หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-4-255ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ที่มีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน มีทักษะทางความคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย ครอบคลุมการปฏิบัติงาน หาข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.1 สุ่มตัวอย่างสิ่งพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดโรงพิมพ์หรือมาตรฐานอื่น ๆ

303071.01 158362
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.2 เตรียมเครื่องมือวัดค่าการจับหมึกได้อย่างถูกต้อง

303071.02 158363
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.3 ปรับตั้งค่าเครื่องมือวัดได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

303071.03 158364
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.4 วัดค่าการจับหมึกได้อย่างถูกต้อง

303071.04 158365
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.5 อ่านค่าและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

303071.05 158366
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.6 ลำดับสีพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะของหมึกพิมพ์ และเครื่องพิมพ์

303071.06 158367
303071

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าการจับหมึก

1.7 ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด

303071.07 158368
303072

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเปรียบต่างภาพพิมพ์

2.1 สุ่มตัวอย่างสิ่งพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดโรงพิมพ์หรือมาตรฐานอื่น ๆ

303072.01 158369
303072

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเปรียบต่างภาพพิมพ์

2.2 เตรียมเครื่องมือวัดค่าความดำได้อย่างถูกต้อง

303072.02 158370
303072

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเปรียบต่างภาพพิมพ์

2.3 ปรับตั้งค่าเครื่องมือวัดค่าความดำได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

303072.03 158371
303072

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเปรียบต่างภาพพิมพ์

2.4 วัดค่าความดำในตำแหน่งที่ใช้คำนวณค่าความเปรียบต่างภาพพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง

303072.04 158372
303072

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเปรียบต่างภาพพิมพ์

2.5 คำนวณและวิเคราะห์ค่าความเปรียบต่างภาพพิมพ์

303072.05 158373
303072

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเปรียบต่างภาพพิมพ์

2.6 ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด

303072.06 158374
303073

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

3.1 เตรียมเครื่องมือวัดค่าความดำได้อย่างถูกต้อง

303073.01 158375
303073

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

3.2 ปรับตั้งค่าเครื่องมือวัดค่าความดำได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

303073.02 158376
303073

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

3.3 วัดค่าความดำในตำแหน่งที่ใช้คำนวณค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทาได้อย่างถูกต้อง

303073.03 158377
303073

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

3.4 คำนวณและวิเคราะห์ค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทาได้อย่างถูกต้อง

303073.04 158378
303073

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

3.5 วิเคราะห์และกำหนดค่าสมดุลสี (color balance) หรือสมดุลสีเทา (gray balance) ได้อย่างถูกต้อง

303073.05 158379
303073

การตรวจวัดและวิเคราะห์ความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

3.6 ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด

303073.06 158380
303074

การตรวจสอบคุณลักษณะงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

4.1 เตรียมเครื่องมือวัดค่าสีได้

303074.01 158381
303074

การตรวจสอบคุณลักษณะงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

4.2 ปรับตั้งค่าเครื่องมือวัดค่าสีได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

303074.02 158382
303074

การตรวจสอบคุณลักษณะงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

4.3 วัดค่าสีได้อย่างถูกต้อง

303074.03 158383
303074

การตรวจสอบคุณลักษณะงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

4.4 อ่านค่าและวิเคราะห์ค่าสีได้อย่างถูกต้อง

303074.04 158384
303074

การตรวจสอบคุณลักษณะงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

4.5 ปรับแต่งคุณภาพงานพิมพ์ตามปรู๊ฟได้

303074.05 158385
303074

การตรวจสอบคุณลักษณะงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

4.6ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัดค่าสี

303074.06 158386
303075

การวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

5.1 กำหนดแบบพิมพ์ทดสอบ (test form) เพื่อใช้วิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

303075.01 158387
303075

การวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

5.2 ควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงานพิมพ์

303075.02 158388
303075

การวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

5.3 วิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์ด้วยแผนภูมิแสดงคุณลักษณะการพิมพ์ (print characteristic curve) 

303075.03 158389
303075

การวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

5.4 ปรับตั้งและควบคุมปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพในการผลิตงานพิมพ์

303075.04 158390
303075

การวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

5.5 บันทึกและรายงานผล

303075.05 158391

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวส. ด้านการพิมพ์



2. ผ่าน 30309 ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซต



3. ผ่าน 30310 ความปลอดภัยในโรงพิมพ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. เลือกใช้งานแผ่นทดสอบมาตรฐานได้ถูกต้อง

  2. เตรียมเครื่องมือวัดตามคู่มือได้อย่างถูกต้องก่อนการใช้งาน

  3. ปรับตั้งเครื่องให้พร้อมก่อนการใช้งาน

  4. ใช้งานเครื่องมือวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์

  5. อ่านค่าและวิเคราะห์ผลการจับหมึกจากแผ่นทดสอบมาตรฐาน ค่าความเปรียบต่าง ค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทาได้

  6. การลำดับสีพิมพ์

  7. กำหนดสมดุลสี (color balance) หรือสมดุลสีเทา (gray balance) ของหมึกพิมพ์ได้

  8. อ่านค่าและวิเคราะห์ผลค่าความดำ และค่าความแตกต่างสีระหว่างงานพิมพ์และงานปรู๊ฟได้

  9. ตรวจสอบรายละเอียดงานพิมพ์ให้ถูกต้องตรงตามงานปรู๊ฟ

  10. การเลือกแบบพิมพ์ทดสอบถูกต้อง

  11. การกำหนดปัจจัยในการหาคุณลักษณะการพิมพ์ได้

  12. สร้างแผนภูมิแสดงคุณลักษณะการพิมพ์ได้

  13. อ่าน วิเคราะห์ และประเมินแผนภูมิแสดงคุณลักษณะการพิมพ์ได้

  14. การดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือวัด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การสุ่มตัวอย่างงานพิมพ์

  2. การใช้งานเครื่องมือวัดตามคู่มือการใช้งานเครื่อง

  3. ความรู้เรื่องแบบทดสอบมาตรฐาน

  4. คุณสมบัติหมึกพิมพ์

  5. ความรู้พื้นฐานและทฤษฎีการวัดค่าการจับหมึกพิมพ์

  6. ขั้นตอนการวัดค่าการจับหมึก

  7. ค่ามาตรฐานและเกณฑ์มาตรฐานค่าการจับหมึกที่ถูกกำหนดไว้ เช่น มาตรฐานโรงพิมพ์ มาตรฐานสมาคมวิชาชีพ หรือมาตรฐานสากลต่าง ๆ

  8. ความรู้พื้นฐานและทฤษฎีการหาค่าความเปรียบต่าง

  9. ขั้นตอนการหาค่าความเปรียบต่าง

  10. ค่ามาตรฐานและเกณฑ์มาตรฐานค่าความเปรียบต่างที่ถูกกำหนดไว้ เช่น ข้อกำหนดโรงพิมพ์ มาตรฐานสมาคมวิชาชีพ หรือมาตรฐานสากลต่าง ๆ

  11. ความรู้พื้นฐานและทฤษฎีการหาค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

  12. ขั้นตอนการหาค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

  13. ความรู้เรื่องความดำและการหาความแตกต่างสี

  14. ขั้นตอนการวัดค่าความดำและค่าสี

  15. ค่ามาตรฐานและเกณฑ์มาตรฐานค่าความดำและความแตกต่างสีเช่น มาตรฐานโรงพิมพ์ มาตรฐานสมาคมวิชาชีพ หรือมาตรฐานสากลต่าง ๆ

  16. การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ออฟเซต

  17. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาลักษณะการพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. การจัดเตรียมเครื่องมือวัด

  2. ผลการปรับตั้งเครื่อง

  3. ผลเลือกตำแหน่งการวัดค่าการจับหมึก ค่าความเปรียบต่าง

  4. ผลอ่านค่าและวิเคราะห์ค่า

  5. เครื่องมือวัดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

  6. การลำดับสีพิมพ์

  7. ผลคำนวณและวิเคราะห์ค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

  8. ชิ้นงานที่ได้รับการแก้ไขความบกพร่องหรือความผิดเพี้ยนสีของหมึกพิมพ์

  9. การวิเคราะห์ค่าความแตกต่างสี

  10. แผ่นพิมพ์ ok sheet มีคุณภาพงานพิมพ์ใกล้เคียงกับงานปรู๊ฟ

  11. การกำหนดปัจจัยในการหาคุณลักษณะการพิมพ์

  12. ผลการวิเคราะห์แผนภูมิแสดงคุณลักษณะการพิมพ์

  13. การบันทึกและการรายงานผล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. การเลือกใช้งานอุปกรณ์เพื่อการวัดค่า

  2. หลักการและเหตุผลในการวัดค่าต่าง ๆ

  3. วิธีการวัดค่าการจับหมึกค่าความเปรียบต่าง

  4. มาตรฐานและเกณฑ์ค่าการจับหมึกค่าความเปรียบต่าง

  5. การเลือกใช้และการวิเคราะห์แบบทดสอบมาตรฐาน (test form)

  6. วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด

  7. หลักการและเหตุผลในการวัดค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

  8. วิธีการหาค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

  9. มาตรฐานและเกณฑ์ค่าความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา

  10. หลักการหาสมดุลสี (color balance) หรือสมดุลสีเทา (gray balance)

  11. การแก้ไขความบกพร่องหรือความผิดเพี้ยนสีของหมึกพิมพ์

  12. หลักการและเหตุผลในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

  13. วิธีการวัดค่าความดำ และการหาค่าความแตกต่างสี

  14. มาตรฐานและเกณฑ์การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ

  15. วิธีการดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์

  16. แนวทางการนำผลวิเคราะห์คุณลักษณะการพิมพ์ไปใช้กำหนดหรือใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียม การดำเนินการ และการเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  2. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ หลักการเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ และเทคนิคการเขียนรายงาน



(ง) วิธีการประเมิน



          N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(คำแนะนำ




  1. เครื่องมือวัดค่า เช่น เครื่องวัดความดำ (densitometer) เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมีเตอร์ (spectrodensitometer)

  2. การเตรียมเครื่องมือวัด ได้แก่ การอุ่นเครื่องและการปรับเทียบค่ามาตรฐาน (calibration)

  3. การปรับตั้งเครื่อง ได้แก่ การเลือกฟิลเตอร์ต้องเป็นฟิลเตอร์สำหรับสีที่สองเท่านั้น การตั้งสีขาวอ้างอิง

  4. ตำแหน่งในการวัดค่าค่าการจับหมึกคือ แถบควบคุมการจับหมึกในแบบทดสอบมาตรฐาน (test form)

  5. ค่าการจับหมึก คือ ค่าความสามารถของหมึกพิมพ์สีที่สองในการพิมพ์ซ้อนทับหมึกพิมพ์สีแรก คำนวณได้จากสมการของ พรูซิล (Preucil’s equation)



ค่าการจับหมึก (%) = [(DOP – D1) / D2] x 100



โดยที่



DOPคือ ค่าความดำพื้นทึบของการพิมพ์ซ้อนทับทั้งสองสี



D1คือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีแรก



D2 คือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีที่สอง




  1. ค่าการจับหมึกของแถบสีแดงไม่น้อยกว่า 70% แถบสีน้ำเงินไม่น้อยกว่า 75% และแถบสีเขียวไม่น้อยกว่า 80%

  2. ตำแหน่งในการวัดความเปรียบต่างภาพพิมพ์ คือ พื้นทึบ (พื้นที่สกรีน 100%) และสกรีน (พื้นที่สกรีน 75 – 80%) บนแถบควบคุม (control strip)

  3. ค่าความเปรียบต่างภาพพิมพ์ คือ การวัดความสามารถในการเก็บรายละเอียดบริเวณเงา (shadow) ของสิ่งพิมพ์ คำนวณได้จากสมการของ Shinner e Renzer’s equation



ค่าความเปรียบต่างภาพพิมพ์ = [(DS-Dt) / DS] x 100



โดยที่



DSคือ ค่าความดำพื้นทึบ (พื้นที่สกรีน 100%)



Dt คือ ค่าความดำพื้นที่สกรีน 75% หรือ 80%




  1. ค่าความเปรียบต่างของสีดำไม่น้อยกว่า 50% และสีน้ำเงินเขียว ม่วงแดง และเหลืองไม่น้อยกว่า 40% หรือเป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์หรือมาตรฐานทางการพิมพ์อื่น ๆ

  2. ตำแหน่งในการวัดความความเพี้ยนของสีหมึกและความเป็นเทา คือ พื้นทึบ (พื้นที่สกรีน 100%) ของสีน้ำเงินเขียว (C) สีม่วงแดง (M) และสีเหลือง (Y) บนแถบควบคุม (control strip)

  3. ค่าความเพี้ยนของสีหมึก (hue error) แสดงถึงค่าความผิดพลาดของสีหมึกพิมพ์ที่ใช้ทั่วไปกับสีหมึกพิมพ์ในอุดมคติ คำนวณได้จากสมการต่อไปนี้



ค่าความเพี้ยนของสีหมึก (%) = [(DM - DL) / (DH - DL)] x 100



โดยที่



DLคือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว หรือม่วงแดง หรือเหลือง ที่มีค่าต่ำสุด



DMคือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว หรือม่วงแดง หรือเหลือง ที่มีค่าปานกลาง



DHคือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว หรือม่วงแดง หรือเหลือง ที่มีค่าสูงสุด




  1. ค่าความเป็นเทา (grayness) คือ ความเป็นสีเทาที่เกิดจากการความไม่บริสุทธิ์ของหมึกพิมพ์ หรือการปนเปื้อนของสีอื่น ๆ ในหมึกพิมพ์ คำนวณได้จากสมการต่อไปนี้



ค่าความเป็นเทา (%) = (DL / DH) x 100



โดยที่



DLคือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว หรือม่วงแดง หรือเหลือง ที่มีค่าต่ำสุด



DHคือ ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว หรือม่วงแดง หรือเหลือง ที่มีค่าสูงสุด




  1. ค่าความเพี้ยนของสีหมึกและค่าความเป็นเทาเป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์หรือมาตรฐานทางการพิมพ์อื่น ๆ ที่โรงพิมพ์เลือกใช้

  2. สมดุลสี (color balance) หรือสมดุลสีเทา (gray balance) คือ การแก้ไขความบกพร่องสีหรือความผิดเพี้ยนสีของหมึกพิมพ์

  3. การตรวจสอบงานพิมพ์กับงานปรู๊ฟ คือ การตรวจสอบสี การตรวจสอบรายละเอียดงานพิมพ์ (รายละเอียดภาพ) การตรวจสอบค่าความดำ

  4. เครื่องมือวัดค่า เช่น เครื่องวัดความดำ (densitometer) เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมีเตอร์ (spectrodensitometer) เครื่องสเปกโทรโฟโต้มีเตอร์(spectrophotometer)

  5. การเตรียมเครื่องมือวัด ได้แก่ การอุ่นเครื่องและการปรับเทียบค่ามาตรฐาน (calibration)

  6. การปรับตั้งเครื่อง ได้แก่ การเลือกแหล่งกำเนิดแสง การกำหนดมุมมองผู้สังเกตการณ์ แบบจำลองสี

  7. ตำแหน่งในการวัดค่า คือ แถบควบคุม (controlstrip)

  8. ค่าความดำและค่าความแตกต่างสีให้เป็นไปตามข้อกำหนดโรงพิมพ์ หรือมาตรฐานสมาคมวิชาชีพ หรือมาตรฐานสากลต่าง ๆ

  9. แบบพิมพ์ทดสอบ ได้แก่ แบบพิมพ์ที่สร้างขึ้น ประกอบขึ้น หรือใช้แบบพิมพ์ทดสอบตามมาตรฐานสากล

  10. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ กระดาษพิมพ์ หมึกพิมพ์ วัสดุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น แม่พิมพ์ ผ้ายาง น้ำยาฟาวน์เทน การปรับตั้งเครื่องพิมพ์ การควบคุมการพิมพ์และสภาวะการพิมพ์

  11. คุณลักษณะการพิมพ์ คือ การวิเคราะห์การผลิตน้ำหนักสีโดยรวมของภาพพิมพ์ (tone value increase) โดยอาศัยการวิเคราะห์แผนภูมิแสดงคุณลักษณะการพิมพ์ (print characteristic curve)

  12. การบันทึกและรายงานผลสำหรับใช้เป็นค่าอ้างอิงในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ภายในโรงพิมพ์

  13. การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด ได้แก่ การทำความสะอาด การตรวจสอบสภาพด้วยตาเปล่า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



ยินดีต้อนรับ