หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟชำนาญการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-2-112ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201051 ตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของไฟล์งานเลย์เอาท์ 1. ตรวจสอบความถูกต้องของหน้าเลย์เอาท์บนจอภาพให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 201051.01 75813
201052 ปฏิบัติการจัดการสีและดิจิทัลปรู๊ฟ 1. สั่งพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟ และขึ้นรูปแบบงานตัวอย่างตามที่ลูกค้าต้องการได้ 201052.01 75814
201052 ปฏิบัติการจัดการสีและดิจิทัลปรู๊ฟ 2. ตั้งค่าโปรไฟล์สีให้ถูกต้องก่อนสั่งพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟ 201052.02 75815
201052 ปฏิบัติการจัดการสีและดิจิทัลปรู๊ฟ 3. ตรวจสอบคุณภาพของงานดิจิทัลปรู๊ฟให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น 201052.03 75816

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้



2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20104 ปฏิบัติการวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1.  



1. การตรวจสอบเรื่องความถูกต้องของตัวอักษร รูปภาพ



2. การเลือกขนาดแม่พิมพ์ และคลิปเปอร์ของเครื่องพิมพ์



3. การพิมพ์งานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ



4. การขึ้นรูปแบบงานตัวอย่าง (mockup)



5. การกำหนดค่าสีบนงานพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ขนาดแม่พิมพ์ และคลิปเปอร์เครื่องพิมพ์

  2. งานพิมพ์ปรู๊ฟดิจิทัล

  3. วิธีการตรวจสอบตัวอักษรและรูปภาพ

  4. การสั่งพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟ

  5. ขั้นตอนการขึ้นรูปตัวอย่างงาน

  6. โพรไฟล์สีสำหรับงานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานการตรวจสอบเรื่องความถูกต้องของตัวอักษร รูปภาพ ของไฟล์งานเลย์เอาท์ การเลือกขนาดแม่พิมพ์ การกำหนดคลิปเปอร์เครื่องพิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



       ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน



(ง) วิธีการประเมิน



          ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์งานเลย์เอาท์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1.  



1. ความถูกต้องของหน้าเลย์เอาท์บนจอภาพ ได้แก่ การตรวจสอบตัวอักษร รูปภาพให้ครบถ้วน หรือการตรวจทานอีกครั้งก่อนส่งไปยังแผนกสร้างแม่พิมพ์ หรือ สั่งพิมพ์ดิจิทัล



2. ความถูกต้องของขนาดแม่พิมพ์ ได้แก่ ขนาดกว้างและยาวของแม่พิมพ์ การเผื่อระยะตัดตก เครื่องหมายตัดเจียน



3. กริปเปอร์เครื่องพิมพ์ ได้แก่ การกำหนดระยะเว้นบนไฟล์งานให้เพียงพอกับอุปกรณ์ที่ใช้จับวัสดุใช้พิมพ์เข้าเครื่องพิมพ์ที่แต่ละยี่ห้อมีขนาดที่แตกต่างกัน



4. สั่งงานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ ได้แก่ การเลือกและใช้เครื่องพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ การปรับตั้งค่าต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ ก่อนสั่งพิมพ์งาน



5. การขึ้นรูปตัวอย่างงาน ได้แก่ การขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่าง (mockup) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และใช้สำหรับส่งมอบชิ้นงานสำเร็จให้กับลูกค้า



6. จัดการค่าโพรไฟล์สี ได้แก่ การกำหนดค่าสีทางการพิมพ์ กำหนดคุณลักษณะของสีบนภาพพิมพ์ให้ตรงกับชนิดของวัสดุที่จะนำมาพิมพ์ โดยคำนวณมาจากรายละเอียดของงานพิมพ์และวัสดุตามที่ลูกค้าต้องการ



7. การตรวจสอบคุณภาพของดิจิทัลปรู๊ฟให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น มาตรฐาน ISO12647-7 เป็นต้น



 (ก) คำแนะนำ



      N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์งานเลย์เอาท์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



 


 



ยินดีต้อนรับ