หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาบุคลากร

สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RES-ASA-5-049ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาบุคลากร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


นายหน้าอสังหาริมทรัพย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนาสามารถที่จะกำหนดรายละเอียดของหลักสูตร จัดอบรม ทดสอบทักษะ เชิงความรู้ ติดตาม ประเมินผลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (ประจำ) หรือผู้ที่สนใจทั่วไป หรือกลุ่มบุคคล ในสมาชิกสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20603.01 กำหนดหลักสูตร 1กำหนดนโยบายพัฒนาบุคลากรด้านกำหนดหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.01.01 109361
20603.01 กำหนดหลักสูตร 2 กำหนดแนวทางปฎิบัติในการกำหนดหลักสูตรต่างๆเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.01.02 109362
20603.01 กำหนดหลักสูตร 3 จัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.01.03 109363
20603.01 กำหนดหลักสูตร 4 จัดทำบันทึกการกำหนดหลักสูตร 20603.01.04 109364
20603.02 จัดอบรม 1กำหนดนโยบายพัฒนาบุคลากรด้านจัดอบรมให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.02.01 109365
20603.02 จัดอบรม 2 กำหนดแนวทางปฎิบัติในการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.02.02 109366
20603.02 จัดอบรม 3 จัดทำแผนการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.02.03 109367
20603.02 จัดอบรม 4 ทำการฝีกอบรมบุคลากรในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่องตามนโยบายที่กำหนดไว้ 20603.02.04 109368
20603.02 จัดอบรม 5 จัดทำบันทึกการจัดผึกอบรม 20603.02.05 109369
20603.03 ทดสอบทักษะ 1กำหนดนโยบายพัฒนาบุคลากรด้านทดสอบทักษะให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.03.01 109370
20603.03 ทดสอบทักษะ 2 กำหนดแนวทางปฎิบัติในการทดสอบทักษะเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.03.02 109371
20603.03 ทดสอบทักษะ 3 จัดทำแผนการทดสอบทักษะต่างๆเพื่อ 20603.03.03 109372
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 1กำหนดนโยบายพัฒนาบุคลากรด้านติดตามประเมินผลให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.04.01 109373
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 2 กำหนดแนวทางปฎิบัติในการติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.04.02 109374
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 3 จัดทำเครื่องมือในการติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการขององค์กร 20603.04.03 109375
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 4 กำหนดเครื่องมือในการทดสอบความรู้ ทักษะด้วยวิธีการต่างๆ 20603.04.04 109376
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 5 ทดสอบทักษะ ความรู้ ความสามารถของบุคลากรในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่อง 20603.04.05 109377
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 6 ตรวจสอบประเมินผลงานของบุคลากรในระดับต่างๆอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ 20603.04.06 109378
20603.04 ติดตาม ประเมินผล 7 จัดทำบันทึกการติดตาม ประเมินผล 20603.04.07 109379

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


มีความรู้พื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น หรือนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และมีประสบการณ์ทำงานในอาชีพที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- วิธีการจัดหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับพนักงานในระดับต่างๆ ตลอดจนการจัดทำการประเมินหลักสูตรภายหลังการใช้



- วิธีการวางแผนการฝึกอบรมตามหลักสูตรต่างๆ การจัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม และการจัดทำการประเมินผลการอบรม



- วิธีการวางแผนการทดสอบทักษะ การจัดเตรียมเอกสารประกอบการทดสอบทักษะ และการจัดทำการประเมินผลการทดสอบทักษะ



- วิธีการวางแผนการบันทึกข้อมูลต่างๆเพื่อติดตามผล การจัดเตรียมเอกสารบันทึกผลการประเมินและการวิเคราะห์ การจัดทำเอกสารบันทึกการสรุปผล



- มีทักษะในอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เป็นอาชีพหลัก ประเภทใดประเภทหนึ่ง ระดับ 5 หรือต้องมีประสบการณ์ในประกอบวิชาชีพนายหน้า ไม่น้อยกว่า 3 ปี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- หลักการและวิธีการจัดหาหลักสูตรที่เหมาะสมกับพนักงานในระดับต่างๆ ตลอดจนการจัดทำการประเมินหลักสูตรภายหลังการใช้



- หลักการและวิธีการวางแผนการฝึกอบรมตามหลักสูตรต่างๆ การจัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม และการจัดทำการประเมินผลการอบรม



- หลักการและวิธีการวางแผนการทดสอบทักษะ การจัดเตรียมเอกสารประกอบการทดสอบทักษะ และการจัดทำการประเมินผลการทดสอบทักษะ



- หลักการและวิธีการวางแผนการบันทึกข้อมูลต่างๆเพื่อติดตามผล การจัดเตรียมเอกสารบันทึกผลการประเมินและการวิเคราะห์ การจัดทำเอกสารบันทึกการสรุปผล



- ผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง (ขึ้นไป)



ความต้องการด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์



การวัดลักษณะผู้ปฏิบัติงาน “สาขาวิชาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์”ที่ต้องพึงมีเพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย



- มีความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงานรวมถึงปฏิบัติงานด้วยความประณีต



- มีความรับผิดชอบตรงต่อเวลา



- มีความซื่อสัตย์โปร่งใสตรวจสอบได้ปฏิบัติงานตามความเป็นจริงตรงไปตรงมา



- ปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนข้อกำหนด



- มีคุณธรรมความเสียสละไม่เอารัดเอาเปรียบต่อเพื่อนร่วมงาน



- มีใจรักในงานบริการปฏิบัติงานด้วยหลักการให้บริการที่ดี



- มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



- ผลการทดสอบข้อเขียนเพื่อวัดผล



หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



- ผลการทดสอบข้อเขียนเพื่อวัดผล



คำแนะนำในการประเมิน



- ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับหลักการและวิธีการจัดหาหลักสูตร วิธีการวางแผนการฝึกอบรมและการประเมินผลการอบรม วิธีการวางแผนการทดสอบทักษะและการประเมินผลการทดสอบทักษะ วิธีการวางแผนการเพื่อติดตามผลและการวิเคราะห์สรุปผล โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ในการพัฒนาบุคลากร



วิธีการประเมิน



- ให้พิจารณาตามหลักฐานความรู้และประสบการณ์ในการสัมภาษณ์



- ให้พิจารณาตามหลักฐานความรู้และประสบการณ์ในการทดสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)


- ใช้ข้อมูลจากวิธีการจัดหาหลักสูตร วิธีการวางแผนการฝึกอบรมและการประเมินผลการอบรม วิธีการวางแผนการทดสอบทักษะและการประเมินผลการทดสอบทักษะ วิธีการวางแผนการเพื่อติดตามผลและการวิเคราะห์สรุปผล นั้นให้เกิดประโยชน์




- ใช้การจัดทำข้อมูลการเกี่ยวกับวิธีการจัดหาหลักสูตร วิธีการวางแผนการฝึกอบรมและการประเมินผลการอบรม วิธีการวางแผนการทดสอบทักษะและการประเมินผลการทดสอบทักษะ วิธีการวางแผนการเพื่อติดตามผลและการวิเคราะห์สรุปผลนั้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


- ด้านความรู้




- ด้านทักษะ




- ด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์




เครื่องมือการประเมิน




- แบบฟอร์มคำถามในการสัมภาษณ์




- แบบฟอร์มการทดสอบข้อเขียน



 


ยินดีต้อนรับ