หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินคุณภาพงานแอนิเมชัน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-CITB-218B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินคุณภาพงานแอนิเมชัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          นัก Concept/Visual Artist, นักแอนิเมเตอร์ 3 มิติ, นักสร้างโมเดล 3 มิติ, นัก Compositor 3 มิติ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถประเมินคุณภาพของผลงานแอนิเมชันเพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพงานให้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2651 นักทัศนศิลป์2659 ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและศิลปินการแสดง ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น3435 ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50304.01 ประเมินคุณภาพผลงานด้านแอนิเมชัน 1.1 วิเคราะห์องค์ประกอบของผลงานแอนิเมชัน 50304.01.01 119366
50304.01 ประเมินคุณภาพผลงานด้านแอนิเมชัน 1.2 ประเมินคุณภาพของผลงานแอนิเมชัน 50304.01.02 119367
50304.02 สรุปผลการประเมิน 2.1 สรุปผลการประเมินคุณภาพของงานแอนิเมชัน 50304.02.01 119368
50304.02 สรุปผลการประเมิน 2.2 ให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน 50304.02.02 119369

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวิเคราะห์ผลงานแอนิเมชัน



2. ทักษะการใช้เทคนิคในการสร้างผลงานแอนิเมชัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาแอนิเมชัน



2. ความรู้เกี่ยวกับภาพและเสียง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)   



          1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบข้อเขียน



          2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์



          2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้แบบทดสอบปฏิบัติ และแฟ้มสะสมงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ไม่มี 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          ผลงานที่ประเมินเป็นผลงานด้านแอนิเมชันที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมแอนิเมชัน เช่น สมาคม หน่วยงานระดับชาติ หรือนานาชาติ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้



          1. สมรรถนะย่อย 50304.01 ประเมินคุณภาพผลงานด้านแอนิเมชัน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน



          2. สมรรถนะย่อย 50304.02 สรุปผลการประเมิน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ