หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์สกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-3-227ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์สกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ช่างพิมพ์สกรีนอาวุโส



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์ และการแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์สกรีนได้อย่างชำนาญ โดยนำเอาความรู้และประสบการณ์มาใช้ มีความชำนาญการพิมพ์งานมากกว่า 1 สี ร่วมไปถึงความรู้ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
301061 การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการพิมพ์ 1.1 ตรวจสอบตำแหน่งการพิมพ์ ของงานพิมพ์สอดสี 301061.01 113467
301061 การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการพิมพ์ 1.2 ตรวจสอบสี (เฉดสี ค่าความแตกต่างสีความทึบแสง) 301061.02 113468
301061 การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการพิมพ์ 1.3 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของภาพพิมพ์ 301061.03 113469
301061 การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการพิมพ์ 1.4 ตรวจสอบการยึดติดของหมึกพิมพ์กับวัสดุใช้พิมพ์ 301061.04 113470
301062 การแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์ 2.1 การปรับตั้งความหนาหมึกพิมพ์ 301062.01 113471
301062 การแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์ 2.2 การแก้ปัญหาแม่พิมพ์กาวอัดหลุดหรือรูรั่ว 301062.02 113472
301062 การแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์ 2.3 การแก้ปัญหาสอดสีไม่ตรง 301062.03 113473

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์สกรีนมาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ด้านการพิมพ์ขึ้นไป และผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงาน และหน่วยสมรรถนะ 30109 การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์เบื้องต้น (ในกรณีผู้เข้าทดสอบไม่ผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงาน และหน่วยสมรรถนะ 30109 การบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์เบื้องต้น มาก่อน ให้จัดการทดสอบร่วมกับการสอบสมรรถนะนี้)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  อ่านใบสั่งงานได้



2.  ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพงานระหว่างการพิมพ์ตั้งแต่ 1 สีขึ้นไป



3.  การแก้ไขปัญหาระหว่างการพิมพ์งานตั้งแต่ 1 สีขึ้นไป



4.  การเทียบงานพิมพ์กับใบปรู๊ฟ 



5. การใช้เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับงานพิมพ์สกรีน



2.ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์



3. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสี การพิมพ์สอดสี และการหาค่าความผิดเพี้ยนสี



4. ความรู้ด้านหมึกพิมพ์สกรีน



5. ความรู้ด้านปัญหาและวิธีการแก้ไขการพิมพ์สกรีน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกรายการจากการสังเกต



          2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



          3. งานพิมพ์ที่ได้และแบบบันทึกจำนวนการผลิต ของเสีย



          4. รายงานการแก้ไขปัญหางานพิมพ์



          5. ผลการบันทึกการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์



          6. งานพิมพ์เทียบกับแผ่น ok sheet



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



            ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค)คำแนะนำในการประเมิน



            การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม  



(ง) วิธีการประเมิน



            ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



1. การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ เป็นการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ต่าง ๆ ที่ได้ระบุเอาไว้ในใบสั่งงานเช่น การตรวจสอบเฉดสี ความทึบสีเป็นต้น



2. ตรวจสอบค่าความดำหมึกพิมพ์และค่าสี ได้โดยใช้เครื่องมือ spectrophotometer หรือ densitometer เป็นต้น



3. การตรวจสอบการยึดติดของหมึกพิมพ์ ทำได้โดยใช้เทปกาวลอกหมึกจากวัสดุใช้พิมพ์



4. การทดสอบความเที่ยงตรง ได้โดย กล้องส่องเม็ดสกรีนกำลังขยาย 10X,20X



5. การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ