หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำระบบการเดินรถเพื่อขนส่งของเสียอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-4-077ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำระบบการเดินรถเพื่อขนส่งของเสียอุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ขนส่งของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถจัดระบบการเดินรถเพื่อขนส่งของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายได้ พร้อมกับปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด รู้กระบวนการดำเนินการแจ้งและจัดทำเอกสารใบกำกับการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04207.01 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ใช้ในการขนส่ง 1. ระบุขั้นตอนการดำเนินงานขนส่งของเสีย 04207.01.01 116634
04207.01 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ใช้ในการขนส่ง 2.ระบุกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขนส่งของเสียอุตสาหกรรมและวัตถุอันตราย 04207.01.02 116635
04207.01 ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ใช้ในการขนส่ง 3. ระบุเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายได้ 04207.01.03 116636
04207.02 ตรวจติดตามการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 1. กำหนดเส้นทางการขนส่งของเสียอุตสาหกรรม 04207.02.01 116637
04207.02 ตรวจติดตามการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2. เลือกรถที่ใช้ทำการขนส่งให้เหมาะสมกับชนิดของเสียอุตสาหกรรม 04207.02.02 116638
04207.02 ตรวจติดตามการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3. ติดตามการขนส่งให้เป็นไปตามเส้นทางได้อย่างปลอดภัย 04207.02.03 116639
04207.02 ตรวจติดตามการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน 4. ฝึกซ้อมแผนตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 04207.02.04 116640

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. การจัดการพนักงาน การจัดการพาหนะ และการจัดการตารางการเดินรถเพื่อขนส่งของเสียอุตสาหกรรม




2. การควบคุมการขนส่งและติดตามการขนส่งของเสียอุตสาหกรรม




3. การประสานงานขนส่งของเสียอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องปลอดภัย




4. การตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย ( Manifest System )




2. ข้อแนะนำการขนส่งวัถตุอันตรายของสหประชาชาติ และ/หรือ เกณฑ์มาตรฐานวิธีการขนส่งของเสียอันตรายของกรมควบคุมมลพิษ




3. ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการขนส่ง เช่น การบรรจุ การติดฉลากแสดงความเป็นอันตรายบนภาชนะบรรจุ (labelling)




4. กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งของเสียอุตสาหกรรม




5. การติดตามรถขนส่งด้วยระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เช่น จีพีเอส




6. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน (Occupation health and safety requirement)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน




2. เอกสารการอบรมเกี่ยวกับการขนส่งของเสียอันตราย




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


การดำเนินการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายในระดับ 4 เป็นการจัดระบบการเดินรถเพื่อการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมได้อย่างถูกต้องปลอดภัยและติดตามการขนส่ง พร้อมกับตรวจสอบเอกสารกำกับการขนส่ง และแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อครบถ้วน และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งของเสียอุตสาหกรรม




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง




2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถรู้ขั้นตอนและแจ้งผลการขนส่งของเสียต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การปฏิบัติงาน มีความหมายรวมถึงงานกลางวันและกลางคืน




2. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์ป้องกันมือและเท้า แว่นตานิรภัย เสื้อสะท้อนแสง (high visibility clothing) และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




3. กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เช่น พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง เอกสารการขนส่งที่ต้องจัดให้มีไว้ประจํารถที่ใช้ในการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2559


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ใช้ในการขนส่ง




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจติดตามการขนส่งของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ