หน่วยสมรรถนะ
Composite สำหรับงานแอนิเมชัน 3 มิติ
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-VBQV-216B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | Composite สำหรับงานแอนิเมชัน 3 มิติ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพ Compositor สำหรับงานแอนิเมชัน 3 มิติ (3D Animation Compositor) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้ที่สามารถซ้อนและประกอบองค์ประกอบด้านภาพเข้าด้วยกันเพื่องานแอนิเมชัน มีความเข้าใจในการ Composite ตามหลัก 3D Compositing โดยให้มีความกลมกลืนถูกต้องตามหลักการของแสงและสี โดยใช้ส่วนประกอบจาก Render Pass ชนิดต่าง ๆ ภาพวาดต่อเติม (Matt Paint) ภาพเทคนิคพิเศษ (Effects) และภาพประกอบทั้ง Raster และ Vector รวมถึงการตัดภาพส่วนที่ไม่ต้องการออก (Masking), การตกแต่ง-ตัดต่อภาพและเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ เข้าไปในภาพ (Clean Up/Retouch) การปรับแต่ง สี/แสงของภาพ และการสร้างการติดตามภาพทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ (2D/3D Tracking) และการสร้างการเคลื่อนไหวของภาพเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสมตามภาพต้นแบบ (Key Visual) ของงานแอนิเมชัน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2651 นักทัศนศิลป์2659 ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและศิลปินการแสดง ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น3435 ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50302.01 เตรียมการ Composite | 1.1 ทำความเข้าใจความต้องการทางด้านเทคนิคของงาน | 50302.01.01 | 119357 |
50302.01 เตรียมการ Composite | 1.2 ตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบภาพต่าง ๆ ของงานแอนิเมชันให้ตรงตามความต้องการทางเทคนิค | 50302.01.02 | 119358 |
50302.02 ดำเนินการ Composite | 2.1 ดำเนินการ Composite โดยใช้ส่วนประกอบจาก Render Pass ชนิดต่าง ๆ ให้ได้ตามภาพต้นแบบ (Key Visual) | 50302.02.01 | 119359 |
50302.02 ดำเนินการ Composite | 2.2 ดำเนินการ Composite โดยใช้ภาพประกอบอื่น ๆ Keyframe และการสร้างการติดตามภาพ (Tracking) องค์ประกอบภาพพิเศษ (Effect), ตัดภาพส่วนที่ไม่ต้องการออก (Masking), ตกแต่ง-ตัดต่อภาพ และเพิ่มเติมส่วนต่าง ๆ เข้าไปในภาพ (Clean Up/Retouch) ให้ได้ตามภาพต้นแบบ (Key Visual) | 50302.02.02 | 119360 |
50302.02 ดำเนินการ Composite | 2.3 การปรับองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกันตามหลักทัศนศิลป์ | 50302.02.03 | 119361 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. การใช้งานโปรแกรมจัดการภาพ 2 มิติ ทั้งแบบ Rasterize และ Vector 2. ความเข้าใจในการจัดองค์ประกอบภาพขั้นพื้นฐาน |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการจัดองค์ประกอบภาพ ในสัดส่วน 2 มิติและ 3 มิติ 2. ทักษะการจัดองค์ประกอบภาพ โดยใช้ Light/Color Depth 3. ทักษะการซ้อนและประกอบภาพ โดยใช้ Color Mode 4. ทักษะการปรับสีและน้ำหนักแสงของภาพ (Color Correction) 5. ทักษะการจัดการกับ Keyframe ในรูปแบบต่างๆ 6. ทักษะการตัดภาพส่วนที่ไม่ต้องการออก (Masking) 7. ทักษะการตกแต่ง/ตัดต่อภาพ และเพิ่มส่วนต่างๆ เข้าไปในภาพ (Clean Up/Retouch) 8. ทักษะการสร้างการติดตามภาพทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ (2D/3D Tracking) 9. ทักษะการใช้ Camera lens ในส่วนของการสร้าง ระยะ (Distance), มุมมอง (Perspective) และ ความชัดลึก (Depth of Field) 10. ทักษะการใช้ อุณหภูมิแสง (Light Temperature), ทิศทางแสง (Light Direction) และเงา (Shadow) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม Composite 2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการและใช้งาน Render Pass ชนิดต่าง ๆ 3. ความรู้เรื่อง Color Scope 4. ความรู้เรื่อง Gamma, White/Black Point 5. ความรู้เกี่ยวการใช้งานข้าม โปรแกรมส่วนที่เกี่ยวข้องในการเตรียมองค์ประกอบ เช่น โปรแกรม 3 มิติ, โปรแกรมตกแต่งภาพ ทั้งแบบ Rasterize และ Vector |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ผลจากการทอสอบปฏิบัติ 2. แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลจากการทดสอบข้อเขียน 2. ผลจากสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ 2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้แบบทดสอบปฏิบัติ และแฟ้มสะสมงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน ให้คำนึงถึงทักษะในการ Composite สำหรับงานแอนิเมชัน 3 มิติ ด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการ Composite ได้แก่ Nuke, After Effect, Blackmagic Fusion, Blender โปรแกรมสำหรับสร้างภาพ Adobe Photoshop, Gimp, Paint Tool SAI, Adode Illusstrator, Sketch, Inkscape เป็นพื้นฐาน เพื่อรองรับการใช้งานในโปรแกรมอื่นที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การตรวจสอบ หมายถึง 2. การ Composite โดยใช้ภาพประกอบอื่น ๆ เน้นการตกแต่ง-ตัดต่อ, ปรับแต่ง สี/แสงของภาพ ให้ได้ตามภาพต้นแบบ (Key Visual) 3. การ Composite โดยใช้ Keyframe และการสร้างการติดตามภาพ (Tracking) เพื่อซ้อนและประกอบภาพให้เคลื่อนไหว |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 1. สมรรถนะย่อย 50302.01 วางแผน Composite ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน 2. สมรรถนะย่อย 50302.02 ดำเนินการ Composite ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน
|