หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-4-065ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้เก็บตัวอย่างอากาศจากปล่องระบาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บ และตรวจวัดตัวอย่างอากาศ และสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2551 2. ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02207.01 ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 1.ระบุปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.01.01 116539
02207.01 ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 2.ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.01.02 116540
02207.01 ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 3. ระบุวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.01.03 116541
02207.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 1. ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา/สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.02.01 116542
02207.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 2.ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.02.02 116543
02207.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 3.ทบทวนและหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.02.03 116544
02207.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 4. ระบุแนวทางในการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 02207.02.04 116545
02207.02 ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 5. จัดทำคู่มือการป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ 02207.02.05 116546

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บตัวอย่างและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ชนิดของสารมลพิษทางอากาศ




2. หลักการ วิธีการตรวจวัดด้วยเครื่องมือตรวจวัดอากาศที่แสดงผลได้ทันที




3. มาตรการด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน




2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจชนิดของสารมลพิษทางอากาศ หลักการ วิธีการตรวจวัดด้วยเครื่องมือตรวจวัดอากาศที่แสดงผลได้ทันที โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


การตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศในระดับ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด และปฏิบัติงานครอบคลุมหลายขั้นตอนจนนำไปสู่ข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหา ถือเป็นทักษะที่จำเป็นก่อนไปทำงานในระดับ 5 การวางแผนการตรวจวัดและการเก็บตัวอย่างอากาศ และการประเมินผลการเก็บตัวอย่างอากาศและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ การตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ และการระบุวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาหรือสิ่งปกติการดำเนินการแก้ไขปัญหา การทบทวนและหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ รวมทั้งการระบุแนวทางในการป้องกันปัญหา และการจัดทำคู่มือการป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. เครื่องตรวจวัดที่แสดงผลได้ทันที เช่น เครื่องมือตรวจวัดตัวอย่างอากาศที่เป็นก๊าซ ฝุ่นละออง และสารอินทรีย์ระเหย ที่สามารถวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณแล้วรายงานผลทันที ณ เวลาที่ทำการตรวจวัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย ตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




3. ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินสมรรถนะย่อย ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเก็บและตรวจวัดตัวอย่างอากาศ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




3. ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ