หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างภาพ เคลื่อนไหว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-SJLH-215B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างภาพ เคลื่อนไหว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักแอนิเมเตอร์ 3 มิติ (3D Animator)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Key Frame  สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Inbetween (IB)  Cleanup และตรวจสอบแก้ไขภาพเคลื่อนไหว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2651 นักทัศนศิลป์2659 ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและศิลปินการแสดง ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น3435 ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องกับด้านศิลปะ วัฒนธรรม ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50301.01 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Key Frame 1.1 รวบรวมองค์ประกอบการสร้าง Keyframe 50301.01.01 119351
50301.01 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Key Frame 1.2 ออกแบบการสร้าง Keyframe ให้กับตัวละครตาม Storyboard 50301.01.02 119352
50301.01 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Key Frame 1.3 กำหนดท่าทาง (Keyframe) 50301.01.03 119353
50301.02 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Inbetween (IB) 2.1 รวบรวมองค์ประกอบการเคลื่อนไหวของตัวละคร 50301.02.01 119354
50301.02 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Inbetween (IB) 2.2 กำหนดลำดับการเคลื่อนไหวระหว่าง Key frame ให้กับตัวละคร (Inbetween) 50301.02.02 119355
50301.02 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Inbetween (IB) 2.3 ตรวจสอบ แก้ไข การลำดับภาพ 50301.02.03 119356

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการวางแผนการสร้าง Key frame ให้กับตัวละครตาม Storyboard หรือ Animatic



2. ความสามารถในการกำหนดท่าทาง (Key frame) ตาม Storyboard หรือ Animatic



3. ความสามารถในการตรวจสอบท่าทาง (Key frame) ตาม Storyboard หรือ Animatic



4. ความสามรถในการทำภาพเคลื่อนไหวแบบ Key frame



5. ความสามารถในการวางแผนลำดับภาพเคลื่อนไหว (Inbetween)



6. ความสามารถในการตรวจสอบ แก้ไข การลำดับภาพเคลื่อนไหว(Inbetween)



7. ความสามารถในการทำผลงานการลำดับภาพเคลื่อนไหว(Inbetween) ตาม Key frame



8. ความสามารถในการตรวจสอบจุดบกพร่องและจุดผิดพลาดของภาพเคลื่อนไหว



9. ความสามารถในการแก้ไขจุดบกพร่องและจุดผิดพลาดในภาพเคลื่อนไหว



10. ความสามารถในการทำผลงานภาพเคลื่อนไหวหลังจากแก้ไขจุดบกพร่องและจุดผิดพลาด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีภาพเคลื่อนไหว (principle of animation)



2. ความรู้เกี่ยวกับการทำภาพเคลื่อนไหว (Key pose, Inbetween)



3. ความรู้เกี่ยวกับการลำดับภาพ



4. ความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยา



5. ความรู้เกี่ยวกับงาน Production ในการทำภาพเคลื่อนไหว



6. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบปฏิบัติ



          2. แฟ้มสะสมงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบข้อเขียน



          2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง 



(ง) วิธีการประเมิน



          1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์



          2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้แบบทดสอบปฏิบัติ และแฟ้มสะสมงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการใช้โปรแกรมสำหรับการสร้างภาพและพื้นผิว Photoshop, GIMP, Paint tool SAI เป็นพื้นฐาน เพื่อรองรับความเชี่ยวชาญในโปรแกรมที่หลากหลาย 



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. วางแผนการสร้าง Key frame ได้แก่ วางแผนทำงานเกี่ยวกับวัตถุและตัวละครที่มีการเคลื่อนไหว กำหนดมุมกล้องการแสดงภาพเคลื่อนไหวและขนาดภาพ



          2. การสร้าง Key frame ได้แก่ กำหนดท่าทางสำหรับการแสดงหลักและรองการลำดับภาพในแต่ช่วงเวลาของแต่ละ Key ตาม Outline ของการแสดงที่วางไว้ใน Storyboard หรือ Animatic



          3. จุดตรวจสอบ ได้แก่ท่าทางการเคลื่อนไหวดูสมจริง สวยงาม ถูกต้องตามโจทย์ที่กำหนด



          4. วางแผนลำดับการเคลื่อนไหว(Key frame,Inbetween) ได้แก่ ความเข้าใจในการกำหนดท่วงท่าของตัวละครที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของ



          5. กำหนดการลำดับภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ การกำหนดท่วงท่าการเคลื่อนไหว การจับจังหวะการเคลื่อนไหว การกำหนดระยะเวลาในแต่ละการลำดับภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้



          1. สมรรถนะย่อย 50301.01 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Key Frame ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน



          2. สมรรถนะย่อย 50301.02 สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบ Inbetween (IB) ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์ พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน



 


ยินดีต้อนรับ