การเลือกเครื่องมือ ตรงกับความต้องการกับรูปแบบทางธุรกิจ



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. ลำดับขั้นของงานแต่ละรูปแบบในเชิงธุรกิจเห็นลำดับขั้นตอนกระบวนการของงานอย่างชัดเจนแสดงในรูปแบบของรายงาน หรือมีแผนภาพประกอบพร้อมคำอธิบาย



                    2. รูปแบบความต้องการของธุรกิจสอดคล้องกับขอบเขตของรูปแบบธุรกิจ สามารถนำไปกำหนดขอบเขตงาน และรูปแบบเครื่องมือ



                    3. ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจ เป็นส่วนที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของงาน เพื่อให้กระบวนการทำงานสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ



                    4. รูปแบบของเครื่องมือ จะต้องตรงกับความต้องการกับขอบเขตของธุรกิจ



                    5. เลือกเครื่องมือตรงกับรูปแบบทางธุรกิจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 12102.01 เลือกเครื่องมือให้ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจบน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  2. สมรรถนะย่อย 12102.02 เลือกเครื่องมือให้ตรงกับรูปแบบทางธุรกิจบน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  3. สมรรถนะย่อย 12102.03 สรุปผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  4. สมรรถนะย่อย 12102.04 นำเสนอผลการวิเคราะห์รูปแบบเชิงธุรกิจบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ