หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการผลิตด้านแอนิเมชัน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-GKFE-207B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการผลิตด้านแอนิเมชัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักบริหารโครงการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถกำหนดรูปแบบการทำงาน (Style) และกำหนดบุคลากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
1212 ผู้จัดการด้านทรัพยากรบุคคล  1213 ผู้จัดการด้านนโยบายและแผน, 1321 ผู้จัดการด้านการผลิต 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50203.01 กำหนดรูปแบบการทำงาน (Style) 1.1 วิเคราะห์กระบวนการ การทำงาน ของการสร้างแอนิเมชัน 50203.01.01 119307
50203.01 กำหนดรูปแบบการทำงาน (Style) 1.2 กำหนดขั้นตอนการทำงาน 50203.01.02 119308
50203.01 กำหนดรูปแบบการทำงาน (Style) 1.3 ตรวจสอบขั้นตอนการทำงาน 50203.01.03 119309
50203.02 กำหนดบุคลากร 2.1 วางแผนการกำหนดบุคลากรในสายงาน 50203.02.01 119310
50203.02 กำหนดบุคลากร 2.2 จัดบุคลากรตามสายงาน 50203.02.02 119311
50203.02 กำหนดบุคลากร 2.3 ตรวจสอบความเหมาะสมของบุคลากรตามสายงาน 50203.02.03 119312

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการผลสรุปการวิเคราะห์ของรูปแบบการทำงาน



2. ความสามารถในการทำแผนผังการปฏิบัติงานของบุคลากรตามสายงาน



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานโครงการ



2. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานโครงการ 



3. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



          2. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบข้อเขียน



          2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง 



(ง) วิธีการประเมิน



          1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์



          2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้แบบทดสอบปฏิบัติ และแฟ้มสะสมงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. วิเคราะห์กระบวนการทำงาน ได้แก่ การไหลของงาน ระยะเวลา บุคลากร



          2. ขั้นตอนการทำงานได้แก่ ระบุลำดับงาน ระบุระยะเวลา ระบุตำแหน่งงาน



          3. ตรวจสอบการไหลของงาน ความเหมาะสมของเวลาตามปริมาณงาน และความเหมาะสมของบุคลากร



          4. วางแผนบุคลากรได้แก่ ลักษณะของงาน ปริมาณงาน ความรู้ความสามารถของบุคลากร



          5. การจัดบุคลากรได้แก่ ความรู้ความสามารถ



          6. การตรวจสอบบุคลากร ได้แก่ ความรู้ความสามารถตรงตามสายงาน ประวัติการทำงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้



          1. สมรรถนะย่อย 50203.01 กำหนดรูปแบบการทำงาน (Style) ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน



          2. สมรรถนะย่อย 50203.02 กำหนดบุคลากร ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน



 


ยินดีต้อนรับ