หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมวัสดุการพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-2-260ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมวัสดุการพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานเตรียมวัสดุทางการพิมพ์สำหรับงานพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน  และปรับตั้งเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน ภายใต้การกำกับดูแลของช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
304011

เตรียมกระดาษ

1.1ตรวจสอบชนิดกระดาษให้ถูกต้องตามใบงาน

304011.01 158520
304011

เตรียมกระดาษ

1.2  ตรวจสอบน้ำหนักพื้นฐาน (basis weight) กระดาษให้ถูกต้องตามใบงาน

304011.02 158521
304011

เตรียมกระดาษ

1.3   ตรวจสอบความกว้างม้วน (web width) ให้ถูกต้องตามใบงาน

304011.03 158522
304011

เตรียมกระดาษ

1.4    ตรวจสอบสภาพม้วนกระดาษให้สมบูรณ์ 

304011.04 158523
304011

เตรียมกระดาษ

1.5 ปรับสภาพม้วนกระดาษให้พร้อมนำไปพิมพ์

304011.05 158524
304012

ใส่กระดาษเข้า Reel stand

2.1  ใส่ม้วนกระดาษให้ถูกต้องตรงกับทิศทางการคลี่ม้วน

304012.01 158528
304012

ใส่กระดาษเข้า Reel stand

2.2   ติดเทปกาวในตำแหน่งที่ถูกต้องและป้อนเข้าเครื่องพิมพ์ได้ราบรื่น  ต่อเนื่อง

304012.02 158529
304012

ใส่กระดาษเข้า Reel stand

2.3 ปรับตำแหน่งม้วนกระดาษ ซ้าย-ขวาให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

304012.03 158530
304013

เตรียมน้ำยาฟาวน์เทนและใส่น้ำยาฟาวน์เทนในเครื่องพิมพ์

3.1 ผสมน้ำยาฟาวน์เทนให้ถูกต้องตามสัดส่วนที่กำหนด

304013.01 158531
304013

เตรียมน้ำยาฟาวน์เทนและใส่น้ำยาฟาวน์เทนในเครื่องพิมพ์

3.2 วัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ถูกต้อง

304013.02 158532
304013

เตรียมน้ำยาฟาวน์เทนและใส่น้ำยาฟาวน์เทนในเครื่องพิมพ์

3.3 วัดค่าความนำไฟฟ้า (conductivity) ได้ถูกต้อง

304013.03 158533
304013

เตรียมน้ำยาฟาวน์เทนและใส่น้ำยาฟาวน์เทนในเครื่องพิมพ์

3.4 วัดอุณหภูมิน้ำยาฟาวน์เทน ได้ถูกต้องตามสภาพใช้งาน

304013.04 158534
304014

เตรียมแม่พิมพ์

4.1 ตรวจสอบความถูกต้อง สภาพความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ โดย ขนาดถูกต้อง แม่พิมพ์ ไม่บุบ งอ

304014.01 158535
304014

เตรียมแม่พิมพ์

4.2 งอพับแม่พิมพ์ได้เรียบร้อย เหมาะสมกับการนำไปใส่ในเครื่องพิมพ์

304014.02 158536
304014

เตรียมแม่พิมพ์

4.3 แม่พิมพ์ให้ถูกต้องตามตำแหน่งที่จะใช้พิมพ์

304014.03 158537

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ม.6 หรือ ปวช.


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการเตรียมกระดาษสำหรับการพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

  2. ความสามารถในการตรวจสอบสมบัติกระดาษ และสภาพความพร้อมของกระดาษม้วนก่อนป้อนเข้าเครื่องพิมพ์

  3. ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบสมบัติกระดาษที่เหมาะสมได้

  4. ความสามารถในการใส่ม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้ถูกต้อง สามารถวิ่งกระดาษได้ราบรื่น ต่อเนื่อง ไม่เกิดปัญหาในการพิมพ์

  5. ความสามารถในการผสมน้ำยาฟาวน์เทนให้มีสมบัติเหมาะสมในการใช้พิมพ์

  6. ความสามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมกับลักษณะของงานที่ต้องการตรวจสอบได้

  7. ความสามารถในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการวัดค่าต่างๆได้

  8. ความสามารถในการเตรียมแม่พิมพ์สำหรับการพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติกระดาษ

  2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการทดสอบสมบัติกระดาษ

  3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับตั้งส่วนป้อนกระดาษของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

  4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดและตรวจสอบวัสดุการพิมพ์ ได้แก่  กระดาษ  น้ำยาฟาวน์เทน และแม่พิมพ์

  5. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของน้ำยาฟาวน์เทนและการทดสอบสมบัติการใช้งาน ได้แก่ ค่าความเป็นกรด เบส ค่าความนำไฟฟ้า

  6. ความรู้เกี่ยวกับค่ามาตรฐานของโรงพิมพ์สำหรับการทดสอบสมบัติวัสดุทางการพิมพ์ ได่แก่  กระดาษ หมึกพิมพ์ และน้ำยาฟาวน์เทน

  7. ความรู้เกี่ยวกับแม่พิมพ์รวมทั้งเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมการพิมพ์

  8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. บันทึกรายการจากการสังเกต

  2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

  3. ผลจากการเตรียมกระดาษได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

  4. ผลจากการตรวจสอบน้ำหนักพื้นฐานของกระดาษ และขนาดกระดาษได้ถูกต้อง

  5. ผลจากการตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ของม้วนกระดาษ

  6. ผลจากการใส่ม้วนกระดาษถูกต้องตรงกับทิศทางการคลี่ม้วน และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

  7. ผลจากการเดินม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์อฟเซตป้อนม้วนได้ราบรื่น มีความตึงเหมาะสม

  8. ผลจากการผสมน้ำยาฟาวน์เทน

  9. ผลการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์

  10. ผลจากการเลือกสีของแม่พิมพ์ได้ถูกต้องกับลำดับสีของโมพิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. แบบสัมภาษณ์รายการวัสดุที่ต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับงานพิมพ์

  2. แบบทดสอบการเตรียมวัสดุทางการพิมพ์ ได้แก่ กระดาษ ใส่ม้วนกระดาษในเครื่อง น้ำยาฟาวน์เทน และแม่พิมพ์ให้มีสมบัติการใช้งานที่ถูกต้อง เหมาะสม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1.  สัมภาษณ์

  2. ปฏิบัติให้คณะกรรมการดู



(ง) วิธีการประเมิน



     1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การสัมภาษณ์



     2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานตามแบบทดสอบปฏิบัติที่กำหนด และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. เตรียมวัสดุทางการพิมพ์โดยดูจากใบสั่งงานของโรงพิมพ์และนำมาปฏิบัติตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

  2. ตรวจสอบน้ำหนักพื้นฐานกระดาษ ขนาดกระดาษ ให้ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ เช่น เครื่องชั่งกระดาษ สำหรับตรวจสอบน้ำหนักพื้นฐานกระดาษ  ไมโครมิเตอร์ สำหรับวัดความหนากระดาษ  ไม้บรรทัดสำหรับวัดขนาดความกว้างม้วน

  3. เลือกชนิดกระดาษใช้การสังเกตและหรือสัมผัสผิวกระดาษเพื่อแยกชนิดของกระดาษ ถ้าไม่มีป้ายกำกับม้วน

  4. การใส่ม้วนกระดาษถูกต้องตรงกับทิศทางการคลี่ม้วน อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และการเดินม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้ราบรื่น มีความตึงเหมาะสม

  5. ตรวจสอบสมบัติของน้ำยาฟาวน์เทนโดยใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ ได้แก่ มาตรวัดค่า pH มิเตอร์ และมาตรวัดค่านำไฟฟ้า 

  6. ค่า pH ต้องอยู่ในช่วง 4.5-5.5 หรือตามมาตรฐานของโรงพิมพ์

  7. ผสมน้ำยาฟาวน์เทนในอัตราส่วนที่ผู้ผลิตได้กำหนด  โดยใช้อุปกรณ์ตวงวัดที่เหมาะสม

  8. ตรวจสอบอุณหภูมิและปรับอุณหภูมิ โดยใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิในรูปแบบที่เหมาะสม

  9. ตรวจสอบค่ากระด้างของน้ำที่นำมาผสมน้ำย่าฟาวน์เทน โดยใช้เครื่องมือวัดค่าความกระด้างของน้ำ 

  10. ตรวจสอบความถูกต้องของแม่พิมพ์ โดยตรวจสอบกับใบสั่งงานพิมพ์ และแผ่นปรู๊ฟตามแบบที่กำหนดให้

  11. ตรวจสอบแม่พิมพ์ โดยใช้การสังเกตความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ ตรวจสอบเครื่องหมายต่าง ๆ ของแม่พิมพ์ และแถบควบคุมต่าง ๆ บนแม่พิมพ์มีความถูกต้องตามที่กำหนด

  12. เตรียมแม่พิมพ์ที่พร้อมในการติดตั้งในเครื่องพิมพ์  โดยการพับขอบแม่พิมพ์โดยการใช้เครื่องพับแม่พิมพ์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ตรวจสอบชนิดกระดาษจากป้ายกำกับม้วนกระดาษให้ตรงตามที่ระบุในใบกำกับงาน (ถ้ายังมีป้ายกำกับม้วนกระดาษ)

  2. ตรวจสอบน้ำหนักกระดาษ โดยตรวจสอบน้ำหนักพื้นฐาน ( basis  weight) ให้ถูกต้องตามใบงาน โดยดูจากป้ายกำกับม้วน

  3. ตรวจสอบความกว้างม้วน (web width) โดยการใช้เทปวัดขนาด

  4. ตรวจสอบสภาพม้วนโดยดูความกลมของม้วน รอยบุบ รอยชำรุดของม้วน รอยฉีกขาดของม้วน รอยกดของแขนรถหนีบกระดาษ

  5. การปรับสภาพม้วนกระดาษในกรณีที่ม้วนกระดาษมีปัญหา ทำได้โดยการกรีดหน้าม้วนตามจำนวนกระดาษที่มีปัญหาในจำนวนที่เหมาะสม

  6. การใส่ม้วนกระดาษถูกต้องตรงกับทิศทางการคลี่ม้วน อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และการเดินม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้ราบรื่น มีความตึงเหมาะสม

  7. ผสมน้ำยาฟาวน์เทนให้ถูกต้องตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตน้ำยาฟาวน์เทนกำหนด โดยดูจากป้ายกำกับ

  8. มีการใช้เครื่องมือวัดความเป็นกรด-ด่าง pH ได้ถูกต้อง

  9. มีการใช้เครื่องมือวัดค่าความนำไฟฟ้า Conductivity ได้ถูกต้อง

  10. มีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิได้ถูกต้อง

  11. ตรวจสอบความถูกต้อง สภาพความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ โดยดูจากใบกำกับงาน รอยบุบ รอยขีดข่วน

  12. มีการใช้เครื่องพับแม่พิมพ์ได้ถูกต้อง

  13. จัดวางแม่พิมพ์ให้ถูกต้องตามตำแหน่ง โดยดูจากใบงานและรายละเอียดในแม่พิมพ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



ยินดีต้อนรับ