หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลโครงการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RES-RPM-6-096ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้บริหารจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการวิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ การกำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการ และการประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้บริหารจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์สถาปนิก วิศวกร นักการเงิน นิสิต นักศึกษา (สาขาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์) หรือผู้ประกอบการหรือบริหารงานก่อสร้าง หรือบริหารงานโครงการ (ที่มีความสนใจเป็นผู้บริหารจัดการโครงการ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11205.01 วิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ 1วิเคราะห์บริหารความเสี่ยง, ความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม 11205.01.01 57033
11205.01 วิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ 2 จัดการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้าง 11205.01.02 57034
11205.01 วิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ 3 กำหนดรูปแบบการบริหารความเสี่ยง,ความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม 11205.01.03 57035
11205.01 วิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ 4 วิเคราะห์เส้นทางวิกฤต 11205.01.04 57036
11205.01 วิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ 5.วิเคราะห์การบริหารโครงการเชิงเศรษฐศาสตร์ 11205.01.05 57037
11205.02 กำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการ 1.กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ 11205.02.01 57038
11205.02 กำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการ 2.กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ 11205.02.02 57039
11205.02 กำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการ 3.กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน 11205.02.03 57040
11205.02 กำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการ 4. กำหนดความรับผิดชอบงานแต่ละส่วน 11205.02.04 57041
11205.03 ประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 1จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง, ความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม 11205.03.01 57042
11205.03 ประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 2 วิเคราะห์โอกาสการเกิดความเสี่ยง 11205.03.02 57043
11205.03 ประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 3 ศึกษาข้อมูลโครงการและข้อมูลสัมภาษณ์จากวิศวกรโครงการ 11205.03.03 57044
11205.03 ประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 4 ใช้โปรแกรม SPSSมาวิเคราะห์ข้อมูล 11205.03.04 57045
11205.03 ประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 5. จัดทำรายงานการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ 11205.03.05 57046

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


มีความรู้พื้นฐานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น หรือควบคุมงานก่อสร้างหรือบริหารงานโครงการ และมีประสบการณ์ทำงานในอาชีพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1.วิเคราะห์การควบคุมคุณภาพของโครงการ

        0.1 1วิเคราะห์บริหารความเสี่ยง, ความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม

        0.2 2 จัดการตรวจสอบสิ่งปลูกสร้าง

        0.3 3 กำหนดรูปแบบการบริหารความเสี่ยง,ความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม

        0.4 4 วิเคราะห์เส้นทางวิกฤต

        0.5 5.วิเคราะห์การบริหารโครงการเชิงเศรษฐศาสตร์

    1.กำหนดเป้าหมายการดำเนินโครงการ

        0.6 1.กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์

        0.7 2.กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์

        0.8 3.กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน

        0.9 4. กำหนดความรับผิดชอบงานแต่ละส่วน

    1.ประเมินงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

        0.10 1จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง, ความปลอดภัยและจัดการสิ่งแวดล้อม

        0.11 2 วิเคราะห์โอกาสการเกิดความเสี่ยง

        0.12 3 ศึกษาข้อมูลโครงการและข้อมูลสัมภาษณ์จากวิศวกรโครงการ

        0.13 4 ใช้โปรแกรม SPSSมาวิเคราะห์ข้อมูล

        0.14 5. จัดทำรายงานการใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


เป็นการวัดความสามารถในการจดจาเรื่องราวข้อเท็จจริงกฎเกณฑ์ต่างๆที่บุคคลได้เรียนรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยคาถามวัดความรู้แบ่งออกเป็น 3 – 4 ชนิด




- มีความรู้ในเนื้อหาอาทิเช่นเช่นศัพท์คำนิยมกฎความจริงข้อมูลเชิงความรู้เบื้องต้น




- มีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการกระบวนการ ขั้นตอนของการปฏิบัติงานและหลักเกณฑ์ต่างๆเป็นต้น




- มีความเข้าใจ ประยุกต์ในการสร้างแผน และแบบแผนการทำงานได้




- มีการประมวลความรู้รวบยอดเป็นการถามความสามารถในการจดจำข้อสรุปของงานที่รับผิดชอบได้




- มีความเข้าใจในวิชาชีพตนเองดำเนินงานอยู่ได้เป็นอย่างดี




(เน้นด้านการบริหารจัดการโครงการอสังหาริมทรัพย์)




ความต้องการด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์




การวัดลักษณะผู้ปฏิบัติงาน “สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”ที่ต้องพึงมีเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย




- มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงานรวมถึงปฏิบัติงานด้วยความประณีต




- มีความรับผิดชอบตรงต่อเวลา




- มีความซื่อสัตย์โปร่งใสตรวจสอบได้ปฏิบัติงานตามความเป็นจริงตรงไปตรงมา




- ปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนข้อกำหนด




- มีคุณธรรมความเสียสละไม่เอารัดเอาเปรียบต่อเพื่อนร่วมงาน




- มีใจรักในงานบริการปฏิบัติงานด้วยหลักการให้บริการที่ดี




- มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้




- มีความเข้าใจในขอบเขตโครงการที่ตนเองกำกับดูแล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge




หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- เอกสารงานที่ปฏิบัติเช่นรายงานการประมวลผลจากแบบบันทึกข้อมูล




- เอกสารรับรองการทำงานเช่นหนังสือรับรองประสบการณ์การทางานจากเจ้าของอาชีพในสถานประกอบการแบบประเมินงานจากหัวหน้างาน




- แฟ้มสะสมงานเช่นภาพถ่ายสมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน (Log Book)




- เอกสารใบประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (สถาปัตยกรรม และวิศวกรรม)




หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- เอกสารรับรองความรู้เช่นใบวุฒิบัตรใบประกาศนียบัตรต่างๆหรือแบบรายงานผลความรู้จากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ หรือสถานประกอบการที่ปฏิบัติงาน




- แฟ้มสะสมงานเช่นภาพถ่ายสมุดบันทึกการเรียนรู้ของผู้ปฏิบัติงาน (Learning Book)




- แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์




คำแนะนำในการประเมิน




หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง




- ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง และวิธีการปฏิบัติงาน




- ให้พิจารณาตามหลักฐานของความรู้และความเข้าใจในขอบเขตงานที่รับผิดชอบ




- ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของเนื้อหาที่จะประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ จะระบุถึงข้อกำหนดการปฏิบัติงานและข้อมูล/เอกสาร




- จัดการกำหนดขอบเขตการประเมินประสานงานและร่วมประชุมรับข้อมูลแนวคิดในการออกแบบงาน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบของสิ่งปลูกสร้าง




- ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกบริษัทในรายละเอียดการทำภาพของสิ่งปลูกสร้างตามที่กำหนด




- ตรวจสอบความถูกต้องและรายงานความก้าวหน้าของงานตามแผนงานก่อสร้างที่ได้รับมอบหมาย 




- นำส่งเพื่อการทดสอบ และบันทึกผลการทดสอบของวัสดุ 




- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาหน้างานอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานเสร็จสิ้นทันตามเวลาที่กำหนด




- แผนบริหารความเสี่ยงคือ การระบุและจดบันทึกข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการระบุข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการวางแผนผิดพลาด หรือ การออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่ผิดพลาด และตรวจสอบพบในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง หรือ ขั้นตอนการทดสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานสิ่งปลูกสร้าง




- แผนบริหารความปลอดภัย ประกอบด้วย การกำหนดทางเข้าออกและทำทางเดินเข้าออกที่พักอาศัยโดยมิให้ผ่านเขตอันตรายหากจำเป็นต้องผ่านเขตอันตรายต้องมีมาตรการพิเศษเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง รวมทั้งต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายจากสิ่งของตกจากที่สูงด้วย




- แผนบริหารและจัดการสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย การให้มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ได้ใช้สอย และพึ่งพิงในการดำรงชีวิต ทั้งโดยปัจจัยสี่ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของชีวิต หากมีการจัดการที่ถูกต้องในด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะสามารถทำให้การใช้ได้ผลแบบยั่งยืน




- โปรแกรม SPSS ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเบื้องต้น สามารถแปลข้อมูลและรวบรวมผลได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


- ด้านความรู้




- ด้านทักษะ




- ด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์



ยินดีต้อนรับ