หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RES-RPM-6-111ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการวางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ การดำเนินการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ และการประเมินผลการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้าง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์สถาปนิก วิศวกร นักการเงิน นิสิต นักศึกษา (สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์) หรือผู้ประกอบการหรือควบคุมงานก่อสร้าง หรือบริหารงานโครงการ (ที่มีความสนใจเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างโครงการ)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
12206.01 วางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 1.กำหนดรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้าง 12206.01.01 57156
12206.01 วางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 2. วิเคราะห์การบริหารงานโครงการเชิงเศรษฐศาสตร์ 12206.01.02 57157
12206.01 วางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 3. วิเคราะห์การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการประเมินค่าใช้จ่าย 12206.01.03 57158
12206.02 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 1.กำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินการบริหารความเสี่ยง 12206.02.01 57159
12206.02 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 2. ควบคุมปัจจัยที่เป็นผลให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 12206.02.02 57160
12206.02 ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 3. บริหารความเสี่ยงในแผนงานโครงการก่อสร้าง 12206.02.03 57161
12206.03 ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 1. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาในครั้งต่อไป 12206.03.01 57162
12206.03 ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ 2. สรุปรายงานการประเมินการบริหารความเสี่ยง 12206.03.02 57163

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


มีความรู้พื้นฐานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น หรือควบคุมงานก่อสร้างหรือบริหารงานโครงการ และมีประสบการณ์ทำงานในอาชีพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1.วางแผนการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ

        0.1 1.กำหนดรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้าง

        0.2 2. วิเคราะห์การบริหารงานโครงการเชิงเศรษฐศาสตร์

        0.3 3. วิเคราะห์การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการประเมินค่าใช้จ่าย

    1.ดำเนินการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ

        0.4 1.กำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินการบริหารความเสี่ยง

        0.5 2. ควบคุมปัจจัยที่เป็นผลให้เกิดความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ

        0.6 3. บริหารความเสี่ยงในแผนงานโครงการก่อสร้าง

    1.ประเมินผลการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ

        0.7 1. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และพัฒนาในครั้งต่อไป

        0.8 2. สรุปรายงานการประเมินการบริหารความเสี่ยง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

      เป็นการวัดความสามารถในการจดจาเรื่องราวข้อเท็จจริงกฎเกณฑ์ต่างๆที่บุคคลได้เรียนรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยคำถามวัดความรู้แบ่งออกเป็น 3 – 4 ชนิด



- มีความรู้ในเนื้อหาอาทิเช่นเช่นศัพท์คำนิยมกฎความจริงข้อมูลเชิงความรู้เบื้องต้น



- มีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการกระบวนการ ขั้นตอนของการปฏิบัติงานและหลักเกณฑ์ต่างๆเป็นต้น



- มีความเข้าใจ ประยุกต์ในการสร้างแผน และแบบแผนการทำงานได้



- มีการประมวลความรู้รวบยอดเป็นการถามความสามารถในการจดจำข้อสรุปของงานที่รับผิดชอบได้



- มีความเข้าใจในวิชาชีพตนเองดำเนินงานอยู่ได้เป็นอย่างดี



ความต้องการด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์



      การวัดลักษณะผู้ปฏิบัติงาน “สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”ที่ต้องพึงมีเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย



- มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงานรวมถึงปฏิบัติงานด้วยความประณีต



- มีความรับผิดชอบตรงต่อเวลา



- มีความซื่อสัตย์โปร่งใสตรวจสอบได้ปฏิบัติงานตามความเป็นจริงตรงไปตรงมา



- ปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนข้อกำหนด



- มีคุณธรรมความเสียสละไม่เอารัดเอาเปรียบต่อเพื่อนร่วมงาน



- มีใจรักในงานบริการปฏิบัติงานด้วยหลักการให้บริการที่ดี



- มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้



- มีความเข้าใจในขอบเขตโครงการที่ตนเองกำกับดูแล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge



หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- เอกสารงานที่ปฏิบัติเช่นรายงานการประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูล



- เอกสารรับรองการทำงานเช่นหนังสือรับรองประสบการณ์การทางานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการแบบประเมินงานจากหัวหน้างาน



- แฟ้มสะสมงานเช่นภาพถ่ายสมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)



- เอกสารใบประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (สถาปัตยกรรม และวิศวกรรม)



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- เอกสารรับรองความรู้เช่นใบวุฒิบัตรใบประกาศนียบัตรต่างๆหรือแบบรายงานผลความรู้จากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ หรือสถานประกอบการที่ปฏิบัติงาน



- แฟ้มสะสมงานเช่นภาพถ่ายสมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)



- แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์



คำแนะนำในการประเมิน



      หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง และวิธีการปฏิบัติงาน



- ให้พิจารณาตามหลักฐานของความรู้และความเข้าใจในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ



- ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของเนื้อหาที่จะประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงานและข้อมูล/เอกสาร



- ความเสี่ยงในการดำเนินงานก่อสร้างโครงการ ได้แก่ งบกระแสเงินสดไม่เพียงพอกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างผิดพลาด, ขั้นตอนการศึกษา การออกแบบ และการวิเคราะห์เป้าประสงค์ของโครงการไม่สามารถใช้งานได้จริง, ภาพวาด และคำอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งปลูกสร้าง ไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุม, ไม่มีความยืดหยุ่นในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและมาตรฐานในการควบคุม,ไม่มีตารางระยะเวลาในการก่อสร้างที่ชัดเจน และข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างสูง, กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีการประสานงาน และอุปสรรคที่เกิดขึ้น, ไม่มีการทดสอบและการประกันคุณภาพ การตรวจสอบไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการบันทึกข้อมูลจุดที่ผิดพลาด, ขาดกระบวนการติดต่อ ประสานงานด้านธุรการไม่เป็นระบบ และขั้นตอนการอนุมัติล่าช้า, ไม่มีรายงานกิจกรรมภาคสนามการตรวจสอบและการบันทึก, ขาดการทำสัญญาการประกันภัย และเอกสารการกำกับดูแลที่ชัดเจน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
สมาคมวิศวกรรมสถาน ในพระบรมราชูปถัมภ์(กลุ่มงานวิศวกรรมบริหารงานก่อสร้าง)

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


- ด้านความรู้




- ด้านทักษะ




- ด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์



ยินดีต้อนรับ