หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับงาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-4-242ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ดิจิทัล ระดับ 4 (Digital Assistant Manager)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการควบคุมการวางแผนการตลาดและการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัลระดับ 3

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302091

ควบคุมการวางแผนการผลิต

1.1 วางแผนการตลาด และการผลิตงานพิมพ์

302091.01 158233
302091

ควบคุมการวางแผนการผลิต

1.2 ควบคุมแผนการทำงาน และติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

302091.02 158234
302091

ควบคุมการวางแผนการผลิต

1.3 ป้องกันปัญหาของเครื่องจักร และวัสดุทางการพิมพ์

302091.03 158235
302091

ควบคุมการวางแผนการผลิต

1.4 จัดหาวัสดุที่เหมาะสมกับเครื่องจักร และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

302091.04 158236

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้



2. ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างพิมพ์ดิจิทัล ระดับ 3


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การจัดทำเอกสารสรุปการผลิต ปัญหาที่เกิด และใบรายงานประสิทธิภาพการทำงาน



2. การวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร



3. การเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับเครื่องจักร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การวางแผนการผลิตงานพิมพ์ สถิติ และเครื่องมือในการวิเคราะห์

  2. ขั้นตอนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรทางด้านทางการพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      หลักฐานการบันทึกวีดีโอหรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน การจัดทำเอกสารสรุปการผลิต ปัญหาที่เกิด และใบรายงานประสิทธิภาพการทำงาน การวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



       ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



         การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี สามารถสร้างแผนการผลิต แผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการประเมินจะต้องมีการจำลองสถานการที่เหมาะสม



(ง) วิธีการประเมิน



          ใช้วิธีการทดสอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ควบคุมแผนการทำงาน คือ ควบคุมตารางการทำงานของบุคลากรและเครื่องจักรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

  2. ปัญหาของเครื่องจักร เช่น เครื่องหยุดทำงานขณะใช้งานปกติ

  3. วัสดุทางการพิมพ์ เช่น แม่พิมพ์ กระดาษชนิดต่าง ๆ ชนิดของพลาสติก

  4. เครื่องจักรทางการพิมพ์ เช่น เครื่องผลิตแม่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น

  5. เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น  การวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ในการเกิดปัญหา (Pareto Chart) การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแนวคิด 4M (Man, Machine, Material, Method) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)



18.2 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



18.3 การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ