หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การติดตั้งแม่พิมพ์เครื่องจักรและอุปกรณ์การพิมพ์สกรีนระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-2-225ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การติดตั้งแม่พิมพ์เครื่องจักรและอุปกรณ์การพิมพ์สกรีนระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในการติดตั้งแม่พิมพ์ เครื่องจักร และอุปกรณ์การพิมพ์สกรีนระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติทำตามขั้นตอนและวิธีการที่สถานประกอบการกำหนดได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
301041

เตรียมแม่พิมพ์ก่อนพิมพ์

1.1   เตรียมลำดับแม่พิมพ์ในการพิมพ์

301041.01 158147
301041

เตรียมแม่พิมพ์ก่อนพิมพ์

1.2 ตรวจสอบสภาพแม่พิมพ์

301041.02 158148
301042

ปรับตั้งส่วนป้อนวัสดุใช้พิมพ์

2.1   เตรียมแท่นวางวัสดุใช้พิมพ์ให้สามารถยึดจับได้มั่นคง

301042.01 158149
301042

ปรับตั้งส่วนป้อนวัสดุใช้พิมพ์

2.2 การปรับตั้งตำแหน่งและฉากป้อนวัสดุใช้พิมพ์

301042.02 158150
301043

ปรับตั้งแม่พิมพ์สกรีน

3.1   การยึดแม่พิมพ์กับแท่นพิมพ์สกรีน

301043.01 158151
301043

ปรับตั้งแม่พิมพ์สกรีน

3.2 ปรับตั้งระยะจากแม่พิมพ์จากชิ้นงาน(Off contact)

301043.02 158152
301043

ปรับตั้งแม่พิมพ์สกรีน

3.3 ปรับตั้งฉากแม่พิมพ์

301043.03 158153
301044

ปรับตั้งแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์

4.1   ปรับตั้งองศาของแปรงกลบและแปรงปาดหมึกพิมพ์

301044.01 158154
301044

ปรับตั้งแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์

4.2  ปรับแรงกดแปรงกลบและแปรงปาดหมึกพิมพ์

301044.02 158155
301044

ปรับตั้งแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์

4.3 ปรับตั้งความเร็วแปรงกลบและแปรงปาดหมึกพิมพ์

301044.03 158156

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์สกรีนมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ม.6 ขึ้นไป และผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงาน (ในกรณีผู้เข้าทดสอบไม่ผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงานมาก่อน ให้จัดการทดสอบร่วมกับการสอบสมรรถนะนี้)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การยึดแม่พิมพ์กับเครื่องพิมพ์ในระบบกึ่งอัตโนมัติและอัตโนมัติ



2.  การปรับตั้งแม่พิมพ์กับเครื่องพิมพ์



3.  การตรวจสอบแม่พิมพ์



4.  การทำความสะอาดแม่พิมพ์



5.  การเลือกใช้อุปกรณ์จับยึดได้ถูกต้อง



6.  การตรวจเช็คสภาพเครื่องพิมพ์



7.  การปรับตั้งแรงกด และองศาของแปรงปาด แปรงกลบ



8.  การปรับตั้งเครื่องพิมพ์



9.  สามารถตั้งระยะห่างแม่พิมพ์สกรีนได้เหมาะสมกับวัสดุใช้พิมพ์ได้ถูกต้อง



10. การเลือกวัสดุใช้ทำฉากและการกำหนดตำแหน่งการติดตั้งฉาก ได้เหมาะสมและถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์



2. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การจับยืดแม่พิมพ์



3. ความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งแม่พิมพ์



4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับงานพิมพ์สกรีน



5. มีความรู้ด้านประเภทของอุปกรณ์จับยึด



6. ความรู้เรื่องการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. บันทึกรายการจากการสังเกต



          2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



          3. ผลจากยึดแม่พิมพ์กับเครื่องพิมพ์



          4. การปรับตั้งแม่พิมพ์ให้ได้ค่าที่ถูกต้อง



          5. การปรับตั้งเครื่องพิมพ์



          6. คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จากการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์กึ่งอัตโนมัติ และอัตโนมัติ



          7. ฉากและตำแหน่งฉาก ที่ได้ สามารถนำไปปฏิบัติงานพิมพ์ได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



            ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



       การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม   



(ง) วิธีการประเมิน



            ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



    1. ระบบเครื่องพิมพ์สกรีนมี ดังนี้ แท่นพิมพ์ แท่นพิมพ์ระบบลมดูด แท่นพิมพ์ระบบรางเลื่อน แท่นพิมพ์ระบบลมดูด แบบโครงสร้าง 2 เสา โครงสร้าง 4 เสา โครงสร้างแบบหัวจับแม่พิมพ์ แบบวงกลม แบบพิมพ์วัสดุทรงกระบอก แบบพิมพ์วัสดุทรงกลม ผิวโค้ง ทรงกระบอก แบบโรตารี่ แบบโมเดี่ยว



   2. ประเภทของอุปกรณ์จับยึดแม่พิมพ์ ได้แก่ ระบบสเปรย์ การใช้ลมดูด การใช้น็อตจับยึด เป็นต้น



   3. การตั้งระยะห่างแม่พิมพ์สกรีนคือการปรับระยะห่างระหว่างแม่พิมพ์กับวัสดุ ให้มีความเหมาะสม โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความตึงของผ้า หมึกพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ เป็นต้น



   4. การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน



   5. การปรับตั้งเครื่องพิมพ์ ต้องปฏิบัติตามที่คู่มือได้ระบุเอาไว้อย่างเคร่งครัด



  6. วัสดุที่ใช้ทำฉากต้องมีความสูงน้อยกว่าวัสดุใช้พิมพ์เล็กน้อย



  7. ตำแหน่งฉากต้องอยู่ต่ำแหน่งเดียวกับผู้ใส่งานและอยู่ตรงข้ามกับผู้รับงานออก



  8. ติดตั้งฉากให้เหมาะสมกับประเภทและรูปทรงของวัสดุใช้พิมพ์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      N/A          


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ