หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลือก กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-CFB-4-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลือก กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


211 ช่างงานดันท่อลอด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถเลือก กำหนดตำแหน่ง ป้องกันสิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดินตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
211411 จัดเตรียมประเภท กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน 1.1 ตรวจสอบเอกสารประกอบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน 211411.01 117754
211411 จัดเตรียมประเภท กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน 1.2 ตรวจสอบข้อกำหนดในการทำงาน 211411.02 117755
211411 จัดเตรียมประเภท กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน 1.3 จัดเตรียมป้าย สัญญาณจราจรที่จำเป็น 211411.03 117756
211411 จัดเตรียมประเภท กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน 1.4 เลือกและตรวจสอบข้อบกพร่องของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน 211411.04 117757
211411 จัดเตรียมประเภท กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน 1.5 ตรวจสอบข้อกำหนดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม 211411.05 117758
211411 จัดเตรียมประเภท กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน 1.6 กำหนดตำแหน่ง ทิศทาง ระดับและความเอียงของสิ่งอำนวยความสะดวกจากแผนงานและข้อกำหนด 211411.06 117759
211412 กำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน 2.1 ขอรับรายละเอียดของตำแหน่งที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่ตั้งจากโครงการ 211412.01 117760
211412 กำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน 2.2 ติดต่อเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อยืนยันแผนและรายละเอียดสถานที่ 211412.02 117761
211412 กำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน 2.3 เลือก เครื่องจักร อุปกรณ์ที่เหมาะสมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่การก่อสร้างอาจส่งผลกระทบ 211412.03 117762
211412 กำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน 2.4 ตรวจสอบสภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้าง 211412.04 117763
211412 กำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน 2.5 ย้าย หรือทำการป้องกันสิ่งอำนวยความสะดวกจากกระบวนการก่อสร้าง 211412.05 117764
211412 กำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน 2.6 รายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างที่ดำเนินการทำงาน 211412.06 117765
211413 ดูแลรักษาความเรียบร้อยของพื้นที่ทำงาน 3.1 ทำความสะอาดและบำรุงรักษาสภาพของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 211413.01 117766
211413 ดูแลรักษาความเรียบร้อยของพื้นที่ทำงาน 3.2 จัดการสิ่งที่เป็นอันตราย และรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปลอดภัย 211413.02 117767
211413 ดูแลรักษาความเรียบร้อยของพื้นที่ทำงาน 3.3 บันทึกและรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น 211413.03 117768

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการกำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สาธารณูปโภคใต้ดิน




- ทักษะในการ คาดการณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า




- ทักษะการตรวจสอบข้อบกพร่องของเครื่องมือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้การเลือกเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เหมาะสม




- ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ




- ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ




- แบบบันทึกรายการจากการสังเกต




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ




- ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม




- ใบรับรองการผ่านการประเมิน




- ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเลือก กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




- ทดสอบด้านความรู้




- ทดสอบด้านด้านทักษะ


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ




หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบเลือก กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้




- ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย




- เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




เลือก กำหนดตำแหน่ง ป้องกัน สิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน คือการจัดเตรียม กำหนดตำแหน่ง จัดเตรียมป้าย ตรวจสอบข้อบกพร่องของเครื่องมือ กำหนดตำแหน่ง ทิศทาง ระดับ เลือกเครื่องจักร รายงานความเสียหาย ดูแลรักษาความเรียบร้อยของพื้นที่




- ตรวจสอบเอกสารประกอบการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกใต้ดิน เช่น ข้อกำหนดในการใช้งาน คู่มือ ข้อควรระวัง




- เลือก และตรวจสอบข้อบกพร่องของเครื่องมือ เช่น จุดที่ต้องนับน้ำหนัก การยึด ลวดสลิง หรือระบบให้แรงไฮโดรลิค




- กำหนดตำแหน่งที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ต้องตรวจสอบให้แน่นอนตรงกับข้อกำหนดทั้งแนวราบ และแนวดิ่ง เลือกเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงาน และรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งอำนวยความสะดวกระหว่างการทำงาน




- ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


(ก) เครื่องมือประเมินการจัดเตรียมประเภท การกำหนดตำแหน่ง ป้องกันสาธารณูประโภคใต้ดิน




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




(ข) เครื่องมือประเมินกากำหนดตำแหน่งติดตั้งสาธารณูปโภคใต้ดิน




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




(ค) เครื่องมือประเมินการดูแลรักษาความเรียบร้อยของพื้นที่ทำงาน




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ