หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างลายแม่พิมพ์สกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-2-131ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างลายแม่พิมพ์สกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ช่างทำแม่พิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในการสร้างลายแม่พิมพ์สกรีน การถ่ายทอดภาพจากฟิล์มต้นฉบับไปสู่กาวอัด การใช้แสงไฟทำให้เกิดลวดลายบนกาวอัด การล้างเพื่อให้เกิดลวดลาย มีการปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่สถานประกอบการกำหนด โดยมีการควบคุมดูแลจากหัวหน้าช่าง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202071 เตรียมเครื่องฉายแม่พิมพ์ หรือเครื่องสร้างแม่พิมพ์ (CTP) 1.1 ทำความสะอาดกระจกหรืออุปกรณ์อย่างถูกวิธี 202071.01 113354
202071 เตรียมเครื่องฉายแม่พิมพ์ หรือเครื่องสร้างแม่พิมพ์ (CTP) 1.2 ตรวจสอบสภาพเครื่องฉายแม่พิมพ์และเครื่องเลเซอร์ให้พร้อมใช้งาน 202071.02 113355
202071 เตรียมเครื่องฉายแม่พิมพ์ หรือเครื่องสร้างแม่พิมพ์ (CTP) 1.3 ตรวจสอบความเข้มของแสง 202071.03 113356
202072 ฉายแสงสร้างลาย 2.1 ตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งฟิล์มและด้านน้ำยาของฟิล์มต้นฉบับบนแม่พิมพ์สกรีนหรือวางให้ถูกตำแหน่งการวางแม่พิมพ์และหัวยิงเลเซอร์ให้ถูกต้อง 202072.01 113357
202072 ฉายแสงสร้างลาย 2.2 ปรับตั้งเครื่องฉายแสงแม่พิมพ์ตามใบสั่งงาน 202072.02 113358
202073 ล้างลายและทำแห้งแม่พิมพ์สกรีน 3.1 ล้างลายแม่พิมพ์สกรีน 202073.01 113359
202073 ล้างลายและทำแห้งแม่พิมพ์สกรีน 3.2 ทำแห้งแม่พิมพ์สกรีน 202073.02 113360
202074 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์สกรีน 4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของลวดลาย 202074.01 113361
202074 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์สกรีน 4.2 อุดรอยรั่ว (ตามด) บนแม่พิมพ์ 202074.02 113362

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างทำแม่พิมพ์สกรีน ระดับ 1 และจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. อ่านใบสั่งงานได้
2. การใช้อุปกรณ์และการปาดกาวอัดได้ถูกวิธี
3. ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสงได้ตามข้อกำหนดหรือใบสั่งงาน
4. ปาดกาวอัดได้อย่างเรียบและสม่ำเสมอทั่วทั้งผิวหน้าผ้าสกรีน
5. การติดตั้งฟิล์มต้นฉบับ
6. การฉายแสงไฟถ่ายลายลงแม่พิมพ์สกรีน
7. การล้างลายบนแม่พิมพ์สกรีนด้วยมือหรือเครื่องล้างอัตโนมัติ
8. ตรวจสอบความสมบูรณ์และตกแต่งรอยรั่วบนแม่พิมพ์สกรีน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เบื้องต้นด้านกาวอัดและน้ำยาไวแสง
2. ความรู้เบื้องต้นด้านการปาดกาวอัด
3. ความรู้เบื้องต้นด้านแสงไฟที่ใช้ถ่ายแม่พิมพ์สกรีน
4. ความรู้เบื้องต้นด้านอุณหภูมิที่ใช้ในการอบแม่พิมพ์สกรีน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. บันทึกรายการจากการสังเกต
2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน
3. ผลจากการสังเกตขณะปฏิบัติงานทำแม่พิมพ์สกรีนได้ถูกต้องตรงตามขั้นตอน
 4. กรอบสกรีนที่ถ่ายลวดลายจากฟิล์มต้นฉบับที่ได้จากการปฏิบัติตรงตามใบสั่งงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม 
(ง) วิธีการประเมิน
ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ
1. อุปกรณ์สำหรับการปาดกาว ได้แก่ รางปาด อ่างผสมกาวอัด ช้อนตวง
2. อุณหภูมิในการอบแห้งกรอบสกรีนหลังการปาดกาว ประมาณ 30-40 องศาเซลเซียส
3. กรอบสกรีนที่ผ่านการอบแห้งจะต้องมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งหน้าของผ้าสกรีน
4. การวางตำแหน่งฟิล์มจะต้องอยู่บริเวณตรงกลางของกรอบสกรีน โดยให้ด้านน้ำยาประกบกับกาวอัดบนผ้าสกรีน
5. เวลาที่ใช้ในการฉายแสงจะต้องปรับตั้งให้เหมาะสมกับชนิดของกาวอัดที่ใช้งานหรือจากใบสั่งงาน
6. การล้างลายด้วยน้ำเปล่าจะต้องไม่ทำให้ลวดลายบนแม่พิมพ์เกิดความเสียหาย
7. เคมีภัณฑ์ที่ใช้เป็นชนิดที่นิยมใช้ในวงการผลิตแม่พิมพ์สกรีน
8. การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
  N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



 


ยินดีต้อนรับ