หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-4-069ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมข้อมูลกากของเสียอุตสาหกรรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ตัวแทนจัดหา (Broker) ของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีสมรรถนะในการระบุประเภทและลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของของเสียอุตสาหกรรมก่อนและหลังการตรวจวิเคราะห์ เพื่อทำการการบันทึกข้อมูลของเสียอุตสาหกรรมของลูกค้าให้กับผู้เชี่ยวชาญที่จะนำข้อมูลไปประเมินและจัดหาทางเลือกการจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่เหมาะสม รวมถึงการแนะนำการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงานให้กับลูกค้าอย่างถูกต้องและการติดตามผลการจัดการของเสียให้กับลูกค้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04102.01 ระบุลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และบันทึกข้อมูลของเสียอุตสาหกรรมก่อนและหลังการวิเคราะห์ 1. บ่งชี้ชนิดและลักษณะของเสียอุตสาหกรรมตามฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ หรือคู่มือฯ (บัญชีรายการของเสียอุตสาหกรรม : Waste List)ก่อนและหลังการตรวจวิเคราะห์ 04102.01.01 116573
04102.01 ระบุลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และบันทึกข้อมูลของเสียอุตสาหกรรมก่อนและหลังการวิเคราะห์ 2. จดบันทึกข้อมูลจัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดของเสียอุตสาหกรรมให้แก่ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพเพื่อประเมินวิธีการจัดการของเสียที่เหมาะสม 04102.01.02 116574
04102.02 จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้า 1.จัดเตรียมรายละเอียดข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียตามที่กฎหมายกำหนดให้แก่ลูกค้า 04102.02.01 116575
04102.02 จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้า 2. แนะนำการจัดเตรียมเอกสารกำกับการขนส่งของเสียให้แก่ลูกค้า 04102.02.02 116576
04102.02 จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้า 3. ติดตามผลการจัดการของเสียให้กับลูกค้า 04102.02.03 116577

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการอธิบายและนำเสนอ




2. ทักษะการสังเกต การจำแนก




3. ทักษะการจัดบันทึกข้อมูล




4. ทักษะการจัดการเอกสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. กฎระเบียบ และข้อบังคับจัดการของเสียอุตสาหกรรมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม




2. การจำแนกและลักษณะของเสียอุตสาหกรรมตามบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรม




3. ขั้นตอนการขออนุญาตจัดการของเสียอุตสาหกรรม




4. เอกสารที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงาน




5. รายละเอียดในบัญชีรายการของเสียอุตสากรรม (Waste list)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมข้อมูลของเสียอุตสาหกรรม โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


การเตรียมข้อมูลของเสียอุตสาหกรรมในระดับ 4 เป็นการระบุลักษณะทางกายภาพ และทางเคมี และทำการการบันทึกข้อมูลของเสียอุตสาหกรรมของลูกค้าให้กับผู้เชี่ยวชาญในระดับ 5 ที่จะนำข้อมูลไปประเมินและจัดหาทางเลือกการจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และนำข้อมูลการประเมินการจัดการของเสียไปนำเสนอให้ลูกค้าทราบ รวมถึงการการแนะนำการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขออนุญาตนำของเสียออกนอกโรงงานให้กับลูกค้าอย่างถูกต้องและการติดตามผลการจัดการของเสียให้กับลูกค้าได้




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลลักษณะของเสีย รหัสของเสีย ความเป็นอันตรายตามบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรม




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถจดบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปประเมินต่อ




4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถแนะนำและเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรม




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. ลูกค้า เช่น บุคคลหรือบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีของเสียอุตสาหกรรม ที่ต้องการนำของเสียอุตสาหกรรมไปจัดการอย่างถูกต้อง




2. ของเสียอุตสาหกรรม หมายรวมถึง ของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายและของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย ตามบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรมที่กรมโรงงานกำหนด




3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องต่างๆ ขั้นตอนการขออนุญาต รายละเอียดของเสีย รหัสของเสีย รหัสการจัดการของเสียตามบัญชีรายชื่อของเสีย ขั้นตอนการบริการจัดการของเสีย ราคาการบริการ ผลกระทบของของเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น




4. กฎหมาย/ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอุตสาหกรรม เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movement of Hazardous Waste and their Disposal :BASEL)




5. ความเป็นอันตรายและความเสี่ยง (Potential hazards and risks) หมายถึง ความเป็นอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบหรือความสูญเสียต่อ โรงงาน รถขนส่ง และ ทรัพย์สิน ต่างๆ สิ่งแวดล้อม ความเจ็บป่วย และ การบาดเจ็บ ของพนักงาน ผู้รับเหมา และ ประชาชนโดยรอบ




6. ลักษณะของเสียอุตสาหกรรม (Waste Characteristics) เช่น ความหนาแน่น ระดับการปนเปื้อน คุณภาพ รูปร่าง ขนาด ปริมาณ และน้ำหนัก




7. ชนิดของเสียอุตสาหกรรม (Waste types) หมายถึง ของแข็ง (ที่ไม่เป็นอันตราย) เช่น วัสดุก่อสร้าง ของเสียจากการรื้อถอน ของเหลว (ที่ไม่เป็นอันตราย) เช่น สารเคมี หรือ สารละลาย สารอันตราย ของเสียอันตรายที่มีการปนเปื้อนสารอันตรายที่มีการควบคุมตาม พรบ. วัตถุอันตราย และวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้




8. วิธีการจัดการของเสียอุตสาหกรรม หมายถึง การนำของเสียไปจัดการตามที่กำหนดในรหัสการจัดการของบัญชีรายชื่อของเสียอุตสาหกรรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด




9. ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพ เช่น หัวหน้างาน หรือบุคคลที่อยู่ในระดับสูงกว่าที่มีอำนาจในการประเมินวิธีการจัดการของเสีย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ระบุลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และบันทึกข้อมูลของเสียอุตสาหกรรมก่อนและหลังการวิเคราะห์




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 




2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการของเสียอุตสาหกรรมให้กับลูกค้า




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ