หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) และแบบผสมรวม (composite sampling)

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-3-054ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) และแบบผสมรวม (composite sampling)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้เก็บตัวอย่างน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) และแบบผสมรวม (composite) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02101.01 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามวิธีที่กำหนด 1. ระบุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้เก็บน้ำแบบจ้วงได้ 02101.01.01 116430
02101.01 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามวิธีที่กำหนด 2. จัดเตรียมภาชนะเก็บตัวอย่าง สารเคมีฉลากหรือป้ายติดภาชนะตามคู่มือปฏิบัติงาน 02101.01.02 116431
02101.01 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามวิธีที่กำหนด 3. ตรวจสภาพพร้อมใช้ของอุปกรณ์เก็บน้ำตัวอย่าง 02101.01.03 116432
02101.02 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (composite sampling) ตามวิธีที่กำหนด 1. ระบุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้เก็บน้ำแบบผสมรวมได้ 02101.02.01 116433
02101.02 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (composite sampling) ตามวิธีที่กำหนด 2. จัดเตรียมภาชนะเก็บตัวอย่างสารเคมีฉลากหรือป้ายติดภาชนะตามคู่มือปฏิบัติงาน 02101.02.02 116434
02101.02 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (composite sampling) ตามวิธีที่กำหนด 3. ตรวจสภาพพร้อมใช้ของอุปกรณ์เก็บน้ำตัวอย่าง 02101.02.03 116435
02101.03 เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 1. เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling)ตามแผนการเก็บตัวอย่างน้ำ 02101.03.01 116436
02101.03 เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 2. ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่างน้ำ 02101.03.02 116437
02101.03 เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 3. บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บตัวอย่างน้ำ 02101.03.03 116438
02101.03 เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 4. จัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 02101.03.04 116439
02101.04 เก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม (composite sampling) วัดอัตราการไหลของน้ำ ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากตัวอย่าง บันทึกภาวะและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 1. เก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม (composite sampling)และวัดอัตราการไหลของน้ำตามแผนการเก็บตัวอย่างน้ำ 02101.04.01 116440
02101.04 เก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม (composite sampling) วัดอัตราการไหลของน้ำ ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากตัวอย่าง บันทึกภาวะและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 2. ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่างน้ำ 02101.04.02 116441
02101.04 เก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม (composite sampling) วัดอัตราการไหลของน้ำ ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากตัวอย่าง บันทึกภาวะและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 3. บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บตัวอย่างน้ำ 02101.04.03 116442
02101.04 เก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม (composite sampling) วัดอัตราการไหลของน้ำ ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากตัวอย่าง บันทึกภาวะและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 4. จัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด 02101.04.04 116443
02101.05 เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สำหรับป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 1.เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สําหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่างน้ำ 02101.05.01 116444
02101.05 เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สำหรับป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 2.ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สําหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะเก็บตัวอย่างน้ำ 02101.05.02 116445
02101.05 เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สำหรับป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ 3.เก็บรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและอุปกรณ์สำหรับป้องกันอุบัติเหตุ 02101.05.03 116446

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถเก็บตัวอย่างแบบจ้วงและแบบผสมรวมได้




2. ทักษะการบันทึก สามารถบันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บตัวอย่างน้ำเสีย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. การจำแนกชนิดของอุปกรณ์ เครื่องมือ และสารเคมี พร้อมการเลือกใช้อย่างเหมาะสม




2. หลักการทำงานขั้นพื้นฐานและการใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์ เครื่องมือ




3. มาตรการด้านความปลอดภัยของการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ และสารเคมี




4. หลักการจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตปฏิบัติงาน




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน




2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม ใบผ่านการอบรม




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) และแบบผสมรวม (composite) โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)


การเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) และแบบผสมรวม (composite) ของอาชีพผู้เก็บตัวอย่างน้ำ ระดับ 3 เป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่างแบบจ้วง (grab sampling) และแบบผสมรวม (composite) และเก็บตัวอย่างน้ำตามแผนการเก็บตัวอย่าง เพื่อรักษาสภาพ เคลื่อนย้าย และส่งมอบตัวอย่างให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ระดับ 4 (01101 รับและจัดการตัวอย่าง) และส่งต่อให้นักวิเคราะห์ของเสียในระดับห้องปฏิบัติการ ระดับ 4 เพื่อเตรียมตัวอย่างของเสียและทดสอบต่อไป
(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์เก็บตัวอย่างที่ทำให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทน การเตรียมสารที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างในภาคสนาม การเตรียมอุปกรณ์เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมขณะเก็บตัวอย่างที่สอดคล้องตามวิธีที่กำหนดและเพียงพอต่อการใช้งาน
  2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามคู่มือ พร้อมทั้งตรวจสอบพื้นที่เก็บตัวอย่างให้มีความปลอดภัยตามมาตรการด้านความปลอดภัยของเจ้าของพื้นที่
  3. ผู้เข้ารับการประเมินควรศึกษาเอกสารคู่มือการเก็บตัวอย่างมลพิษ (น้ำ อากาศ ดิน กากอุตสาหกรรม) จัดทำโดยสำนักวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. การเก็บตัวอย่างแบบจ้วง (grab sampling) หมายถึงการเก็บตัวอย่าง 1 ครั้ง ณ จุดเก็บตัวอย่างและเวลาใดเวลาหนึ่ง
2. การเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (composite sampling) หมายถึงการเก็บตัวอย่างแบบจ้วงหลายครั้งแล้วนำมาตัวอย่างมาผสมรวมกันเพื่อเป็นตัวแทนของแหล่งน้ำที่เก็บตัวอย่าง
3. อุปกรณ์สำหรับการเก็บตัวอย่าง หมายถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ตักน้ำเสีย และภาชนะที่ใช้บรรจุตัวอย่างน้ำเสีย เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก
4. สารเคมี หมายถึงสารเคมีที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย เช่น สารละลายกรด น้ำกลั่น
5. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เพื่อป้องกันการรับหรือสัมผัสสารอันตรายตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามข้อกำหนดของเจ้าของพื้นที่ เช่น แว่นตานิรภัย เสื้อคลุมปฏิบัติการ ถุงมือ หน้ากาก
6. คู่มือปฏิบัติงาน หมายถึงเอกสารคู่มือที่มีคำอธิบายรายละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามวิธีที่กำหนด




1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (composite sampling) ตามวิธีที่กำหนด




1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.3 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง (grab sampling) ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากที่สามารถทวนสอบถึงที่มาของตัวอย่าง บันทึกภาวะแวดล้อมและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด




1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.4 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม (composite sampling) วัดอัตราการไหลของน้ำ ตามแผนการเก็บตัวอย่าง ติดฉลากตัวอย่าง บันทึกภาวะและสภาพของตัวอย่างขณะเก็บ และจัดการของเสียที่เกิดจากการเก็บตัวอย่างตามวิธีที่กำหนด




1. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)




2. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ