หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) ชำนาญการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-2-115ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) ชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201081

การตรวจสอบคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์

1.1 ปฏิบัติงานดูแถบควบคุมดิจิทัล (digital wedge) บนแม่พิมพ์ เพื่อตรวจสอบและควบคุมการสร้างแม่พิมพ์อย่างถูกต้อง

201081.01 157599
201081

การตรวจสอบคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์

1.2 ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของแม่พิมพ์ได้

201081.02 157600
201082

ปฏิบัติงานปรับตั้งและแก้ไขปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์

2.1 แก้ไขปัญหาระหว่างการสั่งสร้างแม่พิมพ์ได้อย่างถูกต้อง

201082.01 157601
201082

ปฏิบัติงานปรับตั้งและแก้ไขปัญหาในการผลิตแม่พิมพ์

2.2 ปรับตั้งและแก้ไขโทนการผลิตภาพ (linear and calibration curve) บนแม่พิมพ์ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะตรงตามเงื่อนไขการพิมพ์

201082.02 157602

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ได้



2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20107 ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1.  



1. การใส่แถบควบคุมดิจิทัล (digital wedge) บนแม่พิมพ์



2. การตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์



3. การปรับตั้งและแก้ไขโทนการผลิตภาพ (liner and calibration curve)



4. การผลิตแม่พิมพ์ออฟเซตที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. แถบควบคุมดิจิทัลdigital wedge



2. เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของแม่พิมพ์



3. เครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) และอุปกรณ์ต่อพ่วง



4. การปรับตั้งโทนการผลิตภาพ (liner and calibration curve)



5. ความปลอดภัยในการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานการใส่แถบควบคุมดิจิทัล (digital wedge) บนแม่พิมพ์ และการใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องสร้างแม่พิมพ์ให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน



(ง) วิธีการประเมิน



          ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือแม่พิมพ์ออฟเซตที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รายงานการตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1.  



1. แถบควบคุมดิจิทัลdigital wedge ได้แก่ ไฟล์ดิจิทัลที่ใช้ตรวจคุณภาพบนแม่พิมพ์ เพื่อแสดงแถบการเกิดภาพที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพในการสร้างภาพบนแม่พิมพ์ (plate) จากการปรับตั้งเครื่องสร้างแม่พิมพ์ ไปจนถึงกระบวนการสร้างภาพของเครื่องล้างแม่พิมพ์



2. เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพของแม่พิมพ์ ได้แก่ เครื่องมือวัดแม่พิมพ์ (Dotmeter) หรือ ฟิล์มเช็คองศาของเม็ดสกรีน แว่นขยาย เป็นต้น



3. ปัญหาระหว่างการสั่งสร้างแม่พิมพ์ ได้แก่ เครื่องไม่สามารถสร้างแม่พิมพ์ได้เนื่องจากป้อนแม่พิมพ์ผิดขนาด, เปอร์เซ็นต์เม็ดสกรีนที่ได้ไม่ตรงกับค่าที่กำหนดไว้, แม่พิมพ์เป็นรอย จุดด่าง เป็นต้น



4. โทนการผลิตภาพ (linearandcalibration curve) ได้แก่ การปรับตั้ง ชดเชยเม็ดสกรีนบนแม่พิมพ์ให้สอดคล้องกับคุณลักษณะตรงตามเงื่อนไขการพิมพ์



(ก) คำแนะนำ



      N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



      N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือแม่พิมพ์ออฟเซตที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รายงานการตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ