หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมต้นทุนการผลิตและประสิทธิภาพการผลิต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-5-247ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมต้นทุนการผลิตและประสิทธิภาพการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ดิจิทัล ระดับ 5 (Printing Technologist/Manager)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการประเมินราคา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302141

การประเมินราคา

1.1 วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตได้อย่างถูกต้อง

302141.01 158247
302141

การประเมินราคา

1.2 ประเมินราคาสิ่งพิมพ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์

302141.02 158248
302141

การประเมินราคา

1.3 เปรียบเทียบราคาที่ประเมินไว้กับต้นทุนการผลิต

302141.03 158249
302141

การประเมินราคา

1.4 กำหนดเกณฑ์ในการจัดหาวัสดุที่ใช้ในการผลิต

302141.04 158250

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้



2. ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างพิมพ์ดิจิทัล ชั้น4


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การประเมินต้นทุนการผลิต

  2. การประเมินราคาสิ่งพิมพ์

  3. การจัดทำตารางเปรียบเทียบราคาประเมินกับต้นทุนการผลิต

  4. การสร้างเกณฑ์ในการจัดหาวัสดุ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. เครื่องมือการประเมินต้นทุนการผลิต

  2. การประเมินราคาสิ่งพิมพ์

  3. วัสดุทางการพิมพ์

  4. ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

  5. เศรษฐศาสตร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      เอกสารประเมินราคาต้นทุน เอกสารการประเมินราคาสิ่งพิมพ์ ตารางเปรียบเทียบราคาประเมินกับต้นทุนการผลิต และเอกสารการกำหนดเกณฑ์ในการจัดหาวัสดุ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี มีประสบการณ์ ด้านการประเมินต้นทุนทางการผลิต และการจัดหาวัสดุทางการพิมพ์ มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน



(ง) วิธีการประเมิน



     ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือเอกสารต้นทุนการผลิต การสร้างเกณฑ์การจัดหาวัสดุ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ แม่พิมพ์ งานพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น

  2. ต้นทุนการผลิต ได้แก่ ค่าแรง ค่าวัสดุ เวลาทำงาน กำลังการผลิต

  3. เครื่องมือการประเมินต้นทุนการผลิต คือหลักการประเมินต้นทุน ความเสี่ยง การคาดการณ์ล่วงหน้า

  4. หลักเศรษฐศาสตร์ คือ ความสามารถในการทำกำไร และการแข่งขัน

  5. วัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น แม่พิมพ์ วัสดุรองพิมพ์ หมึกและสารเคมี เป็นต้น

  6. เกณฑ์ในการจัดหาวัสดุ คือ ราคา ความรวดเร็วในการจัดส่ง การรับประกัน และการบริการหลังการขาย เอกสารรับรองความปลอดภัย (MSDS, COA) เป็นต้น



(ก) คำแนะนำ



      N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)



18.2 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ