หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-3-254ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างตรวจสอบคุณภาพ ช่างพิมพ์ออฟเซต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์เบื้องต้น โดยปฏิบัติตามคู่มือหรือขั้นตอนที่โรงพิมพ์กำหนดไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
303061

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

1.1 สุ่มตัวอย่างสิ่งพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดโรงพิมพ์หรือมาตรฐานอื่น ๆ

303061.01 158346
303061

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

1.2 เตรียมเครื่องมือวัดค่าความดำพื้นทึบได้อย่างถูกต้อง

303061.02 158347
303061

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

1.3 ปรับตั้งค่าเครื่องมือวัดได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

303061.03 158348
303061

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

1.4 วัดค่าความดำพื้นทึบด้วยเครื่องมือวัดค่าความดำพื้นทึบได้อย่างถูกต้อง

303061.04 158349
303061

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

1.5 อ่านค่าและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

303061.05 158350
303061

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าความดำพื้นทึบ

1.6 ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด

303061.06 158351
303062

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

2.1 สุ่มตัวอย่างสิ่งพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดโรงพิมพ์หรือมาตรฐานอื่น ๆ

303062.01 158352
303062

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

2.2 เตรียมเครื่องมือวัดค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวมได้อย่างถูกต้อง

303062.02 158353
303062

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

2.3 ปรับตั้งค่าเครื่องมือวัดได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

303062.03 158354
303062

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

2.4 วัดค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวมได้อย่างถูกต้อง

303062.04 158355
303062

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

2.5 อ่านค่าและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

303062.05 158356
303062

การตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

2.6 ดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด

303062.06 158357
303063

การปรับความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์แต่ละสี

3.1 สุ่มตัวอย่างสิ่งพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดโรงพิมพ์หรือมาตรฐานอื่น ๆ

303063.01 158358
303063

การปรับความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์แต่ละสี

3.2 ใช้เครื่องมือวัดความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง

303063.02 158359
303063

การปรับความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์แต่ละสี

3.3 กำหนดตำแหน่งการอ่านค่าระยะความเที่ยงตรงได้ถูกต้อง

303063.03 158360
303063

การปรับความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์แต่ละสี

3.4 อ่านค่าและปรับให้ตำแหน่งพิมพ์ของแต่ละสีให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน

303063.04 158361

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวช. ด้านการพิมพ์



2. ผ่าน 30309 ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซต



3. ผ่าน 30310 ความปลอดภัยในโรงพิมพ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. เตรียมเครื่องมือวัดตามคู่มือได้อย่างถูกต้องก่อนนำมาใช้งาน

  2. ปรับตั้งเครื่องให้พร้อมก่อนการใช้งาน

  3. ใช้งานเครื่องมือวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์

  4. อ่านค่าและวิเคราะห์ผลได้

  5. การดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือวัด

  6. เลือกตำแหน่งการวัดค่าความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง

  7. การปรับตั้งความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การสุ่มตัวอย่างงานพิมพ์

  2. การใช้งานเครื่องมือวัดตามคู่มือการใช้งานเครื่อง

  3. ความรู้พื้นฐานและทฤษฎีการวัดค่าความดำพื้นทึบ

  4. ขั้นตอนการวัดค่าความดำพื้นทึบ

  5. ค่ามาตรฐานความดำพื้นทึบที่ถูกกำหนดไว้ เช่น มาตรฐานโรงพิมพ์ มาตรฐานจากสมาคมวิชาชีพ หรือมาตรฐานสากล

  6. ความรู้พื้นฐานและทฤษฎีการวัดค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

  7. ขั้นตอนการวัดค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและการคำนวณค่าเม็ดกสรีนบวม

  8. แถบควบคุมสำหรับการวัดค่าการเหลื่อม

  9. ขั้นตอนการปรับตั้งความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. การจัดเตรียมเครื่องมือวัด

  2. ผลการปรับตั้งเครื่อง

  3. ผลเลือกตำแหน่งการวัดค่า

  4. ผลอ่านค่าและวิเคราะห์ค่า

  5. เครื่องมือวัดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

  6. ผลการปรับตั้งตำแหน่งพิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. การเลือกใช้งานอุปกรณ์เพื่อการวัดค่า

  2. หลักการและเหตุผลในการวัดค่าความดำพื้นทึบ ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

  3. วิธีการวัดค่าความดำพื้นทึบค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม

  4. เกณฑ์ค่าความดำพื้นทึบของหมึกพิมพ์ ค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวมในแต่ละสี

  5. วิธีการปรับตั้งตำแหน่งพิมพ์

  6. เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งพิมพ์

  7. วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดค่าความดำพื้นทึบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียม การดำเนินการ และการเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

  2. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ หลักการเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ และเทคนิคการเขียนรายงาน



(ง) วิธีการประเมิน



    N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. เครื่องมือวัดค่าความดำพื้นทึบ เช่น เครื่องวัดความดำ (densitometer) เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมีเตอร์ (spectrodensitometer)

  2. การเตรียมเครื่องมือวัด ได้แก่ การอุ่นเครื่องและการปรับเทียบค่ามาตรฐาน (calibration)

  3. การปรับตั้งสภาวะการวัดค่า ได้แก่ การเลือกฟิลเตอร์ การตั้งสีขาวอ้างอิง

  4. ตำแหน่งในการวัดค่าความดำพื้นทึบ คือ วัดพื้นทึบ (100%) ของหมึกพิมพ์ในแต่ละสีบนแถบควบคุม (control strip)

  5. ค่าความดำพื้นทึบหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว ม่วงแดง และเหลืองมีค่า 1.45 ± 0.10 และหมึกพิมพ์สีดำมีค่า 1.90 ± 0.20

  6. การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องวัด ได้แก่ การทำความสะอาด การตรวจสอบสภาพด้วยตาเปล่า

  7. ตำแหน่งในการวัดค่าพื้นที่เม็ดสกรีนและเม็ดสกรีนบวม คือ การวัดพื้นที่หมึกพิมพ์ในแต่ละสีบนแถบควบคุม (control strip)

  8. ค่าเม็ดสกรีนบวมคือผลต่างของค่าพื้นที่เม็ดสกรีนที่กำหนดและพื้นที่เม็ดสกรีนที่อ่านค่าได้

  9. ค่าเม็ดสกรีนบวมของหมึกพิมพ์สีน้ำเงินเขียว ม่วงแดง และเหลืองมีค่า 15 ± 2 และหมึกพิมพ์สีดำมีค่า 18 ± 2

  10. เครื่องมือตรวจสอบความเที่ยงตรงของตำแหน่งพิมพ์เช่น กล้องส่องเม็ดสกรีน แว่นขยาย เป็นต้น

  11. ระยะเหลื่อมของตำแหน่งฉากพิมพ์ของทุกคู่สีมีค่าตามที่โรงพิมพ์หรือมาตรฐานกำหนด



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



ยินดีต้อนรับ