หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำงานร่วมกันระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Collaboration)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-WDP-4-004ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำงานร่วมกันระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Collaboration)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


105 ช่างเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน เช่น งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานไฟฟ้า งานประปา งานเครื่องกล โดยต้องมีจุดอ้างอิง (Reference Point) เดียวกัน และสามารถตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบในระดับหลัก และระดับรอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
105411 นำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน 1.1 สามารถสร้างจุด reference point ตามแบบได้ตามแผนการปฏิบัติการ เช่น จุด A1 อยู่ตำแหน่ง(0,0) 105411.01 118000
105411 นำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน 1.2 สามารถนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกันโดยอ้างอิงจุด reference point 105411.02 118001
105412 ตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบ 2.1 สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบข้อขัดแย้งของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 105412.01 118002
105412 ตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบ 2.2 สามารถสร้างรายงานข้อขัดแย้งของแบบจำลองสารสนเทศอาคารได้ตามแผนปฏิบัติการ 105412.02 118003
105412 ตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบ 2.3 แยกองค์ประกอบของแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อขัดแย้งได้ตามแผนปฏิบัติการ 105412.03 118004

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- สำเร็จการศึกษาระดับประโยควิชาชีพ หรือเทียบเท่า ประโยควิชาชีพชั้นสูงจนถึงระดับปริญญาตรี ในสาขาช่างเทคนิคการเขียนแบบ



- มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนภาพ 2 มิติ 3 มิติได้



- สามารถเข้าใจกระบวนการในการตรวจสอบข้อขัดแย้งของแต่ละโครงสร้าง


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- การเลือกและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนภาพ 2 มิติ 3 มิติได้



- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ และโปรแกรมงานเอกสารพื้นฐาน



- การใช้โปรแกรมสามมิติพื้นฐานได้



- การสร้างจุดอ้างอิง (Reference point)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ชนิดของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ



- หลักการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานเขียนแบบ



- หลักการตรวจสอบการข้อขัดแย้งของแต่ละโครงสร้าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ



- ผลการสอบปฏิบัติ เป็นชิ้นงานที่สำเร็จ เอกสารหรือไฟล์งาน



- ใบงานต่าง ๆ



- แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ



- ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือ



- ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



- แบบบันทึกประกอบการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



- การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2-3 ปี มีประสบการณ์ในใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร



- ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



- ทดสอบด้านความรู้



- ทดสอบด้านด้านทักษะ


15. ขอบเขต (Range Statement)


นำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน เช่น งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานไฟฟ้า งานประปา งานเครื่องกล โดยต้องมีจุดอ้างอิง (Reference Point) เดียวกัน และสามารถตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบในระดับหลัก และระดับรอง



 (ก) คำแนะนำ



- ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการตรวจสอบข้อขัดแย้งในแตะละระบบ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



- แบบก่อสร้าง หมายถึง แบบที่ใช้ในการสร้างบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นเพื่อขออนุญาตก่อสร้างจนสร้างบ้านเสร็จ ประกอบไปด้วย แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้างพร้อมรายการคำนวณ แบบวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง งานระบบประปาและสุขาภิบาล



- แบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับงานเขียนแบบสถาปัตยกรรม งานเขียนแบบไฟฟ้า งานเขียนแบบวิศวกรรมโครงสร้าง งานเขียนแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง เป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำ



- โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ในการเขียนแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ สามารถใช้คำสั่งในการเขียนองค์ประกอบอาคาร โดยมีข้อมูลที่จำเป็นประกอบในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เช่น Sketch Up, ArchiCAD, Autodesk Revit, Tekla



- แผนปฏิบัติการ (BIM Execution Plan) คือ การสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำนินการด้วยระบบ BIMโดยเสนอแนวทาง และข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้



- Reference point คือ จุดอ้างอิง ของตำแหน่งการสร้าง Grid และ Level ในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร



- ข้อขัดแย้งในแต่ละระบบ คือ การแสดงผลของระนาบวัตถุ 2 ด้านที่ห่างกัน, สัมผัสกัน, หรืออยู่ในตำแหน่งเดียวกัน



- โปรแกรมที่ใช้ในการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคารทุกระบบทั้งหมดมารวมกัน และตรวจสอบความขัดแย้งในโมเดลของแต่ละระบบในระดับหลัก และระดับรอง ได้แก่ Autodesk Navisworks, Solibri


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน ทำงานร่วมกันระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Collaboration)



     - ข้อสอบข้อเขียน



     - สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ