หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การดำเนินการบำรุงรักษาก่อนออกรถ

สาขาวิชาชีพขนส่งชุมชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUT-ZZZ-2-085ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การดำเนินการบำรุงรักษาก่อนออกรถ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในการดำเนินการบำรุงรักษารถแท็กซี่ก่อนออกรถ การทำความสะอาด และการตรวจสอบระบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์รถยนต์ ตลอดจนการจัดการให้รถและอุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20103-01 การทำความสะอาดรถยนต์ก่อนออกรถ 1.1 เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดได้อย่างครบถ้วน 20103-01.01 116206
20103-01 การทำความสะอาดรถยนต์ก่อนออกรถ 1.2 รักษาและดูแลทำความสะอาดภายในและภายนอกรถยนต์ได้ถูกต้องตามข้อกำหนด 20103-01.02 116207
20103-02 การตรวจสอบระบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์รถยนต์ก่อนออกรถ 2.1 ตรวจสอบระบบการทำงานของรถยนต์ก่อนการสตาร์ทรถได้อย่างถูกต้อง 20103-02.01 116208
20103-02 การตรวจสอบระบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์รถยนต์ก่อนออกรถ 2.2 ตรวจเช็คสัญญาณการทำงานของรถยนต์ที่แสดงบนหน้าปัดได้ถูกต้อง 20103-02.02 116209
20103-02 การตรวจสอบระบบเครื่องยนต์และอุปกรณ์รถยนต์ก่อนออกรถ 2.3 ตรวจสอบความพร้อมของรถยนต์ก่อนออกรถได้ถูกต้อง 20103-02.03 116210

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการจัดเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด

2. ความสามารถในการรักษาและดูแลทำความสะอาดภายในและภายนอกรถยนต์

3. ความสามารถในการตรวจสอบระบบการทำงานและความพร้อมของรถยนต์และอุปกรณ์รถยนต์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดรถยนต์

2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดรถยนต์

3. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบการทำงานและความพร้อมของรถยนต์และอุปกรณ์รถยนต์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบอนุญาตขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก

2. สมุดบันทึกการใช้งาน/บำรุงรักษารถยนต์

3. ผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการสัมภาษณ์ และ/หรือ

2. ผลการทดสอบความรู้

3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะ และสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่าน และสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้ารับการประเมิน โดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกต และเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่าง ๆ

2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้ารับการประเมิน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือ แบบทดสอบความรู้ แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ผ้าเช็ดรถ ไม้ปัดฝุ่น น้ำยาขัดเงา น้ำยาล้างรถ ฟองน้ำ ถังน้ำ สเปรย์ปรับอากาศหรือฆ่าเชื้อ ฯลฯ

2. การทำความสะอาดภายในและภายนอกรถยนต์เป็นประจำ ให้ครอบคลุมตามข้อกำหนด ดังนี้

- ทำความสะอาดตัวรถ และล้อให้ปราศจากคราบสกปรก

- ทำความสะอาดกระจกรถทุกบานให้ใสสะอาด

- ทำความสะอาดเบาะนั่ง มือจับประตู พรมปูพื้น และจุดสัมผัสอื่น ๆ ภายในรถ

- ทำความสะอาดจนปราศจากฝุ่นผง ขยะ คราบสกปรก และกลิ่นบุหรี่

- ทำความสะอาดป้ายอะลูมิเนียมแสดงเลขทะเบียนรถในภายในรถ

3. ก่อนสตาร์ทรถยนต์ ให้ทำการตรวจสอบระบบการทำงานของรถยนต์ คือ ตรวจเช็คระดับน้ำในหม้อน้ำ ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ตรวจเช็คน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ ตรวจเช็คลมยางทั้ง 4 ล้อ

4. สัญญาณที่แสดงบนหน้าปัทม์ เช่น น้ำมันเครื่อง ความร้อน แบตเตอรี่ เชื้อเพลิง (น้ำมัน/LPG/CNG) การปิดล็อคประตู เบรคมือ เข็มขัดนิรภัย การทำงานของระบบเครื่องยนต์ เป็นต้น

5. ก่อนออกรถยนต์ควรปฏิบัติการตรวจเช็ค ดังนี้ สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา สัญญาณไฟเบรค สัญญาณไฟฉุกเฉิน แสงสว่างไฟหน้า เสียงแตร ไฟว่างและไฟโป๊ะบนหลังคา การทำงานของแอร์ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ