หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนคุณภาพและควบคุมการพิมพ์สกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-4-232ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนคุณภาพและควบคุมการพิมพ์สกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์สกรีนชำนาญการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       มีความรู้ความชำนาญการในการวางแผนการพิมพ์สกรีน ครอบคลุมการกำหนดผังการไหลของงาน การกำหนดจุดควบคุมและตรวจสอบ การกำหนดค่าควบคุมการผลิต การเลือกเครื่องมือการควบคุมคุณภาพ ตลอดจนการควบคุมการพิมพ์สกรีนตามแผนควบคุมคุณภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์สกรีน        

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
301111

วางแผนคุณภาพการพิมพ์สกรีน

1.1  กำหนดผังการไหลของการพิมพ์สกรีน

301111.01 158164
301111

วางแผนคุณภาพการพิมพ์สกรีน

1.2  กำหนดจุดควบคุมและจุดตรวจสอบ

301111.02 158165
301111

วางแผนคุณภาพการพิมพ์สกรีน

1.3  กำหนดค่าควบคุมกระบวนการผลิต

301111.03 158166
301111

วางแผนคุณภาพการพิมพ์สกรีน

1.4 กำหนดเครื่องมือการควบคุมคุณภาพ

301111.04 158167
301112

ควบคุมการพิมพ์สกรีนตามแผนคุณภาพ

2.1  ติดตามและกำกับการพิมพ์สกรีนตามแผนคุณภาพ

301112.01 158168
301112

ควบคุมการพิมพ์สกรีนตามแผนคุณภาพ

2.2   รวบรวมรายงานการผลิต

301112.02 158169
301112

ควบคุมการพิมพ์สกรีนตามแผนคุณภาพ

2.3  วิเคราะห์และสรุปผล

301112.03 158170
301112

ควบคุมการพิมพ์สกรีนตามแผนคุณภาพ

2.4 เขียนรายงานและเสนอแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

301112.04 158171

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

        มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์สกรีนมาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ด้านการพิมพ์ขึ้นไป และผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงาน และหน่วยสมรรถนะ 30109 การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์เบื้องต้น (ในกรณีผู้เข้าทดสอบไม่ผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงาน และหน่วยสมรรถนะ 30109 การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์เบื้องต้น มาก่อน ให้จัดการทดสอบร่วมกับการสอบสมรรถนะนี้)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การกำหนดผังการไหลของงาน

  2. การกำหนดจุดควบคุมและจุดตรวจสอบในขั้นตอนการพิมพ์สกรีน

  3. การกำหนดค่าควบคุมกระบวนการผลิต

  4. เทคนิคการควบคุมคุณภาพการพิมพ์

  5. การรายงานผลการดำเนินงานพิมพ์สกรีน

  6. การรายงานการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1.  



1. การควบคุมคุณภาพการผลิต



2. การบริหารคุณภาพ



3. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต



4. การพิมพ์สกรีน



5. สถิติและคณิตศาสตร์เบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. บันทึกรายการจากการสังเกต

  2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

  3. แผนคุณภาพการพิมพ์สกรีน

  4. รายงานผลการดำเนินงานพิมพ์สกรีน

  5. รายงานการเสนอแนะแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม



(ง) วิธีการประเมิน



            ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. ผังการไหลของงาน (flowchart) คือ ผังแสดงการทำงานและกระบวนการพิมพ์สกรีน

  2. การกำหนดจุดควบคุมและจุดตรวจสอบ ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการทำงานที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและกระบวนการพิมพ์สกรีน

  3. ค่าควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิต ได้แก่ การกำหนดช่วงการยอมรับการเบี่ยงเบน (deviation tolerance) และช่วงการยอมรับการแปรปรวน (variation tolerance)

  4. เครื่องมือควบคุมคุณภาพ เช่น ผังกระบวนการ ผังการไหลของงาน แผนภูมิต่างๆ การใช้สถิติและคณิตศาสตร์เบื้องต้น เป็นต้น



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     N/A                  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

          ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ