หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดรายละเอียดการทำแม่พิมพ์สกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-3-134ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดรายละเอียดการทำแม่พิมพ์สกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์สกรีนอาวุโส



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        มีความรู้ความชำนาญในการกำหนดชนิดและเบอร์ผ้าสกรีนให้เหมาะสมกับงาน การกำหนดมุมองศาการขึงผ้าสกรีน การกำหนดแรงตึงผ้าสกรีน การกำหนดความหนากาวอัด และการควบคุมเวลาการฉายแสง  โดยมีการลงมือปฏิบัติได้อย่างคล่องแคล่ว และตรงกับหลักวิชาการได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202101

กำหนดค่าการขึงผ้าสกรีน

1.1 กำหนดชนิดและเบอร์ผ้าสกรีน

202101.01 158077
202101

กำหนดค่าการขึงผ้าสกรีน

1.2  กำหนดองศาการขึงผ้าสกรีน

202101.02 158078
202101

กำหนดค่าการขึงผ้าสกรีน

1.3 กำหนดแรงตึงผ้าสกรีน

202101.03 158079
202102

กำหนดความหนากาวอัด

2.1  กำหนดความหนากาวอัดให้เหมาะสมกับประเภทงาน

202102.01 158080
202102

กำหนดความหนากาวอัด

2.2  กำหนดความหนากาวอัดให้เหมาะสมกับปริมาณหมึกพิมพ์ที่ต้องการ

202102.02 158081
202102

กำหนดความหนากาวอัด

2.3 วิเคราะห์ผลของความหนากาวอัดที่มีต่อคุณภาพงานพิมพ์

202102.03 158082
202103

กำหนดค่าการสร้างลายแม่พิมพ์สกรีน

3.1  หาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มและระยะเวลาฉายแสง

202103.01 158083
202103

กำหนดค่าการสร้างลายแม่พิมพ์สกรีน

3.2 วิเคราะห์ผลจากการฉายแสงแม่พิมพ์

202103.02 158084

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างทำแม่พิมพ์สกรีน ระดับ 2 และจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. การเลือกชนิดและเบอร์ผ้าสกรีนให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ

    2. การกำหนดองศาและแรงตึงผ้าสกรีนในการขึงผ้าสกรีน

    3. การกำหนดความหนาของกาวอัดสกรีนให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ และปริมาณหมึกพิมพ์ที่ต้องการ

    4. การหาเวลาฉายแสงและระยะห่างของไฟ

    5. การวิเคราะห์ผลของการฉายแสงแม่พิมพ์



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ผ้าสกรีนและเทคนิคการใช้ผ้าสกรีนประเภทต่างๆ

    2. การขึงผ้าสกรีน

    3. กาวอัดแม่พิมพ์สกรีนและการปาดกาวอัด

    4. การฉายแสงสร้างลายและชนิดของแหล่งกำเนิดแสง

    5. วิธีการหาเวลาฉายแสงและความสัมพันธ์ระหว่างเวลาฉายแสงและระยะห่างของดวงไฟ




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. บันทึกรายการจากการสังเกต

  2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

  3. ผลของการเลือกชนิดและเบอร์ผ้าสกรีน ได้ถูกต้องตามหลักการพิมพ์สกรีน

  4. ผลของสิ่งพิมพ์ที่มีความหนาของชั้นฟิล์มหมึกพิมพ์ตามต้องการ

  5. แม่พิมพ์ที่ผ่านการฉายแสงสร้างลาย



(ข)หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค)คำแนะนำในการประเมิน



     การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม   



(ง) วิธีการประเมิน



            ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. ชนิดและเบอร์ผ้าสกรีนที่ถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปริมาณหมึกพิมพ์ที่ต้องการ

  2. องศาผ้าสกรีน คือ องศาของเส้นใยผ้าสกรีน การกำหนดองศาผ้าสกรีนมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดมัวเร่ (ตาเสื่อ) ระหว่างผ้าสกรีนกับฟิล์มต้นฉบับ

  3. การกำหนดแรงตึงผ้าสกรีนของกรอบสกรีนแต่ละสีจะต้องสัมพันธ์กันและไม่ก่อให้เกิดปัญหาการพิมพ์ เช่น การพิมพ์เหลื่อม ขนาดภาพ เป็นต้น

  4. การกำหนดความหนาของกาวอัดขึ้นอยู่กับประเภทของงานพิมพ์และปริมาณความหนาของหมึกพิมพ์ที่ต้องการ ตลอดจนชนิดผ้าสกรีน เบอร์ผ้าสกรีน และประเภทของหมึกพิมพ์สกรีน

  5. การกำหนดเวลาการฉายแสงแม่พิมพ์ จะต้องคำนึงถึง ประเภทของกาวอัด ความหนาของกาวอัด ความส่องสว่างของแหล่งกำเนิดแสง (ไฟถ่าย) ระยะห่างระหว่างตู้ฉายแสงกับแหล่งกำเนิดแสง

  6. การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



    N/A           


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

         ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ