หน่วยสมรรถนะ
ประเมินคุณภาพงานแอนิเมชัน
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-CITB-218B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินคุณภาพงานแอนิเมชัน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
นัก Concept/Visual Artist, นักแอนิเมเตอร์ 3 มิติ, นักสร้างโมเดล 3 มิติ, นัก Compositor 3 มิติ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้ที่สามารถประเมินคุณภาพของผลงานแอนิเมชันเพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพงานให้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมาย |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
2651 นักทัศนศิลป์2659 ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและศิลปินการแสดง ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น3435 ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50304.01 ประเมินคุณภาพผลงานด้านแอนิเมชัน | 1.1 วิเคราะห์องค์ประกอบของผลงานแอนิเมชัน | 50304.01.01 | 119366 |
50304.01 ประเมินคุณภาพผลงานด้านแอนิเมชัน | 1.2 ประเมินคุณภาพของผลงานแอนิเมชัน | 50304.01.02 | 119367 |
50304.02 สรุปผลการประเมิน | 2.1 สรุปผลการประเมินคุณภาพของงานแอนิเมชัน | 50304.02.01 | 119368 |
50304.02 สรุปผลการประเมิน | 2.2 ให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน | 50304.02.02 | 119369 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการวิเคราะห์ผลงานแอนิเมชัน 2. ทักษะการใช้เทคนิคในการสร้างผลงานแอนิเมชัน (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เนื้อหาแอนิเมชัน 2. ความรู้เกี่ยวกับภาพและเสียง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลจากการทดสอบข้อเขียน 2. ผลจากสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์ 2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้แบบทดสอบปฏิบัติ และแฟ้มสะสมงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ไม่มี (ข) คำอธิบายรายละเอียด ผลงานที่ประเมินเป็นผลงานด้านแอนิเมชันที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมแอนิเมชัน เช่น สมาคม หน่วยงานระดับชาติ หรือนานาชาติ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 1. สมรรถนะย่อย 50304.01 ประเมินคุณภาพผลงานด้านแอนิเมชัน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน 2. สมรรถนะย่อย 50304.02 สรุปผลการประเมิน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน |