หน่วยสมรรถนะ
สร้างโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติสำหรับงานแอนิเมชัน
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-QHKD-212B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | สร้างโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติสำหรับงานแอนิเมชัน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักสร้างโมเดล 3 มิติ (3D Modeler) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลผู้สามารถสร้างโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติ เพื่องานแอนิเมชัน มีความเข้าใจในโครงสร้างฉากและอุปกรณ์ 3 มิติ สามารถสร้างโมเดล 3 มิติ จากรูปภาพได้ตรงตามต้นแบบ สามารถสร้างอุปกรณ์ (Asset) และจัดเรียงโครงสร้างของฉากและอุปกรณ์ 3 มิติ (Topology) ให้มีความเหมาะสมเพื่องานแอนิเมชัน สามารถสร้างฉากและอุปกรณ์แบบฮาร์ดเซอเฟส (Hard Surface Modeling) ได้แก่ ตึกอาคาร เครื่องเรือน อุปกรณ์ประกอบฉาก ความสามารถในการกำหนด UV Map และสร้างพื้นผิวให้กับโมเดลฉากและอุปกรณ์ (Environment Texturing) |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2166 นักออกแบบภาพกราฟิกและสื่อผสม2651 นักทัศนศิลป์2659 ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและศิลปินการแสดง ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น3435 ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50209.01 สร้างโมเดลฉาก 3 มิติ (3D Background) | 1.1 สร้างโมเดลฉาก 3 มิติ | 50209.01.01 | 119335 |
50209.01 สร้างโมเดลฉาก 3 มิติ (3D Background) | 1.2 สามารถจัดวางตำแหน่งของฉาก (3D Layout) เพื่องานแอนิเมชัน | 50209.01.02 | 119336 |
50209.02 สร้างโมเดลอุปกรณ์ 3 มิติ (3D Asset) | 2.1 สร้างโมเดลอุปกรณ์ 3 มิติ | 50209.02.01 | 119337 |
50209.02 สร้างโมเดลอุปกรณ์ 3 มิติ (3D Asset) | 2.2 สามารถสร้างอุปกรณ์ (Asset) | 50209.02.02 | 119338 |
50209.02 สร้างโมเดลอุปกรณ์ 3 มิติ (3D Asset) | 2.3 จัดเรียงโครงสร้างของอุปกรณ์ 3 มิติ (Topology) เพื่องานแอนิเมชัน | 50209.02.03 | 119339 |
50209.03 สร้างพื้นผิวสำหรับโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติ (Environment Texturing) | 3.1 กำหนด UV Map | 50209.03.01 | 119340 |
50209.03 สร้างพื้นผิวสำหรับโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติ (Environment Texturing) | 3.2 สร้างพื้นผิวให้กับฉากและอุปกรณ์ (Environment Texturing) | 50209.03.02 | 119341 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการสร้างโมเดล 3 มิติ 2. ทักษะการจัดวางตำแหน่ง Layout 3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและโจทย์ที่ได้รับ 4. ทักษะการจัดเรียง Topology 5. ทักษะการกำหนด UV Map 6. ทักษะการสร้างพื้นผิว Texturing 7. ทักษะการสร้างฉาก Environment 8. ทักษะการสร้างอุปกรณ์ Asset (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมสร้างโมเดล 3 มิติ 2. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างโมเดล 3 มิติ 3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดวาง Layout 4. ความรู้เกี่ยวกับ Topology 5. ความรู้เกี่ยวกับ UV Map 6. ความรู้เกี่ยวกับพื้นผิว Texture 7. ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ 8. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างฉาก 9. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างอุปกรณ์ Asset |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ผลจากการทดสอบ 2. แฟ้มสะสมงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลจากการทดสอบ 2. ผลจากสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่านและให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ และแฟ้มสะสมงาน 2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ ผลจากการสัมภาษณ์ ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. ในการปฏิบัติงาน ให้คำนึงถึงทักษะการสร้างโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติเพื่องานแอนิเมชันด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานสร้างโมเดล 3 มิติ ได้แก่ Autodesk 3ds Max, Autodesk Maya, Z-Brush, Blender โปรแกรมสำหรับการสร้างภาพและพื้นผิว Substance Painter , Photoshop , GIMP , Paint tool SAI เป็นพื้นฐาน เพื่อรองรับความเชี่ยวชาญในโปรแกรมที่หลากหลาย (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. โมเดล 3 มิติ (3D Model) หมายถึง รูปทรงที่ถูกสร้างขึ้นโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงผลให้เห็นใน 3 ระนาบคือ กว้าง ยาว สูง แสะสามารถมองเห็นได้รอบด้าน 360 องศา รวมทั้งสามารถปรับแต่งแก้ไขรูปทรงในลักษณะเหมือนกับงานปั้นได้ โดยโมเดล 3 มิติ แบ่งประเภทตามลักษณะโครงสร้างได้ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1.1 NURBS (Non-uniform rational B-spline) หมายถึง มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นเส้นโค้งที่ไม่ตายตัวสานต่อโยงกันทำให้เกิดพื้นผิวระหว่างเส้นโค้งเหล่านี้ เหมาะกับการใช้สร้างโมเดลที่เป็นตัวละครหรือสิ่งที่มีลักษณะโค้ง 1.2 Polygon หมายถึง มีโครงสร้างเป็นรูปทรงเรขาคณิต คือรูปทรงเหลี่ยมต่างๆ ที่เป็นแผ่น (Mesh) ประกอบเรียงกันจนเป็นวัตถุที่ซับซ้อนขึ้น เป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมในการสร้างโมเดล 3 มิติ 2. โมเดลแบบฮาร์ดเซอเฟส (Hard Surface Modeling) หมายถึง โมเดลที่มีลักษณะเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ข้อกำหนดคือเป็นสิ่งของที่ไม่เปลี่ยนรูปทรง ได้แก่ อาคาร บ้าน รถยนต์ อุปกรณ์ในชีวิตประจำวัน ที่มีรูปทรงเป็นของแข็งไม่เปลี่ยนรูปร่าง 3. การจัดวาง (Layout) หมายถึง วางจัดวางภาพและตำแหน่งขององค์ประกอบทั้งหมด ที่นำไปสู่สายตาของผู้รับชม อันประกอบด้วยการออกแบบมุมกล้อง การจัดวางฉาก การจัดเรียงอุปกรณ์ในฉาก มุมมองของภาพ ความตื้นลึก องค์ประกอบภาพ 4. อุปกรณ์ (Asset) หมายถึง โมเดล 3 มิติ ที่มีลักษณะเป็นวัตถุหรืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทำงาน จัดวางฉาก 3 มิติ อุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีขนาดของไฟล์ที่เหมาะสม ปริมาณของ Polygon ที่เหมาะสม สามารถนำไปจัดวาง เพิ่มชิ้นส่วน ปรับรูปร่าง แก้ไข ในโปรแกรมสร้างโมเดล 3 มิติได้ต่อไป 5. ฉาก (Environment) หมายถึง สิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ในที่นี้หมายถึงฉากและอุปกรณ์ที่ปรากฏในโปรแกรมสร้างโมเดล 3 มิติ 6. UV Map หมายถึง กระบวนการสร้างแบบจำลอง 3 มิติโดยใช้แกน 2 มิติ (แกน U และ V) เข้าหาข้อมูล 3 มิติ (แกน X Y และ Z) ตามระบบพิกัดคาร์ทีเซียน กล่าวคือการกำหนดพื้นที่บนโมเดล 3 มิติ สำหรับใช้จัดวางภาพ 2 มิติลงไป มักใช้ในกรณีการเตรียมใส่พื้นผิว (Texture) หรือลงสีให้กับโมเดล 7. Topology หมายถึง โครงสร้างของโมเดล 3 มิติ อันเกิดจากการเรียงตัวของเส้น Polygon ความละเอียดของโมเดลสัมพันธ์กับปริมาณ Polygon จำนวนสูง อาจทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่และไม่สามารถนำไปใช้จริงในงานแอนิเมชันได้ โดยในงานแอนิเมชัน จำนวน Polygon จำเป็นต้องมีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อรองรับการทำงานแอนิเมชันต่อไป การจัดเรียง Topology ที่ดี จะทำให้โมเดลมีขนาดเล็กลงและยังคงไว้ซึ่งคุณภาพ รองรับการเคลื่อนไหวของโมเดลในงานแอนิเมชัน 8. พื้นผิว (Texture) หมายถึง พื้นผิวบนโมเดล 3 มิติ ที่แสดงให้เห็นถึง สีสัน พื้นผิว ความเรียบ ความขรุขระ ลักษณะการสะท้อนแสง อันเป็นพื้นผิวที่ปรากฏอยู่บนโมเดล 3 มิติ เกิดจากการใช้ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพจำลอง ควบคู่กับการกำหนดค่าในโปรแกรมสร้างงาน 3 มิติ หรือ UV Mapping เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของพื้นผิวตรงตามลักษณะของโมเดลที่ต้องการ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 1. สมรรถนะย่อย 50209.01 สร้างโมเดลฉาก 3 มิติ (3D Background) ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน 2. สมรรถนะย่อย 50209.02 สร้างโมเดลอุปกรณ์ 3 มิติ (3D Asset) ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน 3. สมรรถนะย่อย 50209.03 สร้างพื้นผิวสำหรับโมเดลฉากและอุปกรณ์ 3 มิติ (Environment Texturing) ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน |