หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การดำเนินการตามกระบวนการความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน

สาขาวิชาชีพขนส่งชุมชน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUT-ZZZ-2-084ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การดำเนินการตามกระบวนการความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในการดำเนินการตามกระบวนการความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานการจัดเตรียมประวัติสุขภาพและความปลอดภัย แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความเมื่อยล้า ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่และผู้ร่วมทาง ตลอดจนการจัดการสถานการณ์อันตรายอย่างมีประสิทธิผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102-01 การจัดเตรียมและรายงานประวัติสุขภาพของผู้ขับขี่ 1.1 ดูแลรักษาสุขภาพของผู้ขับขี่ให้พร้อมปฏิบัติงาน 20102-01.01 116199
20102-01 การจัดเตรียมและรายงานประวัติสุขภาพของผู้ขับขี่ 1.2 ตรวจสุขภาพของผู้ขับขี่เป็นประจำ 20102-01.02 116200
20102-02 การระบุแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความเมื่อยล้าจากการขับขี่ 2.1 แก้ไขความเมื่อยล้า ที่เกิดจากการขับขี่ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 20102-02.01 116201
20102-02 การระบุแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความเมื่อยล้าจากการขับขี่ 2.2 แก้ไขอาการง่วงนอน ที่เกิดจากความอ่อนเพลีย ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 20102-02.02 116202
20102-03 การระบุแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ และผู้ร่วมทาง 3.1 ป้องกัน ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 20102-03.01 116203
20102-03 การระบุแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ และผู้ร่วมทาง 3.2 ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในรถแท็กซี่ ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้อุปกรณ์ 20102-03.02 116204
20102-03 การระบุแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ และผู้ร่วมทาง 3.3 ร้องขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น หรือเมื่อถูกร้องขอจากผู้ร่วมทางเมื่อเผชิญอันตรายหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ได้อย่างเหมาะสม 20102-03.03 116205

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการแก้ไขความเมื่อยล้า แก้ไขอาการง่วงนอน

2. ความสามารถในการป้องกันความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สิน การใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

3. ความสามารถในการร้องขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นหรือเมื่อถูกร้องขอต่อผู้ร่วมทางที่เผชิญอันตรายหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ขับขี่ให้พร้อมปฏิบัติงาน

2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาตนเองเมื่อมีโรคติดต่อหรือโรคประจำตัว

3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความเมื่อยล้า อาการง่วงนอน หรืออ่อนเพลีย

4. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยงหรือความไม่ปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของผู้ขับขี่ และผู้ร่วมทาง

5. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานและรายการหมายเลขโทรศัพท์เพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน ของหน่วยงานช่วยเหลือหรือเฝ้าระวังความปลอดภัย เครือข่ายทางสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร้องขอความช่วยเหลือ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. ใบอนุญาตขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก

2. สมุดบันทึกประวัติสุขภาพ หรือ รายงานการตรวจสุขภาพประจำปี

3. คู่มือการปฏิบัติงานตามกระบวนการความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

4. คู่มือการใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในรถแท็กซี่

5. ผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการสัมภาษณ์ และ/หรือ

2. ผลการทดสอบความรู้

3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

 ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อย ขอบเขต ความรู้ และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะ และสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่าน และสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบ โดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกต และเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือ แบบทดสอบความรู้ แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การดูแลรักษาสุขภาพของผู้ขับขี่ให้พร้อมปฏิบัติงาน ผู้ขับขี่ควรมีการปฏิบัติตนที่ดีได้แก่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลและรักษาสุขภาพเป็นประจำ เป็นต้น

2. โรคที่ควรตรวจสุขภาพประจำปี ได้แก่ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจและโรคประจำตัว เช่น โรคหวัด วัณโรค เป็นต้น

3. การแก้ไขความเมื่อยล้า เช่น อาการเมื่อยล้า ง่วงนอน อ่อนเพลีย โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ สสส. และ/หรือ หน่วยงานด้านความปลอดภัย

4. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งออกโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น การทำร้ายร่างกาย การปฏิเสธการชำระค่าโดยสาร การโจรกรรม อัคคีภัย และเหตุฉุกเฉิน ฯลฯ

5. คู่มือการใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในรถแท็กซี่ เช่น เข็มขัดนิรภัย การใช้ถังดับเพลิง สัญญาณไฟฉุกเฉิน อุปกรณ์สื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ผลิต

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ