หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ CIP-CFB-4-023ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


211 ช่างงานดันท่อลอด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็ก และการดันท่อลอด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
211341 วางแผนและจัดเตรียมการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ 1.1 ตรวจสอบแบบ ข้อกำหนด และข้อกำหนดความปลอดภัย 211341.01 117699
211341 วางแผนและจัดเตรียมการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ 1.2 จัดเตรียมป้าย และแผนการจัดการจราจรของโครงการ 211341.02 117700
211341 วางแผนและจัดเตรียมการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ 1.3 ระบุ และเลือกพื้นที่ทำงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์ตรวจสอบความสามารถในการใช้งาน และแก้ไข หรือรายงานข้อผิดพลาดใด ๆ 211341.03 117701
211341 วางแผนและจัดเตรียมการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ 1.4 ระบุ ยืนยัน และใช้ข้อกำหนดด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมของโครงการ 211341.04 117702
211342 เตรียมการขุดเจาะ 2.1 กำหนดตำแหน่ง ทิศทาง ระดับ และลาดเอียงของการเจาะจากแบบและข้อกำหนด 211342.01 117703
211342 เตรียมการขุดเจาะ 2.2 ใช้เครื่องมือสำรวจพื้นดินด้านบนและด้านล่างเพื่อกำหนดเส้นทางเจาะสำหรับการจัดแนวใต้ดินและแนวนอน 211342.02 117704
211342 เตรียมการขุดเจาะ 2.3 ดำเนินการสำรวจทางธรณีวิทยาด้วยสายตาของแนวเจาะเพื่อกำหนดประเภทของดินและสภาพน้ำใต้ดินที่แตกต่างกัน 211342.03 117705
211342 เตรียมการขุดเจาะ 2.4 เลือกหัวเจาะให้เหมาะสมกับสภาพชั้นดิน 211342.04 117706
211342 เตรียมการขุดเจาะ 2.5 กำหนดตำแหน่ง ยึด/จับอุปกรณ์สำหรับเจาะ 211342.05 117707
211343 ตรวจสอบเครื่องมือเจาะ 3.1 ระบุ ยืนยัน และใช้ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย 211343.01 117708
211343 ตรวจสอบเครื่องมือเจาะ 3.2 ปฏิบัติตามขั้นตอนการเปิด ปิดเครื่อง และการสื่อสาร 211343.02 117709
211343 ตรวจสอบเครื่องมือเจาะ 3.3 ตรวจสอบการควบคุม และฟังก์ชั่นของอุปกรณ์รวมถึงการนำไปใช้ และรายงานข้อผิบกพร่อง 211343.03 117710
211343 ตรวจสอบเครื่องมือเจาะ 3.4 ดำเนินการตรวจสอบ และค้นหาความผิดปกติ 211343.04 117711
211343 ตรวจสอบเครื่องมือเจาะ 3.5 ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์เป็นประจำ 211343.05 117712
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.1 สร้างบ่อดัน และบ่อรับเพื่อรองรับแท่นขุดเจาะและเครื่องมือ 211344.01 117713
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.2 ระบุ และนำการป้องกันการพังทลายของบ่อดันและบ่อรับ 211344.02 117714
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.3 จัดทำผนังป้องกันตามขนาดท่อ และลักษณะของดิน 211344.03 117715
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.4 กำหนดแนวของการเจาะนำที่บ่อรับ 211344.04 117716
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.5 ยืนยันแนวของการเจาะนำที่บ่อรับตามระยะทางที่กำหนด 211344.05 117717
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.6 รวบรวม และกำจัดขยะ 211344.06 117718
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.7 เลือก และติดตั้งสว่านกับเครื่องเจาะ 211344.07 117719
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.8 ดันผ่านปลอก/ท่อไปยังบ่อรับ 211344.08 117720
211344 ดำเนินการขุดเจาะ 4.9 ตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อความต่อเนื่องของการทำงานในสภาพพื้นที่ต่างๆ 211344.09 117721
211345 ทำความสะอาด 5.1 ทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน และกำจัดวัสดุเหลือทิ้ง 211345.01 117722
211345 ทำความสะอาด 5.2 ทำความสะอาด ตรวจสอบ ดูแลรักษา และจัดเก็บเครื่องจักรเครื่องมือ และอุปกรณ์ 211345.02 117723

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะในการตรวจสอบแบบ ระบุพื้นที่ทำงาน กำหนดตำแหน่ง ดำเนินขุดเจาะ




- ทักษะในการ คาดการณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า




- ทักษะการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดเจาะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้การใช้งานเครื่องมือเจาะสภาพชั้นดิน ข้อกำหนด แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม




- ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ




- ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ




- แบบบันทึกรายการจากการสังเกต




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ




- ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม




- ใบรับรองการผ่านการประเมิน




- ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




- ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันท่อ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




- ทดสอบด้านความรู้




- ทดสอบด้านด้านทักษะ


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ




หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันท่อ โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้




- ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย




- เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




การขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันลอดท่อ เป็นการวาวท่อโดยใช้แม่แรงติดตั้งในบ่อดัน ยันท่อเคลื่อนไปตามแนวที่ต้องการไปยังบ่อรับ สำหรับหรับท่อขนาดใหญ่จะใช้หัวเจาะดิน เพื่อลดแรงต้านของดินบริเวณหน้าท่อ และเพื่อป้องกันดินม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวไปในบริเวณกว้าง




- การตรวจสอบแบบ เป็นการยืนยันความถูกต้องของแบบที่เกี่ยวข้อง การกำหนดตำแหน่ง เป็นการกำหนดระยะแนวราบ แนวดิ่งของงานก่อสร้างและอุปกรณ์ในการทำงาน การดำเนินการขุดเจาะ เป็นการเจาะนำดินส่วนที่อยู่ในแนวอุโมงค์ ท่อ ออกจากแนวและสร้างโคร้างสร้างแทนที่ตามแนวที่เจาะผ่าน




- การตรวจสอบอุปกรณ์ เป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุดมีน้ำมันหล่อลื่น มีความแข็งแรง ไม่หักงอ




- สภาพชั้นดิน เป็นส่วนที่รับน้ำหนักโครงสร้างท่อ กระจายน้ำหนักลงชั้นดินเดิม โดยที่สภาพชั้นดินอาจเป็นดินเหนียวอ่อน ดินเหนียวแข็ง ดินทรายหลวม หรือทรายแน่น ซึ่งมีผลต่อกำลังรับน้ำหนัก และการซึมของน้ำใต้ดินขณะก่อสร้าง




- ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


(ก) เครื่องมือประเมินการวางแผนและจัดเตรียมการควบคุมการขุดอุโมงค์ขนาดเล็กและการดันท่อลอด




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




(ข) เครื่องมือประเมินการเตรียมการขุดเจาะ




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




(ค) เครื่องมือประเมินการตรวจสอบเครื่องมือเจาะ




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




(ง) เครื่องมือประเมินการทำความสะอาด




- ข้อสอบข้อเขียน




- การสัมภาษณ์




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ