หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การสังเกตการทำงานขณะขับรถและสภาพจราจร

สาขาวิชาชีพขนส่งชุมชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUT-ZZZ-3-087ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การสังเกตการทำงานขณะขับรถและสภาพจราจร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ
(แท็กซี่)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้และทักษะเพื่อให้ขับรถแท็กซี่ถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัยสังเกตการทำงานของรถยนต์รวมถึงการจัดการแก้ไขเบื้องต้นหรือรายงานความเสียหายอย่างมีประสิทธิผลสังเกตสภาพการจราจรเพื่อการตัดสินในในการเลือกเส้นทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ(แท็กซี่)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20202-01 การสังเกตการทำงานของรถยนต์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ 1.1 สังเกตอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นของรถยนต์ในขณะปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด 20202-01.01 116220
20202-01 การสังเกตการทำงานของรถยนต์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ 1.2 สังเกตอาการผิดปกติ ที่เกิดขึ้นของอุปกรณ์ส่วนควบในขณะปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนด 20202-01.02 116221
20202-01 การสังเกตการทำงานของรถยนต์ในขณะปฏิบัติหน้าที่ 1.3 แก้ไขเบื้องต้นหรือรายงานความเสียหายอันเกิดแก่รถ ความบกพร่องการทำงานที่ผิดปกติ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง 20202-01.03 116222
20202-02 การสังเกตสภาพการจราจรในขณะปฏิบัติหน้าที่ 2.1 สังเกตสภาพการจราจรบนเส้นทางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการตัดสินใจเลือกเส้นทางได้อย่างเหมาะสม 20202-02.01 116223
20202-02 การสังเกตสภาพการจราจรในขณะปฏิบัติหน้าที่ 2.2 ติดตามรายงานข่าวสารสภาพการจราจร ที่จะก่อให้เกิดความล่าช้าในการใช้เส้นทางเพื่อการตัดสินใจเลือกเส้นทางได้อย่างเหมาะสม 20202-02.02 116224

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นของรถยนต์และอุปกรณ์ส่วนควบ
2. ความสามารถในการแก้ไขเบื้องต้นหรือรายงานความเสียหายอันเกิดแก่รถยนต์และอุปกรณ์ส่วนควบ
3. ความสามารถในการสังเกตสภาพการจราจรบนเส้นทาง การติดตามรายงานข่าวสารสภาพการจราจร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสังเกตอาการผิดปกติของรถยนต์และอุปกรณ์ส่วนควบ
2. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขเบื้องต้นและการรายงานความเสียหายของรถยนต์และอุปกรณ์ส่วนควบ
3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสังเกตสภาพการจราจรเพื่อการตัดสินใจในการเลือกเส้นทาง
4. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกช่องทางเพื่อการติดตามรายงานข่าวสารสภาพการจราจร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. ใบอนุญาตขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก
2. สมุดบันทึกการใช้งาน/การบำรุงรักษารถยนต์
3. ผลการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ผลการสัมภาษณ์ และ/หรือ
2. ผลการทดสอบความรู้
3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ
4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
 ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะ และสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่าน และสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง
(ง) วิธีการประเมิน
1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้ารับการประเมิน โดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกต และเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ
2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมิน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือ แบบทดสอบความรู้ แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ข้อกำหนดการสังเกตอาการผิดปกติของรถยนต์ในขณะขับขี่ ให้ครอบคลุมดังนี้ การใช้ประสาทสัมผัส (ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น การสัมผัส) การสั่นของพวงมาลัย เสียงดังที่ผิดปกติ กลิ่นเชื้อเพลิงที่รั่วไหล การชำรุดแตกหักของอุปกรณ์ ฯลฯ
2. ข้อกำหนดการสังเกตอาการผิดปกติของอุปกรณ์ส่วนควบ ให้ครอบคลุมอุปกรณ์ส่วนควบดังนี้ มิเตอร์ วิทยุสื่อสาร ระบบนำทาง ไฟโป๊ะหลังคา ป้ายว่าง ไฟส่องป้ายทะเบียน ฯลฯ
3. การแก้ไขเบื้องต้น หมายถึง การซ่อมแซมเล็กน้อย เช่น การเปลี่ยนยางอะไหล่ การเปลี่ยนหลอดไฟ การเปลี่ยนฟิวส์ ฯลฯ
4. สภาพการจราจรบนเส้นทาง ให้ผู้ขับแท็กซี่สังเกตจากป้ายสัญญาณไฟจราจร/ สัญญาณไฟอัจฉริยะ และความหนาแน่นของการจราจร
5. การติดตามรายงานข่าวสารสภาพการจราจร ผู้ขับแท็กซี่รับทราบจากการรายงานทางวิทยุ เครื่องมือสื่อสาร และสื่อออนไลน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ