หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ข้อผิดพลาดซอฟต์แวร์เพื่ออินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-NTOD-057B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อผิดพลาดซอฟต์แวร์เพื่ออินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒาซอฟต์แวร์เพื่ออินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่มีสามารถ จัดทำแผนการตรวจสอบการผลิตโปรแกรมตรวจสอบแผนการตรวจสอบการผลิตโปรแกรมตรวจสอบลำดับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมตามแผนตรวจสอบเวลาการพัฒนาโปรแกรมและ บันทึกผลการตรวจสอบการผลิตโปรแกรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2166 นักออกแบบกราฟิกและสื่อผสม2356 ผู้ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ2512 นักพัฒนาซอฟต์แวร์2513 นักพัฒนาเว็บไซต์และสื่อผสม2514 โปรแกรมเมอร์2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
12312.01 หาจุดผิดพลาดตามบันทึกข้อผิดพลาด 1.1 ระบุตำแหน่งจุดที่มีข้อผิดพลาด 12312.01.01 119265
12312.01 หาจุดผิดพลาดตามบันทึกข้อผิดพลาด 1.2 ระบุสาเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น 12312.01.02 119266
12312.01 หาจุดผิดพลาดตามบันทึกข้อผิดพลาด 1.3 ระบุผลกระทบจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมย่อย 12312.01.03 119267
12312.01 หาจุดผิดพลาดตามบันทึกข้อผิดพลาด 1.4 เสนอหรือแนะนำวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดในแต่ละจุด 12312.01.04 119268
12312.02 แก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม 2.1 แก้ไขจุดผิดพลาดตามที่มีการระบุตำแหน่งไว้แล้ว 12312.02.01 119269
12312.02 แก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม 2.2 ระบุวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น 12312.02.02 119270
12312.03 ทดสอบการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม 3.1 การกำหนดแผนการทดสอบโปรแกรมย่อยหลังรับการแก้ไขจุดผิดพลาดแล้ว 12312.03.01 119271
12312.03 ทดสอบการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม 3.2 แผนการทดสอบโปรแกรมย่อยต้องเป็นไปตามลำดับการทำงานของโปรแกรม 12312.03.02 119272

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. สังเกตและเทคนิคในการหาจุดผิดพลาด

  2. อ่านและแก้ไขการทำงานของโปรแกรมย่อย

  3. อธิบายถึงสาเหตุของข้อผิดพลาด

  4. เสนอแนะวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาด

  5. แก้ไขจุดผิดพลาดตามที่มีการระบุตำแหน่งไว้แล้ว

  6. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม

  7. ค้นหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม

  8. เขียนผลการทดสอบโปรแกรมย่อย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมย่อย

  2. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานโปรแกรมย่อย

  3. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อผิดพลาดของโปรแกรมย่อย

  4. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

  5. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการเขียนโปรแกรม

  6. ความรู้เกี่ยวกับข้อผิดพลาดของโปรแกรม

  7. ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการแก้โปรแกรม

  8. ความรู้เกี่ยวกับการอ่าน work flow เพื่อเข้าใจในการทำงานของโปรแกรมนั้น

  9. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของโปรแกรม

  10. ความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนผลการทดสอบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



                    1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



          (ก) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                    1. ผลจากการสอบข้อเขียน



                    2. ผลจากการสัมภาษณ์



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



                    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



                    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



                    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



                    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



                    1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



                    2. ผู้ประเมินทำประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



                    ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง ตำแหน่งจุดผิดพลาดต้องเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมย่อย  สาเหตุของข้อผิดพลาดและผลกระทบต่อเนื่อง แก้ไขจุดผิดพลาดตามที่มีการระบุตำแหน่งไว้แล้วและที่ยังไม่ระบุไว้ การทดสอบโปรแกรมย่อย และแผนการทดสอบโปรแกรมย่อย



          (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                    1. ตำแหน่งจุดผิดพลาดต้องเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมย่อยที่ถูกทดสอบ



                    2. สาเหตุของข้อผิดพลาดและผลกระทบต่อเนื่องสามารถมีมากกว่าหนึ่งข้อต่อหนึ่งจุดผิดพลาด



                    3. แก้ไขจุดผิดพลาดตามที่มีการระบุตำแหน่งไว้แล้วและที่ยังไม่ระบุไว้แต่มีผลกระทบต่อเนื่องกันภายในโปรแกรมที่ถูกทดสอบ



                    4. ทดสอบโปรแกรมย่อยที่รับการแก้ไขแล้วตามลำดับการทำงานของโปรแกรม



                    5. แผนการทดสอบโปรแกรมย่อยต้องเป็นไปตามลำดับการทำงานของโปรแกรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้




  1. สมรรถนะย่อย 12312.01 หาจุดผิดพลาดตามบันทึกข้อผิดพลาด ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  2. สมรรถนะย่อย 12312.02 แก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์

  3. สมรรถนะย่อย 12312.03 ทดสอบการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม ให้ทำการทดสอบโดยใช้การสอบข้อเขียนและแบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ