หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-FID-4-027ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


3122 หัวหน้าควบคุมงานด้านการผลิต




7512 ผู้ทำขนมปัง ขนมเค้ก ขนมหวานและลูกกวาด




7513 ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม




7514 ผู้ถนอมผลไม้ พืชผัก และผู้ถนอมอาหารที่เกี่ยวข้อง




7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับระดับคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม




8160 ผู้ควบคุมเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการระบุความเหมาะสมของสถานที่ตั้ง อาคารผลิต การติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต ให้ง่ายต่อการทำความสะอาด ถูกสุขลักษณะ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมการผลิตอาหาร รวมถึงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด และปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากรหน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะฝีมือ สามารถใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมอาหาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติอาหาร พุทธศักราช 2522- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใชในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับ  สุขลักษณะอาหาร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2550 (มกษ. 9023-2550) - สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มอก.34-2546  ข้อปฏิบัติแนะนำระหว่างประเทศ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
41010201 ระบุความเหมาะสมของสถานที่ตั้งอาคารผลิต 4101020101 ระบุลักษณะของสถานที่ และอาคารผลิตที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน 41010201.01 107697
41010201 ระบุความเหมาะสมของสถานที่ตั้งอาคารผลิต 4101020102 ออกแบบพื้นที่ผลิตที่แบ่งแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน ไม่ก่อให้เกิด การปนเปื้อนข้ามและป้องกันสัตว์พาหะนำโรคเข้าสู่พื้นที่การผลิต 41010201.02 107698
41010202 ระบุความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตให้ถูกสุขลักษณะและง่ายต่อการทำความสะอาด 4101020201 เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน 41010202.01 107699
41010202 ระบุความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตให้ถูกสุขลักษณะและง่ายต่อการทำความสะอาด 4101020202 ติดตั้งเครื่องจักรในตำแหน่งที่สามารถทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้สะดวก 41010202.02 107700
41010202 ระบุความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตให้ถูกสุขลักษณะและง่ายต่อการทำความสะอาด 4101020203 จัดวางสายการผลิตได้เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ 41010202.03 107701
41010203 ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต 4101020301 ปฏิบัติตามแผนควบคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์สุดท้าย 41010203.01 107702
41010203 ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต 4101020302 ตรวจติดตามปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยอาหาร 41010203.02 107703
41010203 ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต 4101020303 ระบุมาตรการป้องกันการปนเปื้อนข้ามของอันตรายเข้าสู่อาหาร 41010203.03 107704
41010203 ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต 4101020304 บันทึก สรุปผลการปฏิบัติงาน และรายงานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร 41010203.04 107705
41010203 ปฏิบัติตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิต 4101020305 กรณีพบปัญหาไม่เป็นไปตามข้อกำหนด สามารถจัดการแก้ไขตามที่ ระบุไว้ในคู่มือปฏิบัติงาน 41010203.05 107706
41010204 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล 4101020401 นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง น้ำใช้ในโรงงานมาปฏิบัติ ระบุวิธีการปรับคุณภาพน้ำและวิธีการขนย้ายลำเลียงที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน 41010204.01 107707
41010204 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล 4101020402 นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง ส้วม อ่างล้างมือ สบู่เหลว และอุปกรณ์ที่ทำให้มือแห้งมาปฏิบัติ 41010204.02 107708
41010204 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล 4101020403 นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง การกำจัดสัตว์และแมลงมาปฏิบัติ 41010204.03 107709
41010204 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล 4101020404 นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง ขยะมูลฝอยและของเสียมาปฏิบัติ 41010204.04 107710
41010204 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การสุขาภิบาล 4101020405 นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะว่าด้วยเรื่อง ทางระบายน้ำและ สิ่งโสโครกมาปฏิบัติ 41010204.05 107711
41010205 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบำรุงรักษาและการทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิต 4101020501 นำข้อกำหนดวิธีการทำความสะอาดมาปฏิบัติ 41010205.01 107712
41010205 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบำรุงรักษาและการทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิต 4101020502 นำข้อกำหนดวิธีการบำรุงรักษามาปฏิบัติ 41010205.02 107713
41010205 ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบำรุงรักษาและการทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิต 4101020503 ใช้และเก็บรักษาสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและวัตถุอันตรายตามวิธีที่กำหนด 41010205.03 107714
41010206 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร 4101020601 ระบุข้อกำหนดด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน 41010206.01 107715
41010206 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร 4101020602 ระบุข้อกำหนดด้านพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน 41010206.02 107716
41010206 ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร 4101020603 นำข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ เรื่อง การแต่งกาย มาปฏิบัติ 41010206.03 107717

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นพื้นฐาน




- มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร




2. ทักษะในการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต




2. ความรู้เกี่ยวกับความเหมาะสมในการติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต




3. ความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมการผลิตอาหารที่ดี




4. ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร




5. ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด




6. ความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




ไม่มี




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ไม่มี




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




 N/A
(ง) วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน





15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




 หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ




     (ข) คำอธิบายรายละเอียด




- ความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต หมายถึง สถานที่ตั้งและอาคารผลิตต้องอยู่ห่างจากสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน




- วางสายการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ หมายถึง การวางสายการผลิตให้สะดวกต่อการปฏิบัติงานและไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนข้าม




- การปนเปื้อนข้าม (Cross contamination) หมายถึง การปนเปื้อนของอันตรายทางชีวภาพ กายภาพ หรือเคมี โดยการสัมผัสกันจากสิ่งที่สกปรกไปยังสิ่งที่สะอาดกว่า เช่น แบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษจากอาหารดิบ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ไม่สะอาด ผู้สัมผัสอาหารที่ปฏิบัติตนไม่ถูกสุขลักษณะ สภาพแวดล้อมของการผลิตหรือการขนย้ายอาหารไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสิ่งแปลกปลอมหรืออันตรายไปสู่อาหารที่ผ่านการแปรรูป




- ความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน หมายถึง การป้องกันการปนเปื้อนข้ามได้และง่ายต่อการทำความสะอาด




- ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง น้ำใช้ในโรงงาน หมายถึง น้ำที่ใช้ในโรงงาน ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของอุตสาหกรรม




- ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง ส้วม อ่างล้างมือ สบู่เหลว และอุปกรณ์ที่ทำให้มือแห้ง หมายถึง การจัดเตรียมและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสถานประกอบการให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลที่ดี เช่น การจัดเตรียมน้ำใช้ ห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือหน้า อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เหมาะสม เช่น สบู่ ผ้าเช็ดมือ โดยจัดเตรียมในปริมาณที่เพียงพอกับผู้ปฏิบัติการ และที่สำคัญต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้




- ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง การกำจัดสัตว์และแมลง หมายถึง การดำเนินการด้านระบบป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค และแมลง




- ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง ขยะมูลฝอยและของเสีย หมายถึง การจัดให้มีระบบการกำจัดขยะ มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยจากกระบวนการผลิตในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบการกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม




- ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ ว่าด้วยเรื่อง ทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก หมายถึง จัดให้มีทางระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหาร




- สารเคมี หมายถึง สารเคมีที่ใช้ในเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และสารที่ใช้ทำความสะอาด/สารฆ่าเชื้อ




- วัตถุอันตราย หมายถึง สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสิ่งแวดล้อม




- บุคลากร หมายถึง บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น ผู้เยี่ยมชม, Auditor


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


การใช้ข้อสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ