หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PRT-PRE-1-114ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการงานสร้างแม่พิมพ์ด้วยเครื่องสร้างแม่พิมพ์ระบบคอมพิวเตอร์ (CTP, CTcP) |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2562 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
N/A |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ |
1.1 ปฏิบัติงานโปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง |
201071.01 | 157593 |
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ |
1.2 เลือกชนิด ขนาดและความหนาของแม่พิมพ์ให้ถูกต้องกับงานที่กำหนด |
201071.02 | 157594 |
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ |
1.3 ป้อนแม่พิมพ์เข้าสู่เครื่องสร้างแม่พิมพ์ (rasterring) และนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพ (processing) ได้อย่างถูกต้อง |
201071.03 | 157595 |
201071 ควบคุมและใช้งานเครื่องสร้างแม่พิมพ์ |
1.4 สามารถเจาะแม่พิมพ์ให้ถูกต้องกับเครื่องพิมพ์ที่จะนำไปใช้งาน |
201071.04 | 157596 |
201072 ดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์เบื้องต้น |
2.1
ดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์ให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษา |
201072.01 | 157597 |
201073 จัดเตรียมแม่พิมพ์ให้พร้อมก่อนส่งมอบลูกค้า |
3.1 จัดเตรียมแม่พิมพ์ให้พร้อมก่อนส่งมอบ |
201073.01 | 157598 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ใช้โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์ 2. การเลือกชนิด ขนาดแม่พิมพ์ วิธีการป้อนแม่พิมพ์เข้าสู่เครื่องสร้างแม่พิมพ์ และการนำไปผ่านกระบวนการสร้างภาพ (processing) 3. การเจาะให้ตรงตามลักษณะของเครื่องพิมพ์ 4. ผลิตแม่พิมพ์ออกมามีคุณภาพ และการปฏิบัติงานมีความปลอดภัย 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานดูแลรักษาเครื่องสร้างแม่พิมพ์ 6. การตรวจความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ 7. การจัดเตรียมแม่พิมพ์ (ข) ความต้องการด้านความรู้
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - แม่พิมพ์ที่ผลิตออกมา หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน กระบวนการใช้โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์ การเลือกชนิด ขนาดแม่พิมพ์ วิธีการป้อนแม่พิมพ์เข้าสู่เครื่องสร้างแม่พิมพ์ ตลอดกระบวนการสร้างภาพ (processing) วิธีการเจาะแม่พิมพ์
- สภาพแม่พิมพ์สำเร็จ หีบห่อแม่พิมพ์ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการกระบวนการจัดเตรียมแม่พิมพ์ก่อนส่งมอบลูกค้า ความระมัดระวัง และความปลอดภัย (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ (ค) คำแนะนำในการประเมิน การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพร้อมใช้งาน (ง) วิธีการประเมิน ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1. โปรแกรมสั่งงานการสร้างแม่พิมพ์บนคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมริบไฟล์ (RIP, raster image processor) เพื่อสร้างภาพบนแม่พิมพ์ 2. ชนิดของแม่พิมพ์ ได้แก่ แม่พิมพ์ที่ใช้ลำแสงเลเซอร์สีม่วง (violet plate )แม่พิมพ์ที่ใช้กับลำแสงความร้อน (thermalplate) แม่พิมพ์ที่ใช้ลำแสงยูวี ( conventional plate ) เป็นต้น 3. ขนาดที่นิยมใช้กำหนดขนาดกว้างและยาวของแม่พิมพ์ เช่น ขนาดแม่พิมพ์ที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร 4. กระบวนการสร้างภาพ (processing) ได้แก่ การเกิดภาพ โดยมีกระบวนการทางเคมีและการชะล้างเข้ามาเกี่ยวข้อง 5. เจาะแม่พิมพ์ ได้แก่ การเจาะรูแม่พิมพ์เพื่อให้เกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์จับยึดแม่พิมพ์บนเครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงของสีขณะทำการพิมพ์ 6. เจาะแม่พิมพ์ ได้แก่ การเจาะรูแม่พิมพ์เพื่อให้เกี่ยวเข้ากับอุปกรณ์จับยึดแม่พิมพ์บนเครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงของสีขณะทำการพิมพ์ 7. การดูแลรักษาเบื้องต้น ได้แก่ ความสะอาด ความปลอดภัยในการทำงาน และการตรวจสภาพของเครื่อง น้ำยาเคมี และส่วนต่อพ่วงให้พร้อมในการใช้งาน 8. การตรวจความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ ได้แก่ สภาพภายนอกของแม่พิมพ์ต้องไม่เกิดความเสียหาย และอยู่ในสภาพที่นำไปใช้งานต่อได้ 9. การจัดเตรียมแม่พิมพ์ให้พร้อมก่อนส่งมอบ ได้แก่ การจัดเรียงลำดับ การห่อแม่พิมพ์ การรักษาผิวหน้าแม่พิมพ์ และการใส่อุปกรณ์แผ่นรองหรือตัวป้องกันความเสียหาย (ก) คำแนะนำ N/A (ข) คำอธิบายรายละเอียด N/A |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ |