หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเครื่องพับและปฏิบัติงานพับ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-AFP-2-051ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเครื่องพับและปฏิบัติงานพับ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานพับที่มีทักษะเฉพาะทาง  ช่างพับ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        มีความรู้ความสามารถในการเตรียมเครื่องพับ  การปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพับให้พร้อมใช้งาน และถูกต้องกับลักษณะงานที่จะพับ   โดยใช้เครื่องมือและวิธีการปฏิบัติงานตามที่ได้กำหนด  รวมถึงการแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานพับ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
401021

ปรับตั้งหน่วยควบคุมกลาง

1.1 ปรับตำแหน่งศูนย์ (reset) เครื่องพับก่อนเริ่มงานได้ถูกต้อง

401021.01 158658
401021

ปรับตั้งหน่วยควบคุมกลาง

1.2 ควบคุมการทำงานของเครื่องพับโดยปรับตั้งหน่วยควบคุมกลางได้ถูกต้อง

401021.02 158659
401022

ปรับตั้งหน่วยป้อน

2.1 วางกระดาษที่จะเข้าพับลงบนหน่วยป้อนของเครื่องพับได้ถูกต้องและเรียบร้อย

401022.01 158660
401022

ปรับตั้งหน่วยป้อน

2.2 ปรับตั้งกลไกป้องกันกระดาษซ้อนแผ่นได้ถูกต้อง

401022.02 158661
401022

ปรับตั้งหน่วยป้อน

2.3 ปรับตั้งลมดูดลมเป่าให้เหมาะสมกับชนิดกระดาษ

401022.03 158662
401022

ปรับตั้งหน่วยป้อน

2.4 ปรับตั้งลูกบอลกดกระดาษให้ทับบนกระดาษที่ป้อนเข้าในตำแหน่งที่เหมาะสม

401022.04 158663
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.1 ปรับตั้งระยะพับที่ตะแกรงพับให้ถูกต้อง (พับขนาน)

401023.01 158664
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.2 ปรับตั้งระยะพับที่ตะแกรงพับตามลำดับต่างๆ ให้ถูกต้องตามขนาดที่ต้องการได้

401023.02 158665
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.3 ปรับตั้งระยะห่างของลูกกลิ้งพับให้สามารถพับงานได้โดยไม่ติดขัด

401023.03 158666
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.4 ตรวจสอบระยะพับและระยะห่างของช่องลูกกลิ้งพับในแต่ละลำดับตะแกรงให้ถูกต้อง

401023.04 158667
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.5 ตรวจสอบงานพับที่ผ่านจากทุกตะแกรงและปรับให้ถูกต้อง

401023.05 158668
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.6 ตำแหน่งมีดปรุ มีดสลิต ล้อกดเส้น (เมื่อออกจากตะแกรงพับ)

401023.06 158669
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.7 ปรับตั้งการเปิดหรือปิดล้อกดปรุและตำแหน่งกดปรุ ตามคำสั่งการปฏิบัติงาน

401023.07 158670
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.8 ปรับตั้งการเปิดหรือปิดล้อมีดสลิตและตำแหน่งการสลิต ได้ถูกต้องตามคำสั่งการปฏิบัติงาน

401023.08 158671
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.9 เปิดหรือปิดล้อกดเส้น ตำแหน่งการกดเส้น ได้ถูกต้องตามคำสั่งการปฏิบัติงาน

401023.09 158672
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.10 ปรับตั้งใบมีดสับให้พับงานได้ถูกต้อง (พับมุมฉาก)

401023.10 158673
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.11 ปรับตั้งตำแหน่งมีดสับให้ตรงรอยพับที่ต้องการได้ถูกต้อง

401023.11 158674
401023

ปรับตั้งหน่วยพับ

3.12 ปรับตั้งระยะห่างของช่องลูกกลิ้งพับให้สามารถพับงานได้โดยไม่ติดขัด

401023.12 158675
401024

ปรับตั้งหน่วยรับกระดาษ

4.1 ปรับตั้งหน่วยรับกระดาษให้รับกระดาษได้พอดี โดยสภาพกระดาษเรียบร้อย ไม่ยับ ไม่ขาด

401024.01 158676
401024

ปรับตั้งหน่วยรับกระดาษ

4.2 นับมัดและเรียงกระดาษให้เรียบร้อย และพร้อมเพื่อส่งไปทำในงานถัดไป

401024.02 158677
401024

ปรับตั้งหน่วยรับกระดาษ

4.3 เขียนกำกับใบชี้บ่งสถานะงานได้ถูกต้อง 

401024.03 158678
401024

ปรับตั้งหน่วยรับกระดาษ

4.4 สรุปรายงานการพับ

401024.04 158679
401025

ปฏิบัติงานพับ

5.1 ปฏิบัติงานพับ

401025.01 158680
401025

ปฏิบัติงานพับ

5.2 ตรวจสอบคุณภาพงานพับ

401025.02 158681
401025

ปฏิบัติงานพับ

5.3 ควบคุมงานพับ

401025.03 158682

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.  มีประสบการณ์ทำงานด้านการพับมาไม่น้อยกว่า 1 ปี



2.  ผ่านหน่วยสมรรถนะ 40101 เตรียมวัสดุสำหรับงานพับ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพับ ได้แก่ หน่วยควบคุมกลาง หน่วยป้อน หน่วยพับ และหน่วยรับอย่างถูกวิธี



2. ความสามารถในการใช้งานเครื่องพับอย่างถูกต้องและปลอดภัย



3. ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับตั้งเครื่องพับได้อย่างเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเครื่องพับ



2.  ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง ส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องพับ



3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเครื่องพับ



4.  ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการพับกระดาษด้วยเครื่องพับ



5. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการพับด้วยเครื่องพับ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



   1. บันทึกรายการจากการสังเกต



   2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



   3. ผลของการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพับถูกต้องตามลักษณะงานที่กำหนด



   4. ผลงานพับที่ได้จากปฏิบัติงานพับ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



    1.  แบบสัมภาษณ์



    2.  แบบทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    ในการประเมินทักษะการเตรียมเครื่องพับควรระบุประเภทเครื่องพับที่ใช้ทดสอบ และมีคู่มือการใช้เครื่องพับประกอบการทดสอบด้วย



(ง) วิธีการประเมิน



    1. การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบและการสัมภาษณ์



    2. การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



    1. การปรับตั้งส่วนประกอบต่างๆ ของหน่วยป้อนกระดาษของเครื่องพับ ควรมีการทดสอบวิ่งกระดาษทีละแผ่นเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการปรับตั้ง



    2.  การปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพับต้องคำนึงถึงระบบป้องกันอันตราย และความปลอดภัยในการปรับตั้งเครื่องพับ โดยศึกษาจากคู่มือการใช้เครื่อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    1.  การเตรียมกระดาษขึ้นหน่วยป้อนวางกระดาษที่จะเข้าพับต้องปรับวางทิศทางกระดาษเข้าพับได้ถูกต้องตามดัมมี่การพับ



    2.  การกระทุ้งกระดาษให้แยกตัวกันดีก่อนเรียงซ้อนในหน่วยป้อน เพื่อป้องกันกระดาษซ้อนติดกัน



   3.  การปรับหน่วยรับกระดาษทำได้โดยการนำแท่นรับกระดาษไปต่อให้ตรงตามทิศทางกระดาษออกและปรับตั้งล้อรับกระดาษออก (ล้อสโลดาวน์) ให้รับกระดาษได้พอดี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



1. การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)



2. การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



3. การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ