หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์คุณภาพงานทำเล่มหนังสือปกอ่อนและเสนอแนะการแก้ปัญหาการทำเล่มหนังสือปกอ่อน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-AFP-3-070ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์คุณภาพงานทำเล่มหนังสือปกอ่อนและเสนอแนะการแก้ปัญหาการทำเล่มหนังสือปกอ่อน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้าช่างทำเล่มหนังสือปกอ่อน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
              มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์คุณภาพงานไสสันทากาว โดยวิเคราะห์หาสาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพ ได้แก่  สมบัติของกาว  การใช้เครื่องเย็บลวด เครื่องเจาะรู  การใช้เลือกวัสดุ กาว ลวดเย็บ ที่เหมาะสม และใช้เครื่องเย็บลวดได้ถูกต้อง  รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในงานทำเล่มหนังสือที่เกิดขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้ปฏิบัติงานทำเล่มหนังสือปกอ่อนระดับฝีมือเฉพาะทาง

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
403071

วิเคราะห์คุณภาพวัสดุที่ใช้ในการทำเล่มหนังสือปกอ่อน

1.1 ทดสอบสมบัติการใช้งานของวัสดุทำเล่มได้ถูกต้อง

403071.01 158755
403071

วิเคราะห์คุณภาพวัสดุที่ใช้ในการทำเล่มหนังสือปกอ่อน

1.2 เลือกใช้วัสดุทำเล่มที่เหมาะสมกับลักษณะหนังสือที่จะทำเล่มได้ถูกต้อง

403071.02 158756
403072

วิเคราะห์ปัญหางานทำเล่มหนังสือปกอ่อนและเสนอแนะแนวทางแก้ไข

1.1 วิเคราะห์ปัญหางานทำเล่มหนังสือที่เกิดจากวัสดุทำเล่มและเสนอแนะแนวทางแก้ไขได้ถูกต้อง

403072.01 158757
403072

วิเคราะห์ปัญหางานทำเล่มหนังสือปกอ่อนและเสนอแนะแนวทางแก้ไข

1.2 วิเคราะห์ปัญหางานทำเล่มหนังสือที่เกิดจากการใช้เครื่องเย็บลวดและเสนอแนะแนวทางแก้ไขได้ถูกต้อง

403072.02 158758

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการทำเล่มแบบเย็บลวดมาไม่น้อยกว่า 3 ปี



2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 40305 ตรวจสอบคุณภาพงานทำเล่มหนังสือปกอ่อนหลังตัดเจียน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการทดสอบสมบัติการใช้งานของวัสดุทำเล่ม



2. ความสามารถในการเลือกใช้วัสดุทำเล่มให้เหมาะสมกับลักษณะหนังสือที่จะทำเล่ม



3. ความสามารถในวิเคราะห์ปัญหาในงานทำเล่มหนังสือที่เกิดจากคุณภาพวัสดุทำเล่ม



4. ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาในงานทำเล่มหนังสือที่เกิดจากการใช้เครื่องเย็บลวด



5. ความสามารถในการเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในงานทำเล่มหนังสือได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องเย็บลวด



2.  ความรู้เกี่ยวกับประเภทและสมบัติการใช้งานของวัสดุทำเล่ม



3.  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบสมบัติการใช้งานของวัสดุทำเล่ม



4.  ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำเล่มหนังสือ



5.  ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องเย็บลวด



6.  ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการวิเคราะห์คุณภาพ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. บันทึกรายการจากการสังเกต



      2.  บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



      3.  รายงานผลการวิเคราะห์ปัญหางานทำเล่มหนังสือ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1.  แบบทดสอบ



     2. แบบสัมภาษณ์



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



            N/A



(ง) วิธีการประเมิน



        1. การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์



       2. การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต รายงานผลการวิเคราะห์ปัญหางานทำเล่มหนังสือ และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ



            1.  สมบัติของวัสดุทำเล่มที่มีผลต่อการทำเล่มที่ควรทดสอบ



            2.  การเลือกใช้วัสดุทำเล่มต้องเหมาะสมกับลักษณะหนังสือ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



           N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)



18.2 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ